สธ. เดินหน้าทำขาเทียมเคลื่อนที่ถึงหมู่บ้านอีก 4 จังหวัด “ชลบุรี - แม่ฮ่องสอน - นครศรีธรรมราช - พิจิตร” ฟรี 600 ราย เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระเทพฯ” ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ คาดพิการขาขาดไร้ขาเทียม 10,000 ราย ตั้งเป้าทำให้ครบ 100% ในปี 2559
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ ศาลาประชาคม อ.เมือง จ.ชลบุรี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดโครงการส่งเสริมศักยภาพคนพิการขาขาด มอบขาเทียมและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการแก่คนพิการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ว่า โครงการดังกล่าวจะจัดบริการเคลื่อนที่ด้วยรถโมบาย ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้แก่ศูนย์สิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เมื่อปี 2549 ออกให้บริการฟรีเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ประกอบด้วย การขึ้นทะเบียนคนพิการ ทำขาเทียม และซ่อมแซมอุปกรณ์ช่วยความพิการ ดำเนินการในชุมชน 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครศรีธรรมราช แม่ฮ่องสอน และ พิจิตร เพื่อลดข้อจำกัดด้านการเดินทางแก่ผู้พิการตั้งเป้าทำขาเทียม 600 ราย งบประมาณ 10 ล้านบาท โครงการจะสิ้นสุด พ.ค. นี้
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดปี 2555 พบทั่วประเทศมีคนพิการประมาณ 1.5 ล้านกว่าคน ร้อยละ 80 อยู่ในชนบท ได้รับการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน เกือบร้อยละ 50 เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และเป็นผู้สูงอายุ มีคนพิการขาขาดระดับข้อเท้าขึ้นมาประมาณ 40,000 คน แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความเสื่อมจากภาวะสูงวัย อุบัติเหตุ และโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวาน มีผู้ถูกตัดขาระดับข้อเท้าขึ้นมาเพิ่มปีละกว่า 3,500 คน
“ในปีนี้มีนโยบายให้ทีมหมอครอบครัว ร่วมกับ อสม. ออกดูแลผู้พิการทุกคนในชุมชนให้ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อรับสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย ทั้งการศึกษา อาชีพสาธารณสุข และตั้งเป้าใส่ขาเทียมให้ผู้พิการขาขาดที่ยังไม่มีขาเทียม ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 10,000 คน ให้ได้ 100% ภายในปี 2559 พร้อมทั้งเพิ่มตำแหน่งนักกายอุปกรณ์อีก 187 อัตรา จากเดิมที่มีประมาณ 200 คน เพื่อกระจายบริการให้เพียงพอ และพัฒนาทักษะการผลิตเครื่องช่วยความพิการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า หน่วยบริการเคลื่อนที่ จ.ชลบุรี นับเป็นแห่งที่ 3 ของโครงการในปีนี้ ให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 - 30 มี.ค. 2558 ผลิตขาเทียม 129 ราย ซ่อมขาเทียม 22 ราย ผลิตแขนเทียม 3 ราย และมอบอุปกรณ์ช่วยผู้พิการที่ขาขาดแต่ไม่สามารถใช้ขาเทียม ได้แก่ ไม้เท้า 24 ชิ้น รถเข็น 23 คัน รถโยก 2 คัน อบรมการออกเอกสารรับรองความพิการแก่บุคลากร 100 คน และออกเอกสารรับรองความพิการแก่คนพิการที่ยังไม่เคยมีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือทำบัตรหาย ทั้งนี้ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯกรมการแพทย์ ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2557 รวม 45 ครั้งใน 36 จังหวัด ผลิตขาเทียม 3,201 ขา ซ่อมอุปกรณ์ช่วยความพิการจำนวน 2,220 ชิ้น มอบรถนั่งคนพิการ ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน 14,193 ชิ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ ศาลาประชาคม อ.เมือง จ.ชลบุรี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดโครงการส่งเสริมศักยภาพคนพิการขาขาด มอบขาเทียมและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการแก่คนพิการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ว่า โครงการดังกล่าวจะจัดบริการเคลื่อนที่ด้วยรถโมบาย ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้แก่ศูนย์สิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เมื่อปี 2549 ออกให้บริการฟรีเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ประกอบด้วย การขึ้นทะเบียนคนพิการ ทำขาเทียม และซ่อมแซมอุปกรณ์ช่วยความพิการ ดำเนินการในชุมชน 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครศรีธรรมราช แม่ฮ่องสอน และ พิจิตร เพื่อลดข้อจำกัดด้านการเดินทางแก่ผู้พิการตั้งเป้าทำขาเทียม 600 ราย งบประมาณ 10 ล้านบาท โครงการจะสิ้นสุด พ.ค. นี้
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดปี 2555 พบทั่วประเทศมีคนพิการประมาณ 1.5 ล้านกว่าคน ร้อยละ 80 อยู่ในชนบท ได้รับการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน เกือบร้อยละ 50 เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และเป็นผู้สูงอายุ มีคนพิการขาขาดระดับข้อเท้าขึ้นมาประมาณ 40,000 คน แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความเสื่อมจากภาวะสูงวัย อุบัติเหตุ และโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวาน มีผู้ถูกตัดขาระดับข้อเท้าขึ้นมาเพิ่มปีละกว่า 3,500 คน
“ในปีนี้มีนโยบายให้ทีมหมอครอบครัว ร่วมกับ อสม. ออกดูแลผู้พิการทุกคนในชุมชนให้ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อรับสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย ทั้งการศึกษา อาชีพสาธารณสุข และตั้งเป้าใส่ขาเทียมให้ผู้พิการขาขาดที่ยังไม่มีขาเทียม ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 10,000 คน ให้ได้ 100% ภายในปี 2559 พร้อมทั้งเพิ่มตำแหน่งนักกายอุปกรณ์อีก 187 อัตรา จากเดิมที่มีประมาณ 200 คน เพื่อกระจายบริการให้เพียงพอ และพัฒนาทักษะการผลิตเครื่องช่วยความพิการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า หน่วยบริการเคลื่อนที่ จ.ชลบุรี นับเป็นแห่งที่ 3 ของโครงการในปีนี้ ให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 - 30 มี.ค. 2558 ผลิตขาเทียม 129 ราย ซ่อมขาเทียม 22 ราย ผลิตแขนเทียม 3 ราย และมอบอุปกรณ์ช่วยผู้พิการที่ขาขาดแต่ไม่สามารถใช้ขาเทียม ได้แก่ ไม้เท้า 24 ชิ้น รถเข็น 23 คัน รถโยก 2 คัน อบรมการออกเอกสารรับรองความพิการแก่บุคลากร 100 คน และออกเอกสารรับรองความพิการแก่คนพิการที่ยังไม่เคยมีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือทำบัตรหาย ทั้งนี้ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯกรมการแพทย์ ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2557 รวม 45 ครั้งใน 36 จังหวัด ผลิตขาเทียม 3,201 ขา ซ่อมอุปกรณ์ช่วยความพิการจำนวน 2,220 ชิ้น มอบรถนั่งคนพิการ ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน 14,193 ชิ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่