รายงานข่าวแจ้งว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558, พ.ร.บ.ระเบียบเงินเดือนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558, พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2558
มีสาระสำคัญให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการชั้นผู้น้อยทุกประเภทตั้งแต่ระดับ 1–7 ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการทุกประเภททุกระดับ เพิ่มขึ้นอีก ไม่เกิน ร้อยละ 10 โดยให้มีผลทันทีหลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลบังคับย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2557
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่างๆ ในประเภทเดียวกัน และต่างประเภท และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็น โดยครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 1.98 ล้านคน และเป็นการนำเงินจากงบประมาณกลาง 16,800 ล้านบาทมาดำเนินการ
สำหรับการปรับเงินเดือนข้าราชการจะปรับ 2 ระดับ คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อยระดับชำนาญการชำนาญงาน และข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 ลงมาจะได้รับการปรับเงินเดือน 4 % เช่นตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขั้นสูง อยู่ที่ 26,900 บาท ชำนาญการขั้นสูง อยู่ที่ 43,600 บาทส่วนตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงานขั้นสูง อยู่ที่ 21,010บาทชำนาญงานขั้นสูง อยู่ที่ 38,750 บาท ส่วนข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาระดับครูผู้ช่วยขั้นสูง อยู่ที่ 24,750 บาท ครูชำนาญการ (คศ.2)ขั้นสูง อยู่ที่ 41,620 บาท เป็นต้น ส่วนการปรับเงินเดือนข้าราชการระดับสูงในระดับบริหารจะปรับเงินเดือนประมาณ 10 % เช่นตำแหน่งประเภทบริหารขั้นสูง จะได้ปรับเงินเดือนเป็น 76,800 บาทตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับขั้นสูง ปรับเป็น 70,360 บาทเป็นต้น
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่าการปรับขึ้นเงินเดือนและโครงสร้างเงินเดือนครั้งนี้จะใช้เงินงบประมาณประจำปี 2558 เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมข้าราชการ รวม 1.98 ล้านคน โดยก่อนหน้านี้ครม.ได้เห็นชอบในหลักการการปรับโครงสร้างเงินเดือนดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2557 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มรายได้และขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการทั่วประเทศ
มีสาระสำคัญให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการชั้นผู้น้อยทุกประเภทตั้งแต่ระดับ 1–7 ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการทุกประเภททุกระดับ เพิ่มขึ้นอีก ไม่เกิน ร้อยละ 10 โดยให้มีผลทันทีหลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลบังคับย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2557
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่างๆ ในประเภทเดียวกัน และต่างประเภท และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็น โดยครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 1.98 ล้านคน และเป็นการนำเงินจากงบประมาณกลาง 16,800 ล้านบาทมาดำเนินการ
สำหรับการปรับเงินเดือนข้าราชการจะปรับ 2 ระดับ คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อยระดับชำนาญการชำนาญงาน และข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 ลงมาจะได้รับการปรับเงินเดือน 4 % เช่นตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขั้นสูง อยู่ที่ 26,900 บาท ชำนาญการขั้นสูง อยู่ที่ 43,600 บาทส่วนตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงานขั้นสูง อยู่ที่ 21,010บาทชำนาญงานขั้นสูง อยู่ที่ 38,750 บาท ส่วนข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาระดับครูผู้ช่วยขั้นสูง อยู่ที่ 24,750 บาท ครูชำนาญการ (คศ.2)ขั้นสูง อยู่ที่ 41,620 บาท เป็นต้น ส่วนการปรับเงินเดือนข้าราชการระดับสูงในระดับบริหารจะปรับเงินเดือนประมาณ 10 % เช่นตำแหน่งประเภทบริหารขั้นสูง จะได้ปรับเงินเดือนเป็น 76,800 บาทตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับขั้นสูง ปรับเป็น 70,360 บาทเป็นต้น
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่าการปรับขึ้นเงินเดือนและโครงสร้างเงินเดือนครั้งนี้จะใช้เงินงบประมาณประจำปี 2558 เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมข้าราชการ รวม 1.98 ล้านคน โดยก่อนหน้านี้ครม.ได้เห็นชอบในหลักการการปรับโครงสร้างเงินเดือนดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2557 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มรายได้และขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการทั่วประเทศ