ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของเงินบาทรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-20มี.ค.) เงินบาทกลับมาแข็งค่า เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ท่ามกลางแรงกดดันจากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นสัปดาห์ และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ก่อนการประชุม FOMC ของเฟด
อย่างไรก็ตาม เงินบาทกลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ตามแรงขายทำกำไรเงินดอลลาร์ฯ ภายหลังจากเฟดส่งสัญญาณหลังการประชุมว่า จะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้แถลงการณ์หลังการประชุมจะมีการปรับเปลี่ยนไป โดยตัดคำว่า อดทนต่อการเริ่มปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติออกไป เพื่อปูทางสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลายเดือนข้างหน้าก็ตาม
สำหรับในวันศุกร์ (20 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 32.73 เทียบกับระดับ 32.91 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 มี.ค.)
ขณะที่สัปดาห์ถัดไป (23-27 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.60-32.90 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ตลาดรอจับตา คือ ตัวเลขดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ ของหลายๆ ประเทศ และผลการพิจารณารายละเอียดแผนปฎิรูปของกรีซโดยยูโรโซน (ซึ่งจะมีผลต่อการอนุญาตให้กรีซสามารถเริ่มเบิกเงินช่วยเหลือได้) ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดขายบ้านใหม่-บ้านมือสอง ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคม และจีดีพีประจำไตรมาส 4/57 (รอบสุดท้าย) นอกจากนี้ ตลาดในประเทศอาจจับตาสถานการณ์การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เงินบาทกลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ตามแรงขายทำกำไรเงินดอลลาร์ฯ ภายหลังจากเฟดส่งสัญญาณหลังการประชุมว่า จะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้แถลงการณ์หลังการประชุมจะมีการปรับเปลี่ยนไป โดยตัดคำว่า อดทนต่อการเริ่มปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติออกไป เพื่อปูทางสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลายเดือนข้างหน้าก็ตาม
สำหรับในวันศุกร์ (20 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 32.73 เทียบกับระดับ 32.91 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 มี.ค.)
ขณะที่สัปดาห์ถัดไป (23-27 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.60-32.90 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ตลาดรอจับตา คือ ตัวเลขดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ ของหลายๆ ประเทศ และผลการพิจารณารายละเอียดแผนปฎิรูปของกรีซโดยยูโรโซน (ซึ่งจะมีผลต่อการอนุญาตให้กรีซสามารถเริ่มเบิกเงินช่วยเหลือได้) ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดขายบ้านใหม่-บ้านมือสอง ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคม และจีดีพีประจำไตรมาส 4/57 (รอบสุดท้าย) นอกจากนี้ ตลาดในประเทศอาจจับตาสถานการณ์การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยเช่นกัน