นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เป็นประธานมอบนโยบายให้กับผู้อำนวยการ กกต.จังหวัดทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ กกต.ในการสัมมนาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการระดมความเห็นเพื่อพัฒนาเครื่องมือจัดการความเสี่ยงในการเลือกตั้ง รองรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ขอให้ทุกด้านเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ทั้งนี้มีความชัดเจนแล้วว่าต้องมีการทำประชามติ โดยคาดว่าน่าจะเป็นเดือนมกราคม 2559 และการเลือกตั้ง ส.ส. น่าจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม และในเดือนตุลาคมเป็นการเลือกตั้ง สว.
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ต้องทำให้สังคมเห็นว่า กกต.มีความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่ให้เกิดการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และจัดการเลือกตั้งให้เกิดความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย สุดท้ายพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือการลงคะแนนด้วยระบบอิเลคทรอนิกศ์หรือระบบอื่น ซึ่งขณะนี้ กกต.ได้พัฒนาเทคโนโลยีรองรับการเลือกตั้งและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เช่น เวบไซต์ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศ แอพพลิเคชั่นดาวเหนือบอกหน่วยเลือกตั้ง และแอพพลิเคชั่นตาสัปปะรด แจ้งเหตุทุจริตเลือกตั้ง ดังนั้นการเปลี่ยนต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
นายสมชัย ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมทำประชามติว่า ในเบื้องต้นได้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ในส่วนของการดำเนินการทำประชามติ และการรณงค์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสำหรับการทำประชามติ จะต้องมีผู้ไปออกเสียงประชามติมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ คือหากมีประชาชนมีสิทธิออกเสียง 40 ล้านคน ก็จะต้องมีผู้ไปลงคะแนนกว่า 20 ล้านคน ซึ่งเมื่อมีผู้ไปออกเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ผลที่ออกมาก็จะใช้เสียงข้างมาก ทั้งนี้การทำประชามติโดยปกติจะถือว่าเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะดำเนินการตามผลที่ออกมาหรือไม่ แต่การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ หากมีการทำจริง ผลที่ออกมาถือว่าผูกพันรัฐบาล
นายสมชัย กล่าวว่า หากรัฐบาลจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและ คสช.คงต้องออกประกาศอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เพื่อให้สามารถจัดเวทีแสดงความคิดเห็นได้ และส่วนตัวจะเสนอให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาให้องค์กรหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความเห็นต่างและเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมาจดทะเบียน กับ กกต.เพื่อขอรณรงค์ ซึ่งจะเป็นการควบคุมไม่ให้กลุ่มที่ไปรณรงค์มีการเมืองเข้ามาแอบแฝง ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะต้องแสดงที่มา งบประมาณ หรือแนวทางกับ กกต. และบางส่วนอาจของบประมาณสนับสนุนจาก กกต.ในการรณรงค์ได้ด้วย
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ต้องทำให้สังคมเห็นว่า กกต.มีความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่ให้เกิดการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และจัดการเลือกตั้งให้เกิดความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย สุดท้ายพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือการลงคะแนนด้วยระบบอิเลคทรอนิกศ์หรือระบบอื่น ซึ่งขณะนี้ กกต.ได้พัฒนาเทคโนโลยีรองรับการเลือกตั้งและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เช่น เวบไซต์ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศ แอพพลิเคชั่นดาวเหนือบอกหน่วยเลือกตั้ง และแอพพลิเคชั่นตาสัปปะรด แจ้งเหตุทุจริตเลือกตั้ง ดังนั้นการเปลี่ยนต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
นายสมชัย ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมทำประชามติว่า ในเบื้องต้นได้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ในส่วนของการดำเนินการทำประชามติ และการรณงค์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสำหรับการทำประชามติ จะต้องมีผู้ไปออกเสียงประชามติมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ คือหากมีประชาชนมีสิทธิออกเสียง 40 ล้านคน ก็จะต้องมีผู้ไปลงคะแนนกว่า 20 ล้านคน ซึ่งเมื่อมีผู้ไปออกเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ผลที่ออกมาก็จะใช้เสียงข้างมาก ทั้งนี้การทำประชามติโดยปกติจะถือว่าเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะดำเนินการตามผลที่ออกมาหรือไม่ แต่การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ หากมีการทำจริง ผลที่ออกมาถือว่าผูกพันรัฐบาล
นายสมชัย กล่าวว่า หากรัฐบาลจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและ คสช.คงต้องออกประกาศอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เพื่อให้สามารถจัดเวทีแสดงความคิดเห็นได้ และส่วนตัวจะเสนอให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาให้องค์กรหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความเห็นต่างและเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมาจดทะเบียน กับ กกต.เพื่อขอรณรงค์ ซึ่งจะเป็นการควบคุมไม่ให้กลุ่มที่ไปรณรงค์มีการเมืองเข้ามาแอบแฝง ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะต้องแสดงที่มา งบประมาณ หรือแนวทางกับ กกต. และบางส่วนอาจของบประมาณสนับสนุนจาก กกต.ในการรณรงค์ได้ด้วย