สวัสดีครับช่วงที่ผ่านมาตลาดทองคำได้รับผลกระทบจากปัจจัยในสหรัฐฯ ยุโรปรวมถึงความเสี่ยงในตะวันออกกลางค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีความเคลื่อนไหวและมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินและสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งก็อย่างที่เราเห็นกันว่ามีทั้งปัจจัยบวกและลบสลับกันไป แต่เมื่อมองดูปัจจัยหนุนใน "ช่วงต้นปีที่ผ่านมาอุปสงค์เอเชียก็ถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาทองคำ" และอาจจะเป็นไปได้ว่าในช่วงปีนี้อุปสงค์ของเอเชียจะกลับมาสร้างโอกาสที่ดีในราคาทองคำหลังจากที่อินเดียอาจจะปรับเปลี่ยนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตลาดทองคำหลังมาตรการในการจำกัดการนำเข้าทองคำอย่างกติกา 80-20 ที่จำกัดให้ผู้นำเข้าทองคำต้องมีการส่งออกทองคำในสัดส่วน 20% ของที่นำเข้า รวมถึงมาตรการภาษีที่มีการปรับขึ้นไปถึง 10% หลังจากที่อินเดียประสบปัญหาขาดดุลการค้าอย่างหนัก
อินเดียถือเป็นประเทศที่มีการนำเข้าทองคำและการใช้งานทองคำเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากจีน แต่ถ้ามองกันจริง ๆ แล้วอินเดียเป็นแชมป์นำเข้าเสมอ ที่เสียตำแหน่งไปก็ด้วยการจำกัดการนำเข้า ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมของอินเดียมีการนำทองคำมาเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน การใช้เป็นเครื่องแต่งกายแสดงฐานะรวมถึงการออมที่บรรดาเกษตรกรที่เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศต่างออมเงินในรูปแบบของทองคำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อินเดียจะมีการนำเข้าทองคำจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมากกว่า 80 ตันต่อเดือนในช่วงก่อนที่จะมีการควบคุม ประกอบกับชาวอินเดียมีการเติบโตด้านรายได้มากขึ้นทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
การควบคุมการนำเข้าเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดก่อนที่พยายามจะควบคุมการขาดดุลการค้าเพราะมีการนำเข้าทองคำจำนวนมากในช่วงที่ราคาทองคำเริ่มลดต่ำลง โดยเพิ่มภาษีขึ้นไปถึง 10% ทำให้ตลาดการค้าขายทองคำในประเทศซบเซาลง นอกจากนี้จะเพิ่มกติกาให้ผู้นำเข้าส่งออกทองคำสัดส่วน 20% ของที่นำเข้าออกนอกประเทศ แต่กติกานี้ถูกยกเลิกไปในช่วงปี 2014 รวมถึงการคุมธนาคารพาณิชย์ แต่ในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาดุลการค้าอินเดียเริ่มปรับตัวดีขึ้น จนช่วงต้นปีที่ผ่านมามีกระแสว่าอินเดียอาจจะมีการลดภาษีการนำเข้าทองคำลงและผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในภาคธนาคาร ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถที่จะนำเข้าทองคำแบบขายฝากหลังจากเคยห้ามธุรกรรมประเภทนี้ การผ่อนปรกกฎเกณฑ์นี้ จะทำให้ธนาคารสามารถทำหน้าที่เป็นคนกลางในการค้าทองคำในประเทศได้
"โดยรวมจึงมองว่าการผ่อนปรนมาตรการในการจำกัดการนำเข้าทองคำของอินเดียจะเป็นตัวหนุนให้อุปสงค์ทองคำปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อราคาทองคำในเชิงบวกก็เพียงแต่หวังว่าอุปสงค์ของแดนภารตะจะหนุนราคาทองคำได้ในระยะต่อไป"
กมลธัญ พรไพศาลวิจิต
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ และผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด
อินเดียถือเป็นประเทศที่มีการนำเข้าทองคำและการใช้งานทองคำเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากจีน แต่ถ้ามองกันจริง ๆ แล้วอินเดียเป็นแชมป์นำเข้าเสมอ ที่เสียตำแหน่งไปก็ด้วยการจำกัดการนำเข้า ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมของอินเดียมีการนำทองคำมาเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน การใช้เป็นเครื่องแต่งกายแสดงฐานะรวมถึงการออมที่บรรดาเกษตรกรที่เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศต่างออมเงินในรูปแบบของทองคำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อินเดียจะมีการนำเข้าทองคำจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมากกว่า 80 ตันต่อเดือนในช่วงก่อนที่จะมีการควบคุม ประกอบกับชาวอินเดียมีการเติบโตด้านรายได้มากขึ้นทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
การควบคุมการนำเข้าเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดก่อนที่พยายามจะควบคุมการขาดดุลการค้าเพราะมีการนำเข้าทองคำจำนวนมากในช่วงที่ราคาทองคำเริ่มลดต่ำลง โดยเพิ่มภาษีขึ้นไปถึง 10% ทำให้ตลาดการค้าขายทองคำในประเทศซบเซาลง นอกจากนี้จะเพิ่มกติกาให้ผู้นำเข้าส่งออกทองคำสัดส่วน 20% ของที่นำเข้าออกนอกประเทศ แต่กติกานี้ถูกยกเลิกไปในช่วงปี 2014 รวมถึงการคุมธนาคารพาณิชย์ แต่ในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาดุลการค้าอินเดียเริ่มปรับตัวดีขึ้น จนช่วงต้นปีที่ผ่านมามีกระแสว่าอินเดียอาจจะมีการลดภาษีการนำเข้าทองคำลงและผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในภาคธนาคาร ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถที่จะนำเข้าทองคำแบบขายฝากหลังจากเคยห้ามธุรกรรมประเภทนี้ การผ่อนปรกกฎเกณฑ์นี้ จะทำให้ธนาคารสามารถทำหน้าที่เป็นคนกลางในการค้าทองคำในประเทศได้
"โดยรวมจึงมองว่าการผ่อนปรนมาตรการในการจำกัดการนำเข้าทองคำของอินเดียจะเป็นตัวหนุนให้อุปสงค์ทองคำปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อราคาทองคำในเชิงบวกก็เพียงแต่หวังว่าอุปสงค์ของแดนภารตะจะหนุนราคาทองคำได้ในระยะต่อไป"
กมลธัญ พรไพศาลวิจิต
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ และผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด