นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการบริหารประเทศของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังยึดอำนาจ ครบ 1 ปี ว่า ปัญหาของชาติก่อนการยึดอำนาจที่คนไทยขัดแย้งกันมีไม่กี่เรื่อง โดยหลักๆ คือ ความเห็นต่างเรื่องประชาธิปไตยเพราะมีนิยาม ความเข้าใจที่ต่างกัน เรื่องความยุติธรรม จนสร้างวาทกรรมขยายผลว่า สองมาตรฐาน การทุจริตที่หยั่งรากลึกจนไม่สามารถแก้ไขได้ มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีที่ผ่านมา ทั้ง คสช.และรัฐบาล ให้นิยามคำว่า ปฏิรูปผิด โดยเข้าใจว่าการปฏิรูปคือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และแก้ไขกฎหมายอื่นๆ มาใช้ จึงเสียเวลาไปกับ 2 เรื่องนี้ โดยไม่ดูพื้นฐานของปัญหา คือ ความแตกแยกและความขัดแย้งในสังคมของแต่ละฝ่าย ซึ่งวันนี้อยู่ในที่ตั้ง แต่พร้อมจะปะทุแสดงออกในตอนเลือกตั้ง
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลักรัฐศาสตร์ระบุไว้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์สำคัญกว่ากฎหมาย ถ้าพฤติกรรมไม่เปลี่ยน ปัญหาก็แก้ไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมประชาธิปไตยของคนไทยที่เห็นต่างให้อยู่ร่วมกันได้ แต่ไม่ใช้ความรุนแรง ฆ่าแกงกัน แต่รัฐบาลนี้ยังไม่ได้ทำ ทั้งที่มีกลไกเครื่องมือต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม ในเรื่องจำเป็น คือ สร้างความเข้าใจ ความยุติธรรมขั้นพื้นฐานให้ประชาชนในชาติได้เข้าใจใกล้เคียงกัน ชี้แจงเรื่องสองมาตรฐานให้คนในชาติเข้าใจ
ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า หากมีการยกเลิกมาตรา 44 ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิม ก็ยังไม่สาย หากลงมือทำวันนี้เพราะยังมีเวลา ดีกว่าไม่พยายามแก้ไขเลย
ขณะที่ผลงานที่ชัดเจนสุดของรัฐบาลนี้ คือ สามารถควบคุมและยุติการใช้ความรุนแรงของคนในชาติได้ นอกนั้นการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ยังเหมือนเดิม เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ยังแย่กว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนการปราบคอร์รัปชันก็ยังไม่ชัดเจน ขณะที่การปฏิรูปประเทศจะสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชน เพราะหลังการปฏิวัติใหม่ๆ สังคมคาดหวังมากว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แต่ผ่านมา 1 ปี พบว่าการสนับสนุนของประชาชนลดลง เสียงเรียกร้องให้คืนอำนาจมีมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม โดยรวมผลงานของรัฐบาลนี้ต้องดูที่อนาคตในอีก 1 ปี หากมีการเลือกตั้งจริง ถ้าทุกอย่างไม่กลับไปเหมือนเดิมก็ถือว่าสำเร็จ แต่ตนเชื่อว่าจะกลับไปเหมือนเดิม
นอกจากนี้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตี ระบุว่า หากมีการทำประชามติ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ปี 2559 ว่า เป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย เพราะเดิมนายกรัฐมนตรีประกาศโรดแมป หลายฝ่ายเห็นพ้องว่าน่าจะมีการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2559 หรืออย่างช้าหากมีการทำประชามติก็เดือนพฤษภาคม 2559 แต่ตอนนี้กลับประกาศออกไปเช่นนี้ จึงเหนือความคาดหมายของตน เพราะถือว่าโรดแมปที่เป็นสัญญาประชาคมถูกยกเลิกไปแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะอยู่ยาว ส่วนจะสืบทอดอำนาจหรือไม่ ไม่ทราบ เพราะการขยายเวลายืดออกไปโดยชี้แจงไม่ได้ ซึ่งอาจคิดว่าหากยืดเวลาออกไปกำลังของฝ่ายต่อต้านจะลดน้อยลง อำนาจการต่อรองของผู้มีอำนาจจะยิ่งสูงขึ้นก็ได้
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลักรัฐศาสตร์ระบุไว้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์สำคัญกว่ากฎหมาย ถ้าพฤติกรรมไม่เปลี่ยน ปัญหาก็แก้ไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมประชาธิปไตยของคนไทยที่เห็นต่างให้อยู่ร่วมกันได้ แต่ไม่ใช้ความรุนแรง ฆ่าแกงกัน แต่รัฐบาลนี้ยังไม่ได้ทำ ทั้งที่มีกลไกเครื่องมือต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม ในเรื่องจำเป็น คือ สร้างความเข้าใจ ความยุติธรรมขั้นพื้นฐานให้ประชาชนในชาติได้เข้าใจใกล้เคียงกัน ชี้แจงเรื่องสองมาตรฐานให้คนในชาติเข้าใจ
ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า หากมีการยกเลิกมาตรา 44 ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิม ก็ยังไม่สาย หากลงมือทำวันนี้เพราะยังมีเวลา ดีกว่าไม่พยายามแก้ไขเลย
ขณะที่ผลงานที่ชัดเจนสุดของรัฐบาลนี้ คือ สามารถควบคุมและยุติการใช้ความรุนแรงของคนในชาติได้ นอกนั้นการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ยังเหมือนเดิม เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ยังแย่กว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนการปราบคอร์รัปชันก็ยังไม่ชัดเจน ขณะที่การปฏิรูปประเทศจะสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชน เพราะหลังการปฏิวัติใหม่ๆ สังคมคาดหวังมากว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แต่ผ่านมา 1 ปี พบว่าการสนับสนุนของประชาชนลดลง เสียงเรียกร้องให้คืนอำนาจมีมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม โดยรวมผลงานของรัฐบาลนี้ต้องดูที่อนาคตในอีก 1 ปี หากมีการเลือกตั้งจริง ถ้าทุกอย่างไม่กลับไปเหมือนเดิมก็ถือว่าสำเร็จ แต่ตนเชื่อว่าจะกลับไปเหมือนเดิม
นอกจากนี้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตี ระบุว่า หากมีการทำประชามติ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ปี 2559 ว่า เป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย เพราะเดิมนายกรัฐมนตรีประกาศโรดแมป หลายฝ่ายเห็นพ้องว่าน่าจะมีการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2559 หรืออย่างช้าหากมีการทำประชามติก็เดือนพฤษภาคม 2559 แต่ตอนนี้กลับประกาศออกไปเช่นนี้ จึงเหนือความคาดหมายของตน เพราะถือว่าโรดแมปที่เป็นสัญญาประชาคมถูกยกเลิกไปแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะอยู่ยาว ส่วนจะสืบทอดอำนาจหรือไม่ ไม่ทราบ เพราะการขยายเวลายืดออกไปโดยชี้แจงไม่ได้ ซึ่งอาจคิดว่าหากยืดเวลาออกไปกำลังของฝ่ายต่อต้านจะลดน้อยลง อำนาจการต่อรองของผู้มีอำนาจจะยิ่งสูงขึ้นก็ได้