ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนพ.ค. และยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 6 ปี
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 มิ.ย. ในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 64. 33 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 18,076.27 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 4.47 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 2,114.07 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กเพิ่มขึ้น 22.7 จุด หรือ 0.45% ปิดที่ 5,099.23 จุด
รายงานเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ประจำเดือนเม.ย. ลดลงอย่างมาก ขณะที่การจ้างงานภาพเอกชนประจำเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นถึง 201,000 ตำแหน่ง ส่วนการเติบโตภาคบริการของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง
ขณะเดียวกัน รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ภาวะเติบโตแบบ เล็กน้อยถึงปานกลาง อีกครั้งในเดือนเม.ย.และพ.ค. หลังจากชะงักไปในช่วงไตรมาสแรก ด้านนายมาริโอ ดารกี ประธานาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ออกมากล่าวชื่นชมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบี และยืนยันว่าจะไม่ยกเลิกมาตรการนี้เร็วกว่าที่วางแผนเอาไว้
ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐขาดดุลการค้าลดลง 19.2% สู่ระดับ 4.088 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปี ขณะที่ตัวเลขการขาดดุลในเดือนมี.ค.อยู่ที่ 5.057 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังไม่ออกมาส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมวันศกร์นี้
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.62 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.69 ดอลลาร์ ปิดที่ 63.8 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจาก EIA รายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. เพิ่มขึ้น 20,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.586 ล้านบาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ ยังไม่มีสมาชิกประเทศใดของกลุ่มโอเปกออกมาส่งสัญญาณว่า โอเปกจะลดโควต้าการผลิตในการประชุมวันศุกร์นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ฉุดสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเช่นกัน
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เนื่องจากข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 9.5 ดอลลาร์ หรือ 0.80% ปิดที่ระดับ 1,184.90 ดอลลาร์/ออนซ์
นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ โดยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ราย
นอกจากนี้ ADP ยังได้ทบทวนปรับลดตัวเลขจ้างงานในเดือนเม.ย.สู่ระดับ 165,000 ราย จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 169,000 ราย
การเพิ่มขึ้นของตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนยังได้กระตุ้นให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมครั้งต่อไปของเฟดในวันที่ 15 มิ.ย.นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณเรื่องระยะเวลาในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 มิ.ย. ในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 64. 33 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 18,076.27 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 4.47 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 2,114.07 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กเพิ่มขึ้น 22.7 จุด หรือ 0.45% ปิดที่ 5,099.23 จุด
รายงานเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ประจำเดือนเม.ย. ลดลงอย่างมาก ขณะที่การจ้างงานภาพเอกชนประจำเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นถึง 201,000 ตำแหน่ง ส่วนการเติบโตภาคบริการของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง
ขณะเดียวกัน รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ภาวะเติบโตแบบ เล็กน้อยถึงปานกลาง อีกครั้งในเดือนเม.ย.และพ.ค. หลังจากชะงักไปในช่วงไตรมาสแรก ด้านนายมาริโอ ดารกี ประธานาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ออกมากล่าวชื่นชมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบี และยืนยันว่าจะไม่ยกเลิกมาตรการนี้เร็วกว่าที่วางแผนเอาไว้
ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐขาดดุลการค้าลดลง 19.2% สู่ระดับ 4.088 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปี ขณะที่ตัวเลขการขาดดุลในเดือนมี.ค.อยู่ที่ 5.057 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังไม่ออกมาส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมวันศกร์นี้
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.62 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.69 ดอลลาร์ ปิดที่ 63.8 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจาก EIA รายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. เพิ่มขึ้น 20,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.586 ล้านบาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ ยังไม่มีสมาชิกประเทศใดของกลุ่มโอเปกออกมาส่งสัญญาณว่า โอเปกจะลดโควต้าการผลิตในการประชุมวันศุกร์นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ฉุดสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเช่นกัน
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เนื่องจากข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 9.5 ดอลลาร์ หรือ 0.80% ปิดที่ระดับ 1,184.90 ดอลลาร์/ออนซ์
นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ โดยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ราย
นอกจากนี้ ADP ยังได้ทบทวนปรับลดตัวเลขจ้างงานในเดือนเม.ย.สู่ระดับ 165,000 ราย จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 169,000 ราย
การเพิ่มขึ้นของตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนยังได้กระตุ้นให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมครั้งต่อไปของเฟดในวันที่ 15 มิ.ย.นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณเรื่องระยะเวลาในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด