โยนสังคมเป็นผู้พิจารณา รมว.คลังเผย กมธ.เพิ่มเพดานยกเว้นภาษีมรดก จากไม่เกิน 50 ล้าน ตามที่คลังเสนอ เพิ่มเป็น 100 ล้านบาท รอลุ้นขันตอน สนช.เคาะ 21 พ.ค.นี้
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีการรับมรดกและร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร) จึงนำเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 นี้ เพื่อพิจารณาเป็นรายมาตราและลงมติ โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจาก 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการเห็นชอบของ กมธ.กำหนดให้ผู้ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกแต่ละรายทั้งรับมาครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น จึงต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จากเดิมกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไม่เกิน 50 ล้านบาท และยังบัญญัติให้เสียภาษีอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าในส่วนที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพกการีหรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
“สังคมจะเป็นผู้พิจารณา เพราะการที่กระทรวงการคลังเสนอยกเว้นให้กับมรดกไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อต้องการให้นำเงินจากผู้มีทรัพย์สินจำนวนมากมาช่วยบริหารประเทศ แต่การแก้ไขครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สนช.” นายสมหมายกล่าว
สาระสำคัญ กมธ.กำหนดประเภทของมรดกที่ต้องเสียภาษีเอาไว้ 5 ประเภท ได้แก่ 1.อสังหาริมทรัพย์ 2.หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ 4.ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และ 5.ทรัพย์ทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา
พร้อมเพิ่มเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ด้วยการให้พิจารณาทบทวนมูลค่ามรดกทุก 5 ปี โดยนำอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคที่กระทรวงพาณิชย์คำนวณ เพื่อใช้ในราชการในรอบระยะเวลานั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย และยังกำหนดบทลงโทษเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในกรณีบุคคลไม่ยอมเสียภาษี โดยไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระจากเดิมที่กำหนดไว้ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ
กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงต่อความเป็นจริงอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไปให้เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม จากเดิมกำหนดให้เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสีย.
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีการรับมรดกและร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร) จึงนำเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 นี้ เพื่อพิจารณาเป็นรายมาตราและลงมติ โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจาก 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการเห็นชอบของ กมธ.กำหนดให้ผู้ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกแต่ละรายทั้งรับมาครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น จึงต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จากเดิมกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไม่เกิน 50 ล้านบาท และยังบัญญัติให้เสียภาษีอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าในส่วนที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพกการีหรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
“สังคมจะเป็นผู้พิจารณา เพราะการที่กระทรวงการคลังเสนอยกเว้นให้กับมรดกไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อต้องการให้นำเงินจากผู้มีทรัพย์สินจำนวนมากมาช่วยบริหารประเทศ แต่การแก้ไขครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สนช.” นายสมหมายกล่าว
สาระสำคัญ กมธ.กำหนดประเภทของมรดกที่ต้องเสียภาษีเอาไว้ 5 ประเภท ได้แก่ 1.อสังหาริมทรัพย์ 2.หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ 4.ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และ 5.ทรัพย์ทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา
พร้อมเพิ่มเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ด้วยการให้พิจารณาทบทวนมูลค่ามรดกทุก 5 ปี โดยนำอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคที่กระทรวงพาณิชย์คำนวณ เพื่อใช้ในราชการในรอบระยะเวลานั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย และยังกำหนดบทลงโทษเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในกรณีบุคคลไม่ยอมเสียภาษี โดยไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระจากเดิมที่กำหนดไว้ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ
กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงต่อความเป็นจริงอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไปให้เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม จากเดิมกำหนดให้เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสีย.