ร.อ. น.พ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับสูงจนถูกมองว่า เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในปีนี้ โดยเฉพาะเมื่อตัวเลขหนี้ครัวเรือนต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ล่าสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 87 ของจีดีพีว่า นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยืนยันว่า การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนของไทยเริ่มชะลอลงอย่างชัดเจนตั้งแต่กลางปีที่แล้ว และยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขณะนี้
ทั้งนี้ล่าสุดอัตราเพิ่มของหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 จากที่เคยมีอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ 18 ในปี 2555 และยังเป็นการเพิ่มในอัตราที่ต่ำกว่าบางประเทศ เช่น มาเลเซีย จึงถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีการใช้หนี้คืนบางส่วนแล้ว เนื่องจากมีรายได้เพียงพอจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการที่รัฐบาลมีการให้ใบอนุญาตจัดตั้งนาโนไฟแนนซ์กับผู้ประกอบการแล้ว 6 ราย (นิติบุคคลที่สามารถปล่อยกู้ให้ประชาชนได้ในวงเงินไม่สูงมาก หรือ Nano Finance) อีกทั้งจะเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการอีกหลายรายในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะมีส่วนทำให้หนี้ครัวเรือนที่เป็นหนี้นอกระบบที่มีภาระดอกเบี้ยสูงได้เข้ามาสู่ระบบนาโนไฟแนนซ์ ที่ภาระดอกเบี้ยน้อยกว่า รวมถึงกระทรวงการคลังได้ให้ธนาคารรัฐดูแลลูกหนี้ครัวเรือนที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้น้อยลง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยืนยันว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนกำลังส่งสัญญาณคลี่คลายและไม่น่ากังวล ซึ่งปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ในขณะนี้ยังไม่เพิ่มสูง โดยเชื่อมั่นว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนจะค่อยๆคลี่คลายลงเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะในปีนี้ ที่คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นชัดเจนจากปีที่แล้ว(2557)ที่มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7
ทั้งนี้ล่าสุดอัตราเพิ่มของหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 จากที่เคยมีอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ 18 ในปี 2555 และยังเป็นการเพิ่มในอัตราที่ต่ำกว่าบางประเทศ เช่น มาเลเซีย จึงถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีการใช้หนี้คืนบางส่วนแล้ว เนื่องจากมีรายได้เพียงพอจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการที่รัฐบาลมีการให้ใบอนุญาตจัดตั้งนาโนไฟแนนซ์กับผู้ประกอบการแล้ว 6 ราย (นิติบุคคลที่สามารถปล่อยกู้ให้ประชาชนได้ในวงเงินไม่สูงมาก หรือ Nano Finance) อีกทั้งจะเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการอีกหลายรายในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะมีส่วนทำให้หนี้ครัวเรือนที่เป็นหนี้นอกระบบที่มีภาระดอกเบี้ยสูงได้เข้ามาสู่ระบบนาโนไฟแนนซ์ ที่ภาระดอกเบี้ยน้อยกว่า รวมถึงกระทรวงการคลังได้ให้ธนาคารรัฐดูแลลูกหนี้ครัวเรือนที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้น้อยลง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยืนยันว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนกำลังส่งสัญญาณคลี่คลายและไม่น่ากังวล ซึ่งปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ในขณะนี้ยังไม่เพิ่มสูง โดยเชื่อมั่นว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนจะค่อยๆคลี่คลายลงเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะในปีนี้ ที่คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นชัดเจนจากปีที่แล้ว(2557)ที่มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7