รายงานข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จัดบรรยายสาระสำคัญของพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ให้กับเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน และบริษัทติดตามหนี้ทุกแห่ง เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดของกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้แล้ว โดย สศค.ได้เน้นย้ำถึงการทวงหนี้ยังไม่เป็นธรรมหรือการกระทำเกินกว่าเหตุ หรือเกินกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษทั้งปรับและจำคุก
ทั้งนี้บริษัททวงถามหนี้ที่ถูกต้องจะต้องมาขอจดทะเบียนกับกระทรวงการคลังและการดำเนินการทวงถามหนี้ ผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือมอบอำนาจจะต้องชื่อ นามสกุลให้กับผู้ทวงถามหนี้อย่างชัดเจน และการทวงถามทำได้ช่วง 8.00-20.00 น.ในวันทำงานปกติ ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์ ทวงถามได้ 8.00-18.00 น. เท่านั้น
นอกจากนี้กฎหมายยังห้ามการทวงถามหนี้ เช่น การข่มขู่ ใช้ความรุนแรงการประจานให้ลูกหนี้เสียหาย หรือเกิดการอับอายต่อคนอื่น โดยบทลงโทษกฎหมายให้มีการตั้งคณะกรรมการกับกำดูแลการทวงถามหนี้หากผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับจะมีความผิดทางปกครองปรับเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ และยังมีความผิดทางอาญาปรับตั้งแต่ไม่เกิน 30,000 บาท จนถึงไม่เกิน 500,000 บาทรวมถึงมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จนถึงไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำและปรับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิดในข้อห้ามส่วนไหน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ ถือเป็นมาตรการล้อมกรอบเจ้าหนี้นอกระบบเนื่องจากห่วงใยปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะจะช่วยให้ลูกหนี้ได้รับการคุ้มครองจากการทวงหนี้จากเจ้าหนี้หรือผู้ทำหน้าที่แทนในการทวงหนี้มากขึ้น ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ได้ปรามบรรดาเจ้าหนี้นอกระบบทั้งหลายอย่าได้ข่มขู่หรือกระทำการใดๆ ที่รุนแรงกับบรรดาลูกหนี้
ทั้งนี้บริษัททวงถามหนี้ที่ถูกต้องจะต้องมาขอจดทะเบียนกับกระทรวงการคลังและการดำเนินการทวงถามหนี้ ผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือมอบอำนาจจะต้องชื่อ นามสกุลให้กับผู้ทวงถามหนี้อย่างชัดเจน และการทวงถามทำได้ช่วง 8.00-20.00 น.ในวันทำงานปกติ ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์ ทวงถามได้ 8.00-18.00 น. เท่านั้น
นอกจากนี้กฎหมายยังห้ามการทวงถามหนี้ เช่น การข่มขู่ ใช้ความรุนแรงการประจานให้ลูกหนี้เสียหาย หรือเกิดการอับอายต่อคนอื่น โดยบทลงโทษกฎหมายให้มีการตั้งคณะกรรมการกับกำดูแลการทวงถามหนี้หากผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับจะมีความผิดทางปกครองปรับเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ และยังมีความผิดทางอาญาปรับตั้งแต่ไม่เกิน 30,000 บาท จนถึงไม่เกิน 500,000 บาทรวมถึงมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จนถึงไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำและปรับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิดในข้อห้ามส่วนไหน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ ถือเป็นมาตรการล้อมกรอบเจ้าหนี้นอกระบบเนื่องจากห่วงใยปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะจะช่วยให้ลูกหนี้ได้รับการคุ้มครองจากการทวงหนี้จากเจ้าหนี้หรือผู้ทำหน้าที่แทนในการทวงหนี้มากขึ้น ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ได้ปรามบรรดาเจ้าหนี้นอกระบบทั้งหลายอย่าได้ข่มขู่หรือกระทำการใดๆ ที่รุนแรงกับบรรดาลูกหนี้