กรีซยื่นข้อเสนอประนีประนอมใหม่ล่าสุดเพื่อทำความตกลงกับเหล่าเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส แถลงเปิดเผยในวันอังคาร (2 มิ.ย.) พร้อมกับแสดงความหวังว่าความเคลื่อนไหวคราวนี้ จะทำให้ได้รับเงินกู้ซึ่งจะช่วยให้เอเธนส์รอดพ้นจากการล้มละลาย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเจ้าหนี้ตอบกลับมาอย่างรวดเร็วว่ายังไม่เพียงพอ และกรีซต้องทำอะไรเพิ่มขึ้นกว่านี้มาก
ซีปราสบอกว่า รัฐบาลของเขาได้ยินยอมประนีประนอมในระหว่างการเจรจากัน และเวลานี้ขึ้นอยู่กับพวกผู้นำของยุโรป ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหลักของกรีซ ว่าจะยอมรับข้อตกลง หรือจะเสี่ยงให้เกิดผลสืบเนื่องที่อาจถึงขั้นสร้างความหายนะให้แก่ภูมิภาคนี้ขึ้นมา
ทั้งนี้ถ้าหากไม่ได้รับเงินกู้ช่วยชีวิต กรีซก็อาจไม่สามารถชำระหนี้ของตนได้ในเดือนนี้ และลงท้ายอาจถึงกับต้องถอนตัวออกไปจากการใช้สกุลเงินยูโร อันเป็นจังหวะก้าวที่จะผลักดันยุโรปและระบบเศรษฐกิจของโลกให้เข้าสู่ภาวะซึ่งไม่เคยประสบและคาดเดาไม่ได้
ซีปราสกล่าวว่าข้อเสนอประนีประนอมของรัฐบาลกรีซ ซึ่งเขามิได้แจกแจงรายละเอียด ได้ยื่นเสนอไปเมื่อคืนวันจันทร์ (1) ต่อคณะเจ้าหนี้ อันประกอบด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), คณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป(อียู), และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
ทั้งนี้ในคืนเดียวกันนั้นเอง มาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี และ คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ได้เข้าไปร่วมการพบปะหารือฉุกเฉินที่นัดหมายกันเอาไว้ก่อนแล้วระหว่าง นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี, ประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส, และ ฌอง-โคลด จุงก์เคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรีในกรุงเบอร์ลิน เพื่อพูดคุยกันในเรื่องของกรีซ
อย่างไรก็ตาม กระทั่งข้อเสนอล่าสุดของเอเธนส์นี้ ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็ยังเห็นว่าไม่เพียงพอ
“พวกเรายังไม่ได้ใกล้เคียงจุดที่ควรถือว่าไกลเพียงพอแล้วเลย” รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ เจอเริน ดิสเซลโบลม ซึ่งเป็นประธานของการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่เรียกกันว่า “ยูโรกรุ๊ป” อีกทั้งเป็นผู้ที่รับทราบความคืบหน้าล่าสุดของการประชุมในกรุงเบอร์ลินเมื่อคืนวันจันทร์ กล่าวตอบอย่างรวดเร็วไม่นานนักภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีกรีซ
ซีปราสบอกว่า รัฐบาลของเขาได้ยินยอมประนีประนอมในระหว่างการเจรจากัน และเวลานี้ขึ้นอยู่กับพวกผู้นำของยุโรป ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหลักของกรีซ ว่าจะยอมรับข้อตกลง หรือจะเสี่ยงให้เกิดผลสืบเนื่องที่อาจถึงขั้นสร้างความหายนะให้แก่ภูมิภาคนี้ขึ้นมา
ทั้งนี้ถ้าหากไม่ได้รับเงินกู้ช่วยชีวิต กรีซก็อาจไม่สามารถชำระหนี้ของตนได้ในเดือนนี้ และลงท้ายอาจถึงกับต้องถอนตัวออกไปจากการใช้สกุลเงินยูโร อันเป็นจังหวะก้าวที่จะผลักดันยุโรปและระบบเศรษฐกิจของโลกให้เข้าสู่ภาวะซึ่งไม่เคยประสบและคาดเดาไม่ได้
ซีปราสกล่าวว่าข้อเสนอประนีประนอมของรัฐบาลกรีซ ซึ่งเขามิได้แจกแจงรายละเอียด ได้ยื่นเสนอไปเมื่อคืนวันจันทร์ (1) ต่อคณะเจ้าหนี้ อันประกอบด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), คณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป(อียู), และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
ทั้งนี้ในคืนเดียวกันนั้นเอง มาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี และ คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ได้เข้าไปร่วมการพบปะหารือฉุกเฉินที่นัดหมายกันเอาไว้ก่อนแล้วระหว่าง นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี, ประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส, และ ฌอง-โคลด จุงก์เคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรีในกรุงเบอร์ลิน เพื่อพูดคุยกันในเรื่องของกรีซ
อย่างไรก็ตาม กระทั่งข้อเสนอล่าสุดของเอเธนส์นี้ ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็ยังเห็นว่าไม่เพียงพอ
“พวกเรายังไม่ได้ใกล้เคียงจุดที่ควรถือว่าไกลเพียงพอแล้วเลย” รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ เจอเริน ดิสเซลโบลม ซึ่งเป็นประธานของการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่เรียกกันว่า “ยูโรกรุ๊ป” อีกทั้งเป็นผู้ที่รับทราบความคืบหน้าล่าสุดของการประชุมในกรุงเบอร์ลินเมื่อคืนวันจันทร์ กล่าวตอบอย่างรวดเร็วไม่นานนักภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีกรีซ