รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ประธานกรรมการการเตรียมการเพื่อรับมือวิกฤตการณ์กรุงเทพจม สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า กรุงเทพจมในความหมายจะเกิดจากแผ่นดินทรุดและเกิดการกัดเซาะของน้ำทะเล ซึ่งทำให้พื้นที่มีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเมืองที่เกิดการขยายตัวอย่างไม่มีขอบเขต ทำให้เมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาและวางแนวทางและกลไกลเพื่อแก้ไขป้องกันปัญหากรุงเทพจมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเสนอต่อสภาปฏิรูปต่อไป
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการการเตรียมการเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ว่า จากการศึกษาในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา พบว่ากรุงเทพฯมีการเกิดแผนดินทรุดตัวเฉลี่ยปีละประมาณ 1 เซนติเมตร และมีระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งอยู่ที่ 1.8 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนของแผ่นดิน อีกทั้งเมืองยังมีการขยายตัวทำให้แผ่นดินเกิดดารทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 พื้นที่กรุงเทพฯ มีการทรุดตัว โดยในพื้นที่ย่านรามคำแหง ถือเป็นพื้นที่ที่เกิดการทรุดตัวมากที่สุดกว่า 2 เซนติเมตร อีกทั้งในอดีตมีการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการทรุดตัวของพื้นที่อย่างมาก แต่เมื่อภาครัฐเข้ามาควบคุมการใช้น้ำบาดาล ก็สามารถช่วยป้องกันการทรุดตัวของพื้นที่ได้บางส่วน อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่เกิดการทรุดตัวจากการใช้น้ำบาดาลและยังไม่สามารถฟื้นฟูพื้นที่ได้คือ พื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ย่านลาดกระบังเป็นต้น
รศ.ดร.สุจริตกล่าวต่อว่า การทรุดตัวของพื้นที่และการเพิ่มสูงของระดับน้ำทะเล จะส่งผลระบบน้ำประปา ซึ่งท่อน้ำประปาบางส่วนอยู่ในพื้นที่ดินอ่อนการทรุดตัวอาจส่งผลกระทบได้ อีกทั้งกรณีน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาอย่างมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาป้องกันการทรุดตัวของพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลภาครัฐจะต้องมีการปรับปรุงการใช้ที่ดินที่เหมาะสม โดยดำเนินการผ่านกฎหมายผังเมือง จัดพื้นที่กักเก็บน้ำ เพิ่มบทลงโทษต่อผู้ลักลอบการใช้น้ำบาดาลและวางผังเมืองในพื่นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในรูปแบบเดียวกัน โดยภาครัฐต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าอย่างต่ำใน 20 ปี ข้างหน้า
ด้านนายศรชัย โตวานิชกุล ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และวิจัยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงมาตรการรีบมือน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครว่า การเกิดแผ่นดินทรุดตัวในแต่ละปีเฉลี่ย 1-2 เซนติเมตร ทำให้สภาพพื้นที่กรุงเทพฯเกิดแอ่ง และส่งผลให้พื้นที่เกิดน้ำขังในพื้นที่แอ่งดังกล่าว อีกทั้งกรุงเทพฯมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลจำนวนกว่า 4.8 กิโลเมตร ซึ่งประสบกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง โดยเกิดการกัดเซาะพื้นที่จำนวนกว่า 4 เมตรต่อปี ดังนั้นกทม.จึงต้ององวางแนวทางแก้ปัญหา ทั้งด้านการทรุดตัวและการกัดเซาะของพื้นดิน โดยกำหนดวางการทางผังเมืองในพื้นที่ เพื่อกำกนดประเภทรูปแบบการใช้ที่ดินในแต่ละพื้นที่ ลดการใช้น้ำใต้ผืนดิน และลดสภาพการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อีกทั้งยังมีการสร้างระบบระบายน้ำในพื้นที่ในรูปแบบตางๆ ทั้งการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ การก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลองต่างๆ และมีโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดในหลายๆด้าน ทำให้ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ยังไม่มีความสมบูรณ์ ซึ่งตามที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กำหนดแนวทางดำเนินการนั้น กทม.จะต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการในระบบป้องกันน้ำท่วมป้องกันการกัดเซาะและการทรุดตัวของพื้นที่กรุงเทพฯ อีกจำนวนกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้นการพัฒนาระบบดังกล่าวจึงต้องใช้ระยะเวลา ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที อีกทั้งกทม.ก็ไม่สามารถรับภาระงบประมาณจำนวนมากได้ขึงต้องอาศัยรัฐบาลเป็นผู้สนันสนุนโครงการเพื่อแก้ปัญหาต่อไปด้วย
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการการเตรียมการเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ว่า จากการศึกษาในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา พบว่ากรุงเทพฯมีการเกิดแผนดินทรุดตัวเฉลี่ยปีละประมาณ 1 เซนติเมตร และมีระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งอยู่ที่ 1.8 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนของแผ่นดิน อีกทั้งเมืองยังมีการขยายตัวทำให้แผ่นดินเกิดดารทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 พื้นที่กรุงเทพฯ มีการทรุดตัว โดยในพื้นที่ย่านรามคำแหง ถือเป็นพื้นที่ที่เกิดการทรุดตัวมากที่สุดกว่า 2 เซนติเมตร อีกทั้งในอดีตมีการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการทรุดตัวของพื้นที่อย่างมาก แต่เมื่อภาครัฐเข้ามาควบคุมการใช้น้ำบาดาล ก็สามารถช่วยป้องกันการทรุดตัวของพื้นที่ได้บางส่วน อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่เกิดการทรุดตัวจากการใช้น้ำบาดาลและยังไม่สามารถฟื้นฟูพื้นที่ได้คือ พื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ย่านลาดกระบังเป็นต้น
รศ.ดร.สุจริตกล่าวต่อว่า การทรุดตัวของพื้นที่และการเพิ่มสูงของระดับน้ำทะเล จะส่งผลระบบน้ำประปา ซึ่งท่อน้ำประปาบางส่วนอยู่ในพื้นที่ดินอ่อนการทรุดตัวอาจส่งผลกระทบได้ อีกทั้งกรณีน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาอย่างมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาป้องกันการทรุดตัวของพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลภาครัฐจะต้องมีการปรับปรุงการใช้ที่ดินที่เหมาะสม โดยดำเนินการผ่านกฎหมายผังเมือง จัดพื้นที่กักเก็บน้ำ เพิ่มบทลงโทษต่อผู้ลักลอบการใช้น้ำบาดาลและวางผังเมืองในพื่นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในรูปแบบเดียวกัน โดยภาครัฐต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าอย่างต่ำใน 20 ปี ข้างหน้า
ด้านนายศรชัย โตวานิชกุล ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และวิจัยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงมาตรการรีบมือน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครว่า การเกิดแผ่นดินทรุดตัวในแต่ละปีเฉลี่ย 1-2 เซนติเมตร ทำให้สภาพพื้นที่กรุงเทพฯเกิดแอ่ง และส่งผลให้พื้นที่เกิดน้ำขังในพื้นที่แอ่งดังกล่าว อีกทั้งกรุงเทพฯมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลจำนวนกว่า 4.8 กิโลเมตร ซึ่งประสบกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง โดยเกิดการกัดเซาะพื้นที่จำนวนกว่า 4 เมตรต่อปี ดังนั้นกทม.จึงต้ององวางแนวทางแก้ปัญหา ทั้งด้านการทรุดตัวและการกัดเซาะของพื้นดิน โดยกำหนดวางการทางผังเมืองในพื้นที่ เพื่อกำกนดประเภทรูปแบบการใช้ที่ดินในแต่ละพื้นที่ ลดการใช้น้ำใต้ผืนดิน และลดสภาพการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อีกทั้งยังมีการสร้างระบบระบายน้ำในพื้นที่ในรูปแบบตางๆ ทั้งการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ การก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลองต่างๆ และมีโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดในหลายๆด้าน ทำให้ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ยังไม่มีความสมบูรณ์ ซึ่งตามที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กำหนดแนวทางดำเนินการนั้น กทม.จะต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการในระบบป้องกันน้ำท่วมป้องกันการกัดเซาะและการทรุดตัวของพื้นที่กรุงเทพฯ อีกจำนวนกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้นการพัฒนาระบบดังกล่าวจึงต้องใช้ระยะเวลา ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที อีกทั้งกทม.ก็ไม่สามารถรับภาระงบประมาณจำนวนมากได้ขึงต้องอาศัยรัฐบาลเป็นผู้สนันสนุนโครงการเพื่อแก้ปัญหาต่อไปด้วย