นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก ขยายช่องทางการรับชำระภาษีรถให้หลากหลายมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ปรากฏว่า คนกรุงเทพฯยังคงนิยมเลือกใช้บริการรับชำระภาษีรถยนต์ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 มากที่สุด เฉพาะในเดือนเมษายน 2558 มีประชาชนมาใช้บริการ ณ สำนักงาน จำนวน 365,901 ราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 435,609,430.15 บาท รองลงมาเป็นการใช้บริการรับชำระภาษีรถผ่านช่องทาง “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) ชำระภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถ จำนวน 65,097 ราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 116,037,671.43 บาท และเป็นการใช้บริการรับชำระภาษีรถ ที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีในวันเสาร์-อาทิตย์ ทั้ง 14 สาขา ได้แก่ สาขาลาดพร้าว รามอินทรา รัชดาภิเษก บางปะกอก เพชรเกษม อ่อนนุช สุขาภิบาล 3 บางบอน สุวินทวงศ์ แจ้งวัฒนะ บางใหญ่ สำโรง ศรีนครินทร์ และบางนา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลรามอินทรา และเซ็นทรัลลาดพร้าว รวมทั้งศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค ตามโครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี" มีประชาชนมาใช้บริการจำนวน 28,861 ราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 41,945,514.55 บาท
ส่วนที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. มีผู้มาใช้บริการ 6,991 ราย จัดเก็บภาษีได้ 8,989,228.95 บาท และชำระภาษีรถผ่านอินเทอร์เน็ตที่ www.dlte-serv.in.th อีกจำนวน 4,326 ราย จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 8,092,107.47 บาท นอกนั้นเป็นการใช้บริการผ่านช่องทางอื่นๆ ผ่านไปรษณีย์ และผ่านโทรศัพท์มือถือบนเครือข่าย AIS และ True move
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยังกล่าวว่า การรับชำระภาษีรถผ่านช่องทางต่างๆ นั้น เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เพียงนำหลักฐานการทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมาแสดง สำหรับรถเก๋ง รถปิ๊กอัพ รถตู้ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) มาแสดงด้วย โดยจะมีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถหรือไม่ก็ได้ รวมถึงรถที่ติดตั้งแก๊สต้องมีหนังสือรับรองการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ส่วนที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. มีผู้มาใช้บริการ 6,991 ราย จัดเก็บภาษีได้ 8,989,228.95 บาท และชำระภาษีรถผ่านอินเทอร์เน็ตที่ www.dlte-serv.in.th อีกจำนวน 4,326 ราย จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 8,092,107.47 บาท นอกนั้นเป็นการใช้บริการผ่านช่องทางอื่นๆ ผ่านไปรษณีย์ และผ่านโทรศัพท์มือถือบนเครือข่าย AIS และ True move
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยังกล่าวว่า การรับชำระภาษีรถผ่านช่องทางต่างๆ นั้น เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เพียงนำหลักฐานการทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมาแสดง สำหรับรถเก๋ง รถปิ๊กอัพ รถตู้ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) มาแสดงด้วย โดยจะมีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถหรือไม่ก็ได้ รวมถึงรถที่ติดตั้งแก๊สต้องมีหนังสือรับรองการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย