นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การประชุม กมธ.ยกร่างฯ วันนี้ (28 พ.ค.) จะพิจารณาเอกสารที่ฝ่ายเลขาฯ ได้จัดระบบคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คำขอ ให้เป็นหมวดหมู่ และลงในแต่ละมาตรา เพื่อทำให้เห็นภาพรวมมากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่มีการลงเนื้อหาว่าจะพิจารณาปรับแก้ไขในประเด็นเชิงเนื้อหา เนื่องจากต้องรอฟังคำชี้แจงจากผู้ยื่นคำขอแก้ไขในวันที่ 2-6 มิถุนายนนี้ก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกประเด็น
นายคำนูณ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯ ไม่รู้สึกกดดันถึงการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญในช่วงนี้ เพราะที่ผ่านมา ได้มีเสียงสะท้อนที่ไม่เห็นด้วยในบางประเด็น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และไม่กังวลกรณีที่แต่ละคำขอแก้ไขจากฝ่ายต่างๆ ที่ส่งมามีจำนวนกว่า 100 ประเด็น เพราะ กมธ.ยกร่างฯ ต้องพิจารณาอย่างละเอียด ซึ่งจำนวนมาตราที่ขอแก้ไขเมื่อรวบรวมแล้วจะเหลือเพียงแค่ไม่กี่ประเด็นที่ กมธ.ยกร่างฯ ต้องหารือกัน
ส่วนกรอบเวลาในการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญยังคงยึดกรอบการทำงานเดิมคือ 60 วัน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการขยายเวลาเพิ่มอีก 30 วัน ซึ่งหากมีการขยายเวลาจริง ช่วงสุดท้ายของการพิจารณาอาจเชิญผู้ยื่นคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมารับฟังเหตุผลคำชี้แจงของ กมธ.ยกร่างฯ ว่าต้องปรับแก้หรือไม่ปรับแก้เพราะเหตุผลใด เพื่อทำความเข้าใจตรงกัน
นายคำนูณ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯ ไม่รู้สึกกดดันถึงการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญในช่วงนี้ เพราะที่ผ่านมา ได้มีเสียงสะท้อนที่ไม่เห็นด้วยในบางประเด็น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และไม่กังวลกรณีที่แต่ละคำขอแก้ไขจากฝ่ายต่างๆ ที่ส่งมามีจำนวนกว่า 100 ประเด็น เพราะ กมธ.ยกร่างฯ ต้องพิจารณาอย่างละเอียด ซึ่งจำนวนมาตราที่ขอแก้ไขเมื่อรวบรวมแล้วจะเหลือเพียงแค่ไม่กี่ประเด็นที่ กมธ.ยกร่างฯ ต้องหารือกัน
ส่วนกรอบเวลาในการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญยังคงยึดกรอบการทำงานเดิมคือ 60 วัน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการขยายเวลาเพิ่มอีก 30 วัน ซึ่งหากมีการขยายเวลาจริง ช่วงสุดท้ายของการพิจารณาอาจเชิญผู้ยื่นคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมารับฟังเหตุผลคำชี้แจงของ กมธ.ยกร่างฯ ว่าต้องปรับแก้หรือไม่ปรับแก้เพราะเหตุผลใด เพื่อทำความเข้าใจตรงกัน