ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-20 ก.พ.) เงินบาทอยู่ในกรอบแคบ แต่แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางความหวังเรื่องข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้ของกรีซ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงที่เหลือของสัปดาห์เป็นไปในกรอบที่จำกัด เนื่องจากนักลงทุนยังรอดูผลการเจรจาปัญหาหนี้ของกรีซ ประกอบกับตลาดการเงินในเอเชียหลายแห่งหยุดทำการในช่วงตรุษจีน
สำหรับวานนี้ (20 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ 32.53 เทียบกับระดับ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ก.พ.)
ขณะที่สัปดาห์ถัดไป (23-27 ก.พ.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.50-32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะยังคงอยู่ที่การเจรจาข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้ของกรีซกับยูโรโซน (ซึ่งควรจะได้ข้อสรุปก่อนที่โครงการเงินช่วยเหลือของทรอยก้าจะหมดอายุลงในวันที่ 28 ก.พ.นี้) และถ้อยแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีของประธานเฟด ต่อสภาคองเกรส (24-25 ก.พ.) ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดขายบ้านใหม่-บ้านมือสอง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และจีดีพีประจำไตรมาส 4/57 นอกจากนี้ ยูโรโซนและญี่ปุ่นก็จะมีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน
สำหรับวานนี้ (20 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ 32.53 เทียบกับระดับ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ก.พ.)
ขณะที่สัปดาห์ถัดไป (23-27 ก.พ.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.50-32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะยังคงอยู่ที่การเจรจาข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้ของกรีซกับยูโรโซน (ซึ่งควรจะได้ข้อสรุปก่อนที่โครงการเงินช่วยเหลือของทรอยก้าจะหมดอายุลงในวันที่ 28 ก.พ.นี้) และถ้อยแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีของประธานเฟด ต่อสภาคองเกรส (24-25 ก.พ.) ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดขายบ้านใหม่-บ้านมือสอง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และจีดีพีประจำไตรมาส 4/57 นอกจากนี้ ยูโรโซนและญี่ปุ่นก็จะมีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน