นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เชิญผู้ประกอบธุรกิจ สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (นาโนไฟแนนซ์) 5 ราย ที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการจากกระทรวงการคลังแล้ว มาประชุมชี้แจงนโยบาย และแนวทางการกำกับดูแล รวมถึงซักซ้อมความเข้าใจในหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องถือปฏิบัติในการปล่อยกู้ ตลอดจนช่องทางติดต่อประสานงานกับธปท.โดยประเด็นสำคัญที่ต้องการย้ำเตือนคือ ห้ามรับเงินฝากและห้ามทวงหนี้โหด
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตแล้ว ต้องเริ่มดำเนินธุรกิจการปล่อยกู้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุญาต ภายใต้ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท และต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกิน 7 เท่า หรือ คิดเป็นวงเงินที่ปล่อยกู้ได้รวมทุนแล้ว 400 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยกู้ให้แก่บุคคลธรรมดาที่ไม่มีหลักประกัน รายละไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 36% ต่อปี และหากจะปล่อยกู้ต้องแจ้งธปท.ด้วย ส่วนนโยบายการอนุมัติสินเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ประกอบการแต่ละรายเองที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมและมีความยืดหยุ่นสอดล้องกับลักษณะของกลุ่มลูกค้า
“ที่สำคัญในการจัดหาแหล่งเงินทุนนั้น ห้ามผู้ประกอบธุรกิจปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์ รับเงินฝาก หรือจัดหาเงินทุนจากประชาชน ยกเว้นแต่การออกตั๋วเงิน และเสนอขายต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด และออกหุ้นกู้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ที่สำคัญผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำรายงานการปล่อยกู้ จำนวนราย วงเงินที่ปล่อยกู้ การผิดนัดชำระหนี้ หรือรายงานอื่น ๆ ให้ธปท.และกระทรวงการคลังรับทราบภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ ในการปล่อยกู้ ต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค การติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม ห้ามทวงหนี้โหด โดยต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียน การทวงหนี้ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 รวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และครบถ้วน”
สำหรับทั้ง 5 บริษัทดังกล่าวได้แก่ ได้แก่บริษัท เงินสดทันใจ บริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ บริษัท สหไพบูลย์ (2558) และบริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล และระยะต่อไป ธปท.อาจพิจารณาถึงความเหมาะสมในการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติด้วย
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตแล้ว ต้องเริ่มดำเนินธุรกิจการปล่อยกู้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุญาต ภายใต้ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท และต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกิน 7 เท่า หรือ คิดเป็นวงเงินที่ปล่อยกู้ได้รวมทุนแล้ว 400 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยกู้ให้แก่บุคคลธรรมดาที่ไม่มีหลักประกัน รายละไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 36% ต่อปี และหากจะปล่อยกู้ต้องแจ้งธปท.ด้วย ส่วนนโยบายการอนุมัติสินเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ประกอบการแต่ละรายเองที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมและมีความยืดหยุ่นสอดล้องกับลักษณะของกลุ่มลูกค้า
“ที่สำคัญในการจัดหาแหล่งเงินทุนนั้น ห้ามผู้ประกอบธุรกิจปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์ รับเงินฝาก หรือจัดหาเงินทุนจากประชาชน ยกเว้นแต่การออกตั๋วเงิน และเสนอขายต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด และออกหุ้นกู้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ที่สำคัญผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำรายงานการปล่อยกู้ จำนวนราย วงเงินที่ปล่อยกู้ การผิดนัดชำระหนี้ หรือรายงานอื่น ๆ ให้ธปท.และกระทรวงการคลังรับทราบภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ ในการปล่อยกู้ ต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค การติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม ห้ามทวงหนี้โหด โดยต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียน การทวงหนี้ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 รวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และครบถ้วน”
สำหรับทั้ง 5 บริษัทดังกล่าวได้แก่ ได้แก่บริษัท เงินสดทันใจ บริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ บริษัท สหไพบูลย์ (2558) และบริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล และระยะต่อไป ธปท.อาจพิจารณาถึงความเหมาะสมในการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติด้วย