นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้ประกาศขอความร่วมมือเกษตรกรชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาออกไปก่อน เนื่องจากพื้นที่ชลประทานลุ่มเจ้าพระยาเป็นพื้นที่การเพาะปลูกขนาดใหญ่ของประเทศ และใช้น้ำจาก 4 เขื่อนหลักในการบริหารจัดการ โดยปริมาณน้ำใช้การได้ขณะนี้ก็มีอย่างจำกัด และจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำที่มีจำกัดอย่างรัดกุม ซึ่งจากแผนการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2558 พื้นที่ชลประทานลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัดรวม 7.45 ล้านไร่ ล่าสุด พบว่ามีการเพาะปลูกแล้ว 3.44 ล้านไร่ ยังคงเหลือพื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูกอีกประมาณ 4 ล้านไร่ จึงจำเป็นจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรถึงสถานการณ์ที่มีอยู่จริงอยู่ในขณะนี้ เพื่อร่วมมือกับทางภาครัฐในการชะลอการทำนาปีออกไปก่อนจนกว่าฝนในฤดูปกติจะมาถึง ซึ่งกรมอุตุนิยมคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกชุกตามฤดูกาลในช่วงกลาง-ปลายเดือนกรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเป็นต้องขอความร่วมมือเกษตรกรชะลอปลูกข้าวนาปีออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาต่ำกว่าเป้าหมายมาก ขณะเดียวกัน ปริมาณฝนที่ตกในช่วงเดือนพฤษภาคม ในภาคกลางก็ต่ำกว่าปี 2557 ถึงร้อยละ 45 แต่กรมชลประทานยังต้องจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศไม่ให้ได้รับผลกระทบ ดังนั้น พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาซึ่งเริ่มฤดูนาปีตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวแล้ว 3.44 ล้านไร่ กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ไม่ให้พื้นที่ที่ลงมือเพาะปลูกไปแล้วได้รับความเสียหาย ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูก ได้สั่งการให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับทางจังหวัดในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับเกษตรกรถึงสถานการณ์จริงที่เป็นอยู่ รวมถึงใช้โอกาสนี้เข้าไปสำรวจความต้องการของเกษตรกรที่ต้องชะลอการปลูกข้าวนาปีไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่าให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยพืชสด การทำประมง หรือปศุสัตว์ จนถึงช่วงที่ฝนมาปกติ
ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ยังไม่เริ่มฤดูเพาะปลูก ทางกรมชลประทานจะติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด โดยภาคตะวันนอก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มนาปีในเดือนมิถุนายน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวโดยวิธีหว่าข้าวแห้งและใช้ฝนธรรมชาติ ก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก ภาคเหนือและตะวันออก เริ่มปลูกในเดือนกรกฏหาคมซึ่งก็ต้องดูสถานการณ์ฝนอีกครั้ง ส่วนภาคใต้และตะวันตกเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม
อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่ 14-18 มิถุนายนนี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันที่ 12-18 มิถุนายน โดยทั่วประเทศจะมีฝนตกประมาณ 5-20 มิลลิเมตร ซึ่งแม้จะเป็นปริมาณฝนที่ไม่มากนัก แต่ก็จะบรรเทาความแห้งแล้งและเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศได้บางส่วน ซึ่งได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด โดยสภาพอากาศในทั่วทุกภาคขณะนี้ พบว่ามีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศเพิ่มมากขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีความชื้นมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่มีอยู่ทั้ง 13 ฐาน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา ระยอง จันทบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา และอุบลราชธานี พร้อมปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนและสำรองน้ำให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเป็นต้องขอความร่วมมือเกษตรกรชะลอปลูกข้าวนาปีออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาต่ำกว่าเป้าหมายมาก ขณะเดียวกัน ปริมาณฝนที่ตกในช่วงเดือนพฤษภาคม ในภาคกลางก็ต่ำกว่าปี 2557 ถึงร้อยละ 45 แต่กรมชลประทานยังต้องจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศไม่ให้ได้รับผลกระทบ ดังนั้น พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาซึ่งเริ่มฤดูนาปีตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวแล้ว 3.44 ล้านไร่ กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ไม่ให้พื้นที่ที่ลงมือเพาะปลูกไปแล้วได้รับความเสียหาย ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูก ได้สั่งการให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับทางจังหวัดในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับเกษตรกรถึงสถานการณ์จริงที่เป็นอยู่ รวมถึงใช้โอกาสนี้เข้าไปสำรวจความต้องการของเกษตรกรที่ต้องชะลอการปลูกข้าวนาปีไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่าให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยพืชสด การทำประมง หรือปศุสัตว์ จนถึงช่วงที่ฝนมาปกติ
ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ยังไม่เริ่มฤดูเพาะปลูก ทางกรมชลประทานจะติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด โดยภาคตะวันนอก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มนาปีในเดือนมิถุนายน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวโดยวิธีหว่าข้าวแห้งและใช้ฝนธรรมชาติ ก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก ภาคเหนือและตะวันออก เริ่มปลูกในเดือนกรกฏหาคมซึ่งก็ต้องดูสถานการณ์ฝนอีกครั้ง ส่วนภาคใต้และตะวันตกเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม
อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่ 14-18 มิถุนายนนี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันที่ 12-18 มิถุนายน โดยทั่วประเทศจะมีฝนตกประมาณ 5-20 มิลลิเมตร ซึ่งแม้จะเป็นปริมาณฝนที่ไม่มากนัก แต่ก็จะบรรเทาความแห้งแล้งและเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศได้บางส่วน ซึ่งได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด โดยสภาพอากาศในทั่วทุกภาคขณะนี้ พบว่ามีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศเพิ่มมากขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีความชื้นมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่มีอยู่ทั้ง 13 ฐาน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา ระยอง จันทบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา และอุบลราชธานี พร้อมปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนและสำรองน้ำให้ได้มากที่สุด