หุ้นไทยมีโอกาสไปต่อ วงการเชื่อจีดีพีประเทศไตรมาสแรกดีกว่าที่ภาครัฐคาดการณ์ แถมผลสรุปรายงานประชุมเฟดชี้ชัดยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสนับสนุน แต่ “มูดี้ส์” ชี้เศรษฐกิจไทยยังขาลง เตือนของปลอม การขยายตัวต่ำสุดในภูมิภาค และยังไม่พบการฟื้นตัวที่แท้จริง โบรกฯ เชื่อสัปดาห์นี้รีบาวนด์ต่อ แนะนำกลยุทธ์ช่วงนี้แค่เก็งกำไรเล่นรอบระยะสั้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (11-15 พ.ค.) ว่า ดัชนี SET ฟื้นตัวขึ้นโดยได้อานิสงส์จากหุ้นกลุ่มพลังงาน และแรงซื้อของกองทุนในประเทศ ทำให้ปิดที่ระดับ 1,512.19 จุด เพิ่มขึ้น 0.11% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 18.02% มาอยู่ที่ 34,325.01 ล้านบาท
ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวในสัปดาห์นี้ (18-22 พ.ค.) มองว่า ดัชนีมีแนวต้านที่ 1,520 และ 1,530 จุด ตามลำดับ ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,494 และ 1,460 จุด
โดยปัจจัยที่ต้องติดตามในประเทศ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/58 ของไทย ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB Governing Council) ในวันที่ 20 พ.ค. ที่อาจมีการพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับกรีซ รวมไปถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น เครื่องชี้ที่อยู่อาศัย ดัชนีราคาผู้บริโภค บันทึกการประชุมเฟด และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Mich.) นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการรายงานความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (IFO) ของเยอรมนี ตลอดจนการรายงานดัชนี PMI ในยูโรโซน และจีน ประกอบการลงทุน
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส (มูดี้ส์) ออกมาคาดการณ์ว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะมืดมนที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศยังคงเปราะบาง ขณะที่ความต้องการในภูมิภาคมีความอ่อนแอ โดยการฟื้นตัวของการบริโภค และการลงทุนยังคงเป็นภาพลวงตา ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในวงจรขาลง ซึ่งเริ่มต้นจากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อันส่งผลต่อรายได้ภาคเกษตร และการผลิตภาคเกษตรกรรม การใช้จ่ายผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความต้องการในภูมิภาคยังคงอ่อนแอ เป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมกดดันต่ออุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และฮาร์ดดิส ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญกำลังการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลจากการที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น
ทั้งนี้ มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาสแรกของไทยน่าจะขยายตัว 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่หดตัวลง แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่ไม่สดใสเท่าไรนัก เนื่องจากการบริโภค ศักยภาพในการส่งออก และตัวเลขการใช้จ่ายนั้นอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนแล้ว ถือว่าเศรษฐกิจไทยน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้มีโอกาสรีบาวนด์ต่อเนื่อง หลังดัชนีฯ สามารถยืนเหนือระดับ 1,505 จุด เพราะจะมีการรายงานผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีการประชุมไปเมื่อวันที่ 28-29 เม.ย. ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย จากแนวโน้มเฟดยังเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป ประกอบกับผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ดี บริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มโดนปรับประมาณการกำไรทั้งปีลดลง เพราะสภาวะทางด้านเศรษฐกิจยังคงมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จึงต้องติดตามประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 1/58 ของไทยจะเป็นอย่างไรหลังสภาพัฒน์มีการเปลี่ยนวิธีการคำนวณใหม่ ซึ่งเชื่อว่า GDP จะขยายตัวได้ 3.8% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.4%
จึงประเมินแนวรับดัชนีหลักทรัพย์ไว้ที่ 1,495-1,500 จุด ส่วนแนวต้าน 1,520-1,530 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำเทรดดิ้่งระยะสั้น เลือกหุ้นที่ผลประกอบการไตรมาส 1/58 ออกมาดี และมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง เช่น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE), บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (VNG), บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (MTLS) และบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) (SAWAD)
ด้าน ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประเมินว่า กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นหากราคาน้ำมันไม่ปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเหมือนในช่วงไตรมาส 4 ปี 2557 และไม่มีปัจจัยลบอื่นๆ เข้ามากระทบ เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น รัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีที่ดิน ทำให้เชื่อว่ากำไร บจ.ในไตรมาส 1/58 เป็นจุดต่ำของปี เพราะหากดูภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มค่อยๆ ฟื้นตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (11-15 พ.ค.) ว่า ดัชนี SET ฟื้นตัวขึ้นโดยได้อานิสงส์จากหุ้นกลุ่มพลังงาน และแรงซื้อของกองทุนในประเทศ ทำให้ปิดที่ระดับ 1,512.19 จุด เพิ่มขึ้น 0.11% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 18.02% มาอยู่ที่ 34,325.01 ล้านบาท
ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวในสัปดาห์นี้ (18-22 พ.ค.) มองว่า ดัชนีมีแนวต้านที่ 1,520 และ 1,530 จุด ตามลำดับ ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,494 และ 1,460 จุด
โดยปัจจัยที่ต้องติดตามในประเทศ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/58 ของไทย ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB Governing Council) ในวันที่ 20 พ.ค. ที่อาจมีการพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับกรีซ รวมไปถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น เครื่องชี้ที่อยู่อาศัย ดัชนีราคาผู้บริโภค บันทึกการประชุมเฟด และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Mich.) นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการรายงานความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (IFO) ของเยอรมนี ตลอดจนการรายงานดัชนี PMI ในยูโรโซน และจีน ประกอบการลงทุน
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส (มูดี้ส์) ออกมาคาดการณ์ว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะมืดมนที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศยังคงเปราะบาง ขณะที่ความต้องการในภูมิภาคมีความอ่อนแอ โดยการฟื้นตัวของการบริโภค และการลงทุนยังคงเป็นภาพลวงตา ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในวงจรขาลง ซึ่งเริ่มต้นจากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อันส่งผลต่อรายได้ภาคเกษตร และการผลิตภาคเกษตรกรรม การใช้จ่ายผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความต้องการในภูมิภาคยังคงอ่อนแอ เป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมกดดันต่ออุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และฮาร์ดดิส ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญกำลังการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลจากการที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น
ทั้งนี้ มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาสแรกของไทยน่าจะขยายตัว 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่หดตัวลง แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่ไม่สดใสเท่าไรนัก เนื่องจากการบริโภค ศักยภาพในการส่งออก และตัวเลขการใช้จ่ายนั้นอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนแล้ว ถือว่าเศรษฐกิจไทยน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้มีโอกาสรีบาวนด์ต่อเนื่อง หลังดัชนีฯ สามารถยืนเหนือระดับ 1,505 จุด เพราะจะมีการรายงานผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีการประชุมไปเมื่อวันที่ 28-29 เม.ย. ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย จากแนวโน้มเฟดยังเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป ประกอบกับผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ดี บริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มโดนปรับประมาณการกำไรทั้งปีลดลง เพราะสภาวะทางด้านเศรษฐกิจยังคงมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จึงต้องติดตามประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 1/58 ของไทยจะเป็นอย่างไรหลังสภาพัฒน์มีการเปลี่ยนวิธีการคำนวณใหม่ ซึ่งเชื่อว่า GDP จะขยายตัวได้ 3.8% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.4%
จึงประเมินแนวรับดัชนีหลักทรัพย์ไว้ที่ 1,495-1,500 จุด ส่วนแนวต้าน 1,520-1,530 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำเทรดดิ้่งระยะสั้น เลือกหุ้นที่ผลประกอบการไตรมาส 1/58 ออกมาดี และมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง เช่น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE), บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (VNG), บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (MTLS) และบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) (SAWAD)
ด้าน ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประเมินว่า กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นหากราคาน้ำมันไม่ปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเหมือนในช่วงไตรมาส 4 ปี 2557 และไม่มีปัจจัยลบอื่นๆ เข้ามากระทบ เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น รัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีที่ดิน ทำให้เชื่อว่ากำไร บจ.ในไตรมาส 1/58 เป็นจุดต่ำของปี เพราะหากดูภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มค่อยๆ ฟื้นตัว