นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร จึงนำเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 21 พฤษภาคมนี้ เพื่อพิจารณาเป็นรายมาตราและลงมติ โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจาก 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สำหรับเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมาธิการ กำหนดให้ผู้ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกแต่ละราย ทั้งรับมาครั้งเดียว หรือหลายครั้ง มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น จึงต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จากเดิมกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไม่เกิน 50 ล้านบาท และยังบัญญัติให้เสียภาษีอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าในส่วนที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพกการีหรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
ทั้งนี้ เนื้อหาที่แก้ไขดังกล่าว สังคมจะเป็นผู้พิจารณา เพราะการที่กระทรวงการคลังเสนอยกเว้นให้กับมรดกไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อต้องการให้นำเงินจากผู้มีทรัพย์สินจำนวนมากมาช่วยบริหารประเทศ แต่การแก้ไขครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สนช.
สำหรับสาระสำคัญ คณะกรรมาธิการฯ กำหนดประเภทของมรดกที่ต้องเสียภาษีเอาไว้ 5 ประเภท ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และทรัพย์ทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา
ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ด้วยการให้พิจารณาทบทวนมูลค่ามรดกทุก 5 ปี โดยนำอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคที่กระทรวงพาณิชย์คำนวณ เพื่อใช้ในราชการในรอบระยะเวลานั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย และยังกำหนดบทลงโทษเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในกรณีบุคคลไม่ยอมเสียภาษี โดยไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระจากเดิมที่กำหนดไว้ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ และถ้าเป็นกรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงต่อความเป็นจริงอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไปให้เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม จากเดิมกำหนดให้เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสีย
สำหรับเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมาธิการ กำหนดให้ผู้ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกแต่ละราย ทั้งรับมาครั้งเดียว หรือหลายครั้ง มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น จึงต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จากเดิมกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไม่เกิน 50 ล้านบาท และยังบัญญัติให้เสียภาษีอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าในส่วนที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพกการีหรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
ทั้งนี้ เนื้อหาที่แก้ไขดังกล่าว สังคมจะเป็นผู้พิจารณา เพราะการที่กระทรวงการคลังเสนอยกเว้นให้กับมรดกไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อต้องการให้นำเงินจากผู้มีทรัพย์สินจำนวนมากมาช่วยบริหารประเทศ แต่การแก้ไขครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สนช.
สำหรับสาระสำคัญ คณะกรรมาธิการฯ กำหนดประเภทของมรดกที่ต้องเสียภาษีเอาไว้ 5 ประเภท ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และทรัพย์ทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา
ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ด้วยการให้พิจารณาทบทวนมูลค่ามรดกทุก 5 ปี โดยนำอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคที่กระทรวงพาณิชย์คำนวณ เพื่อใช้ในราชการในรอบระยะเวลานั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย และยังกำหนดบทลงโทษเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในกรณีบุคคลไม่ยอมเสียภาษี โดยไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระจากเดิมที่กำหนดไว้ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ และถ้าเป็นกรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงต่อความเป็นจริงอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไปให้เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม จากเดิมกำหนดให้เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสีย