นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้มีการออกหนังสืออนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance) ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตแล้วทั้งสิ้น 5 ราย ได้แก่ บริษัท เงินสดทันใจ จำกัด บริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล จำกัด บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) บริษัท สหไพบูลย์ (2558) จำกัด และบริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) ในวันนี้ (13 พ.ค.) ธปท. จึงได้เชิญผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมาเพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางการกำกับดูแล ซึ่งการประชุมร่วมกัน ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะซักซ้อมความเข้าใจในหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องถือปฏิบัติ ตลอดจนช่องทางในการติดต่อประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
1.การเปิดดำเนินการ : ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดดำเนินธุรกิจภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาต และแจ้งการเริ่มประกอบธุรกิจให้ ธปท. ทราบก่อนวันเปิดดำเนินการ และต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกิน 7 เท่าตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ
2.การให้สินเชื่อแก่ผู้ที่สนใจ : ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาที่ไม่มีหลักประกันเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพโดยกระบวนการพิจารณาให้สินเชื่อ จะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะของกลุ่มลูกค้าตามนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย
3.การจัดหาเงินทุน : ห้ามผู้ประกอบธุรกิจรับเงินฝากหรือจัดหาเงินทุนจากประชาชน เว้นแต่การออกตั๋วเงิน และเสนอขายต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement) และออกหุ้นกู้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
4.การจัดทำรายงานส่งทางการ : ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทารายงานยอดสินเชื่อคงค้างเป็นรายเดือน นับแต่เดือนที่เปิดดาเนินการ ส่งให้ ธปท. และกระทรวงการคลังทราบภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป
5.ประเด็นอื่นๆ : ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียน การติดตามทวงถามหนี้ที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ที่ต้องเข้าใจง่าย ชัดเจน ครบถ้วน
นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ชี้แจงผู้ประกอบธุรกิจว่า เมื่อดำเนินธุรกิจไประยะหนึ่งแล้ว ธปท. อาจพิจารณาถึงความเหมาะสมในการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จากัด (NCB) ต่อไป
1.การเปิดดำเนินการ : ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดดำเนินธุรกิจภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาต และแจ้งการเริ่มประกอบธุรกิจให้ ธปท. ทราบก่อนวันเปิดดำเนินการ และต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกิน 7 เท่าตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ
2.การให้สินเชื่อแก่ผู้ที่สนใจ : ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาที่ไม่มีหลักประกันเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพโดยกระบวนการพิจารณาให้สินเชื่อ จะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะของกลุ่มลูกค้าตามนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย
3.การจัดหาเงินทุน : ห้ามผู้ประกอบธุรกิจรับเงินฝากหรือจัดหาเงินทุนจากประชาชน เว้นแต่การออกตั๋วเงิน และเสนอขายต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement) และออกหุ้นกู้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
4.การจัดทำรายงานส่งทางการ : ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทารายงานยอดสินเชื่อคงค้างเป็นรายเดือน นับแต่เดือนที่เปิดดาเนินการ ส่งให้ ธปท. และกระทรวงการคลังทราบภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป
5.ประเด็นอื่นๆ : ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียน การติดตามทวงถามหนี้ที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ที่ต้องเข้าใจง่าย ชัดเจน ครบถ้วน
นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ชี้แจงผู้ประกอบธุรกิจว่า เมื่อดำเนินธุรกิจไประยะหนึ่งแล้ว ธปท. อาจพิจารณาถึงความเหมาะสมในการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จากัด (NCB) ต่อไป