นายจาตุรงค์ จันทรรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาด กอปรกับความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกของปี 2558 ที่ผ่านมาขยายตัวได้ 4.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวจาก 5% ในไตรมาสก่อน โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลง 2.9% ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นภาคการพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อเอสเอ็มอีที่เริ่มกลับมาขยายตัวสูงขึ้นที่ 4.5% ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ 7.6% และสินเชื่อรถยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่องโดยลดลง 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้าง 2.98 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 2.11 หมื่นล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.29% จาก 2.15% ในไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัว
นายจาตุรงค์กล่าวว่า แนวโน้มเอ็นพีแอลไตรมาส 2 ของสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีโอกาสปรับเพิ่มสูงขึ้น
ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก จากภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆทยอยฟื้นตัว และยังไม่น่าลดลงในระยะสั้นแต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เนื่องจากสถาบันการเงินมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,025 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 5.25 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน
“ระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกมีเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อด้อยลงบ้าง แต่ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองและเงินกองทุนในระดับสูง ขณะที่ผลการดำเนินงานยังมีกำไร” นายจาตุรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธปท.มองว่าการขยายตัวสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ เป็นไปตามคาดการณ์ 7% ภายใต้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปี 2558 ที่ 3.8-4% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเป้าการปล่อยสินเชื่อ และมองว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดยมองว่าจะมาจากการเติบโตของสินเชื่อทุกกลุ่มที่คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างน้อย 10% ในทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ที่ยังมีแนวโน้มลดลง ส่วนแนวโน้มสินเชื่อรายใหญ่คาดขยายตัวต่อเนื่อง
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้าง 2.98 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 2.11 หมื่นล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.29% จาก 2.15% ในไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัว
นายจาตุรงค์กล่าวว่า แนวโน้มเอ็นพีแอลไตรมาส 2 ของสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีโอกาสปรับเพิ่มสูงขึ้น
ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก จากภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆทยอยฟื้นตัว และยังไม่น่าลดลงในระยะสั้นแต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เนื่องจากสถาบันการเงินมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,025 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 5.25 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน
“ระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกมีเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อด้อยลงบ้าง แต่ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองและเงินกองทุนในระดับสูง ขณะที่ผลการดำเนินงานยังมีกำไร” นายจาตุรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธปท.มองว่าการขยายตัวสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ เป็นไปตามคาดการณ์ 7% ภายใต้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปี 2558 ที่ 3.8-4% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเป้าการปล่อยสินเชื่อ และมองว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดยมองว่าจะมาจากการเติบโตของสินเชื่อทุกกลุ่มที่คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างน้อย 10% ในทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ที่ยังมีแนวโน้มลดลง ส่วนแนวโน้มสินเชื่อรายใหญ่คาดขยายตัวต่อเนื่อง