นายปริญญา แน่นหนา ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพน้ำ การประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า หลังจากที่มีการแชร์ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเรื่องการนำน้ำประปามาหุงข้าว คลอรีนในน้ำประปาจะทำให้สูญเสียวิตามินบีและสารอาหารในข้าวไปนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะวิตามินบีในข้าว เป็นวิตามินประเภทละลายในน้ำ ซึ่งสามารถถูกทำลายด้วยความร้อนได้ง่าย ดังนั้น ไม่ว่าหุงข้าวด้วยน้ำประเภทใด วิตามินบีก็จะถูกทำลายไปทั้งนั้น
นายปริญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า วิตามิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมันและน้ำมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ สามารถทนความร้อนได้ดี เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้ แต่จะเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี ถูกทำลายด้วยความร้อนได้ง่าย และละลายได้ดีในน้ำ จึงถูกขับออกทางปัสสาวะและเหงื่อ ไม่สามารถสะสมในร่างกายได้
นอกจากนี้ ข้อมูลวิจัยจากสำนักอนามัย พบว่า การทำให้สุก ไม่ว่าโดยวิธีหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ หรือเช็ดน้ำก็ตาม ไม่มีข้าวชนิดใดที่จะมีวิตามินบี หลงเหลืออยู่ในปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณที่ร่างกายควรได้รับประจำวัน (RDA) ดังนั้น จึงข้อสรุปได้ว่า สิ่งที่ทำลายวิตามินบีและคุณค่าทางสารอาหาร คือความร้อนที่ใช้ในการประกอบอาหาร ปริมาณวิตามินบีที่ถูกทำลายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความร้อนที่ใช้ รวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ในการปรุงอาหารและคุณสมบัติของสารอาหารประเภทนั้น ไม่ใช่คลอรีนที่มีอยู่ในน้ำประปาแต่อย่างใด ทางโภชนาการจึงแนะนำให้บริโภคผักผลไม้สด เพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินจากการประกอบอาหารนั่นเอง
สำหรับคลอรีน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานการรักษาคุณภาพน้ำที่โรงงานผลิตน้ำประปาทั่วโลกนิยมใช้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคทั้งในระบบผลิตและสูบจ่ายนั้น ทำให้น้ำประปามีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่ง กปน.มีการตรวจสอบและดูแลปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาที่สูบจ่ายไปยังบ้านของผู้ใช้น้ำให้อยู่ในเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในการบริโภคแต่อย่างใด ดังนั้น คลอรีนจึงไม่ใช่สาเหตุในการทำลายวิตามินในการหุงต้มอาหารแน่นอน สำหรับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นคลอรีนก็สามารถรองน้ำประปาใส่ในภาชนะเปิด และทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที กลิ่นคลอรีนจะระเหยหมดไปเอง
ปัจจุบัน โซเชียลเน็ตเวิร์กสามารถเผยแพร่ข่าวสารไปยังประชาชนได้อย่างรวดเร็ว กปน.ขอวอนประชาชนโปรดใช้วิจารณญาณในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปา สามารถติดตามข้อมูลได้ใน "คลินิกน้ำสะอาด" ของ กปน. ที่ http://cwc.mwa.co.th หรือ โทรสอบถามได้ที่ 0-2981-7321 ในเวลาราชการ
นายปริญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า วิตามิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมันและน้ำมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ สามารถทนความร้อนได้ดี เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้ แต่จะเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี ถูกทำลายด้วยความร้อนได้ง่าย และละลายได้ดีในน้ำ จึงถูกขับออกทางปัสสาวะและเหงื่อ ไม่สามารถสะสมในร่างกายได้
นอกจากนี้ ข้อมูลวิจัยจากสำนักอนามัย พบว่า การทำให้สุก ไม่ว่าโดยวิธีหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ หรือเช็ดน้ำก็ตาม ไม่มีข้าวชนิดใดที่จะมีวิตามินบี หลงเหลืออยู่ในปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณที่ร่างกายควรได้รับประจำวัน (RDA) ดังนั้น จึงข้อสรุปได้ว่า สิ่งที่ทำลายวิตามินบีและคุณค่าทางสารอาหาร คือความร้อนที่ใช้ในการประกอบอาหาร ปริมาณวิตามินบีที่ถูกทำลายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความร้อนที่ใช้ รวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ในการปรุงอาหารและคุณสมบัติของสารอาหารประเภทนั้น ไม่ใช่คลอรีนที่มีอยู่ในน้ำประปาแต่อย่างใด ทางโภชนาการจึงแนะนำให้บริโภคผักผลไม้สด เพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินจากการประกอบอาหารนั่นเอง
สำหรับคลอรีน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานการรักษาคุณภาพน้ำที่โรงงานผลิตน้ำประปาทั่วโลกนิยมใช้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคทั้งในระบบผลิตและสูบจ่ายนั้น ทำให้น้ำประปามีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่ง กปน.มีการตรวจสอบและดูแลปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาที่สูบจ่ายไปยังบ้านของผู้ใช้น้ำให้อยู่ในเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในการบริโภคแต่อย่างใด ดังนั้น คลอรีนจึงไม่ใช่สาเหตุในการทำลายวิตามินในการหุงต้มอาหารแน่นอน สำหรับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นคลอรีนก็สามารถรองน้ำประปาใส่ในภาชนะเปิด และทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที กลิ่นคลอรีนจะระเหยหมดไปเอง
ปัจจุบัน โซเชียลเน็ตเวิร์กสามารถเผยแพร่ข่าวสารไปยังประชาชนได้อย่างรวดเร็ว กปน.ขอวอนประชาชนโปรดใช้วิจารณญาณในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปา สามารถติดตามข้อมูลได้ใน "คลินิกน้ำสะอาด" ของ กปน. ที่ http://cwc.mwa.co.th หรือ โทรสอบถามได้ที่ 0-2981-7321 ในเวลาราชการ