ตัวแทนเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา นำโดย นายสุมิตร สุวรรณ ประธานเครือข่ายฯ เข้าพบ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อยื่นข้อเสนอขอความเป็นธรรมให้กับพนักงานในสถาบันอุมศึกษา
โดย นายสุมิตร กล่าวว่า การเปลี่ยนสภาพข้าราชการมาเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2542 มีหลักการว่า พนักงานจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าระบบราชการ แต่เมื่อนำมาปฏิบัติจริง กลับสร้างระบบที่เป็นไปในทิศทางริดลอนสิทธิให้ต่ำกว่าข้าราชการ ทั้งในเรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และความมั่นคงในการทำงาน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอดังนี้
1.ให้มีการเร่งรัดติดตามสำนักงานประมาณให้จัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นค่าจ้างพนักงานอุดมศึกษาในอัตรเท่ากับเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 1 มกราคม 2557 ตามมติคณะรัฐมนตรี 31 มกราคม 2555
2.ให้มีการปรับเงินเดือนพนักงานร้อยละ 4 ตามการปรับเงินเดือนข้าราชการ ตามที่ สนช.ได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558
3.ขอให้กำกับติดตามการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะค่าตอบแทน สวัสดิการ และสัญญจ้างให้เป็นธรรม
4.ขอให้ สนช.นำร่าง พ.ร.บ.การบริหารงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาของพนักงานเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
และ 5.ขอให้ทบทวนนโยบายเปลี่ยนสภาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทั้งหมด โดยหากมหาวิทยาลัยใดไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ ควรให้เปลี่ยนสถานภาพพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการ
ภายหลังการรรับหนังสือ นายพรเพชร กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาของบุคลากรที่ออกนอกระบบ ประกอบกับมีนโยบายของรัฐบาลในการลดอัตราข้าราชการในมหาวิทยาลัย ทำให้บุคลากรมีทั้งพนักงานมหาวิทยาลัย และข้าราชการ จึงมีความแตกต่างและเกิดการเปรียบเทียบกัน จึงมายื่นเพื่อเสนอที่จะให้มีมาตรฐานกลางเพื่อใช้กับพนักงานมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะที่เป็นอาจารย์ ส่วนการเสนอร่างกฎหมาย ได้ให้คำแนะนำว่าเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบันมีจำนวนมาก และยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งการจะเสนอกฎหมายเพื่อให้รัฐบาลเห็นชอบได้ก็ต่อเมื่อข้อถกเถียงและข้อขัดแย้งมีข้อยุติแล้ว จะมาปล่อยให้ สนช.พิจารณาเองคงไม่ได้ จึงได้แนะนำให้ไปหารือกันก่อน
โดย นายสุมิตร กล่าวว่า การเปลี่ยนสภาพข้าราชการมาเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2542 มีหลักการว่า พนักงานจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าระบบราชการ แต่เมื่อนำมาปฏิบัติจริง กลับสร้างระบบที่เป็นไปในทิศทางริดลอนสิทธิให้ต่ำกว่าข้าราชการ ทั้งในเรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และความมั่นคงในการทำงาน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอดังนี้
1.ให้มีการเร่งรัดติดตามสำนักงานประมาณให้จัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นค่าจ้างพนักงานอุดมศึกษาในอัตรเท่ากับเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 1 มกราคม 2557 ตามมติคณะรัฐมนตรี 31 มกราคม 2555
2.ให้มีการปรับเงินเดือนพนักงานร้อยละ 4 ตามการปรับเงินเดือนข้าราชการ ตามที่ สนช.ได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558
3.ขอให้กำกับติดตามการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะค่าตอบแทน สวัสดิการ และสัญญจ้างให้เป็นธรรม
4.ขอให้ สนช.นำร่าง พ.ร.บ.การบริหารงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาของพนักงานเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
และ 5.ขอให้ทบทวนนโยบายเปลี่ยนสภาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทั้งหมด โดยหากมหาวิทยาลัยใดไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ ควรให้เปลี่ยนสถานภาพพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการ
ภายหลังการรรับหนังสือ นายพรเพชร กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาของบุคลากรที่ออกนอกระบบ ประกอบกับมีนโยบายของรัฐบาลในการลดอัตราข้าราชการในมหาวิทยาลัย ทำให้บุคลากรมีทั้งพนักงานมหาวิทยาลัย และข้าราชการ จึงมีความแตกต่างและเกิดการเปรียบเทียบกัน จึงมายื่นเพื่อเสนอที่จะให้มีมาตรฐานกลางเพื่อใช้กับพนักงานมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะที่เป็นอาจารย์ ส่วนการเสนอร่างกฎหมาย ได้ให้คำแนะนำว่าเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบันมีจำนวนมาก และยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งการจะเสนอกฎหมายเพื่อให้รัฐบาลเห็นชอบได้ก็ต่อเมื่อข้อถกเถียงและข้อขัดแย้งมีข้อยุติแล้ว จะมาปล่อยให้ สนช.พิจารณาเองคงไม่ได้ จึงได้แนะนำให้ไปหารือกันก่อน