ที่รัฐสภา พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือ หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ได้ยื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ และ เสนอกฎหมายปฏิรูปคณะสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนา
โดยเพจเฟซบุ๊ก'หลวงปู่พุทธะอิสระ'โพสต์ข้อกรณีหลวงปู่พุทธะอิสระยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ และแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๑ มาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๗ เนื้อหาระบุดังนี้
'วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๘ เป็นอีกวันที่ฉันต้องออกไปทำหน้าที่ข้ารองฉลองพระบาทอันซื่อสัตย์ ๙ โมงเศษเดินทางไปรัฐสภาเพื่อมอบหนังสือคัดค้านให้แก่คุณบวรศักดิ์และคุณไพบูลย์ นิติตะวันเพื่อคัดค้านรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ และแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๑ มาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๗ สาระสำคัญในการแก้ไขคือมาตรา ๑๕๗ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๘ ต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ มาตรา ๑๕๑ มีสาระสำคัญที่ ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบโดยที่คะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบนั้นมีไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง หากรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบก็ให้ตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากันตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกัน แล้วให้รายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่ได้พิจารณาแล้วต่อรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๖ ถ้ารัฐสภามีมติไม่เห็นชอบให้ร่างนั้นตกไป ซึ่งในมาตรา ๑๕๖ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในยี่สิบวันหลังนับแต่วันที่ได้รับร่างจากรัฐสภาเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้เป็นกฎหมายได้ ซึ่งในมาตรา ๑๕๗ ก็อธิบายสาระสำคัญเพิ่มว่า
“ร่างพระราชบัญญัติใดที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภาหรือพ้นเก้าสิบวันไปแล้วมิได้พระราชทานคืน รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ หากมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว”
ทั้งสามมาตรานี้มีความเกี่ยวโยงกันซึ่งฉันไม่เห็นด้วยที่จะตราไว้แบบนี้ เพราะแสดงถึงอำนาจของสภาผู้แทนราษร รัฐสภา รวมถึงนายกรัฐมนตรีว่ามีอำนาจเหนือฟ้าและเป็นการผิดไปจากจารีตประเพณีการปกครองของชาติที่ระบุว่ามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เหตุเพราะในมาตรา ๑๕๗ ระบุไว้ว่าเมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงพระราชทานคืนร่างพระราชบัญญัตินั้นมาภายในสามสิบวันหลังการพิจารณาใหม่อีกครั้ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นนำประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายและยังระบุว่าเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วอีกด้วย แม้จะมีผู้พยายามอธิบายยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยว่าเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนก็ตามแต่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ที่ประชาชนเลือกและมอบอำนาจให้มาใช้ในทางอ้อมมิใช่มีอำนาจมาแต่เดิม ด้วยเพราะแผ่นดินนี้เป็นของประชาชนและพระมหากษัตริย์ จึงทรงมีเอกสิทธิ์ที่จะใช้พระราชอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม และทรงมีอำนาจเต็มในการที่จะทรงยับยั้งร่างกฎหมายใดๆ ก็ได้ที่ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน อีกทั้งการที่ไม่ทรงมีพระราชวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติใดนั้น แสดงว่าพระราชบัญญัตินั้นไม่เหมาะกับจารีตประเพณีในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบพวกชาติตะวันตกอย่างที่คิดกัน เหตุเพราะประชาธิปไตยแบบตะวันตกบางประเทศมิได้มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังจารีตประเพณีที่ไทยใช้ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ประชาธิปไตยที่คนไทยต้องการคือประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ซึ่งก็เป็นไปตามจารีตประเพณีการปกครองของชาติที่มีมาแต่เดิม แต่หากรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะลุแก่อำนาจ แสดงพฤติกรรมก้าวล่วงพระราชอำนาจโดยมิได้ฟังเสียงทักท้วงจากพระมหากษัตริย์ แถมยังบังอาจประกาศใช้กฎหมายนั้นๆ ในพระปรมาภิไธย โดยที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงยินยอม เช่นนี้จึงเป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง ผิดทั้งหลักคารวะธรรม นิติรัฐ นิติธรรม รัฐธรรมนูญมาตรานี้เปิดช่องให้นักการเมืองใช้อำนาจข่มเหงพระมหากษัตริย์ เช่นนี้ ประชาชนคนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะยินยอมได้กระนั้นหรือ ที่พวกเราออกมาสู้เพราะมีคนข่มเหงรังแก จ้องจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ขืนปล่อยให้กฎหมายมาตรานี้มีกำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ วันข้างหน้าใครจะรับประกันได้ว่าจะไม่มีนักการเมืองมาออกกฎหมายริดรอนพระราชอำนาจ ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
วันนี้ฉันจึงมาค้านและขอวิงวอนให้ถอดร่าง พรบ.มาตรานี้ออกไป ผู้ที่กรุณามารับหนังสือคือประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ คุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคุณไพบูลย์ นิติตะวัน หลังจากมีการยื่นหนังสือคัดค้านแล้ว คุณบวรศักดิ์ได้กรุณาอธิบายความให้ฉันฟัง ซึ่งมีการอัดเป็นเทปเอาไว้ สั่งให้ทีมงานถอดเทปแล้ว คราวหน้าจะนำมาเขียนให้ได้รับรู้ทั่วกันว่าเขาตอบข้อคัดค้านของประชาชนคนรักสถาบันอย่างไร และฉันโต้ตอบพูดคุยกับคุณบวรศักดิ์และคุณไพบูลย์ นิติตะวันอย่างไร
โดยเพจเฟซบุ๊ก'หลวงปู่พุทธะอิสระ'โพสต์ข้อกรณีหลวงปู่พุทธะอิสระยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ และแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๑ มาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๗ เนื้อหาระบุดังนี้
'วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๘ เป็นอีกวันที่ฉันต้องออกไปทำหน้าที่ข้ารองฉลองพระบาทอันซื่อสัตย์ ๙ โมงเศษเดินทางไปรัฐสภาเพื่อมอบหนังสือคัดค้านให้แก่คุณบวรศักดิ์และคุณไพบูลย์ นิติตะวันเพื่อคัดค้านรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ และแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๑ มาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๗ สาระสำคัญในการแก้ไขคือมาตรา ๑๕๗ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๘ ต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ มาตรา ๑๕๑ มีสาระสำคัญที่ ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบโดยที่คะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบนั้นมีไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง หากรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบก็ให้ตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากันตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกัน แล้วให้รายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่ได้พิจารณาแล้วต่อรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๖ ถ้ารัฐสภามีมติไม่เห็นชอบให้ร่างนั้นตกไป ซึ่งในมาตรา ๑๕๖ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในยี่สิบวันหลังนับแต่วันที่ได้รับร่างจากรัฐสภาเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้เป็นกฎหมายได้ ซึ่งในมาตรา ๑๕๗ ก็อธิบายสาระสำคัญเพิ่มว่า
“ร่างพระราชบัญญัติใดที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภาหรือพ้นเก้าสิบวันไปแล้วมิได้พระราชทานคืน รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ หากมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว”
ทั้งสามมาตรานี้มีความเกี่ยวโยงกันซึ่งฉันไม่เห็นด้วยที่จะตราไว้แบบนี้ เพราะแสดงถึงอำนาจของสภาผู้แทนราษร รัฐสภา รวมถึงนายกรัฐมนตรีว่ามีอำนาจเหนือฟ้าและเป็นการผิดไปจากจารีตประเพณีการปกครองของชาติที่ระบุว่ามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เหตุเพราะในมาตรา ๑๕๗ ระบุไว้ว่าเมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงพระราชทานคืนร่างพระราชบัญญัตินั้นมาภายในสามสิบวันหลังการพิจารณาใหม่อีกครั้ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นนำประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายและยังระบุว่าเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วอีกด้วย แม้จะมีผู้พยายามอธิบายยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยว่าเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนก็ตามแต่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ที่ประชาชนเลือกและมอบอำนาจให้มาใช้ในทางอ้อมมิใช่มีอำนาจมาแต่เดิม ด้วยเพราะแผ่นดินนี้เป็นของประชาชนและพระมหากษัตริย์ จึงทรงมีเอกสิทธิ์ที่จะใช้พระราชอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม และทรงมีอำนาจเต็มในการที่จะทรงยับยั้งร่างกฎหมายใดๆ ก็ได้ที่ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน อีกทั้งการที่ไม่ทรงมีพระราชวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติใดนั้น แสดงว่าพระราชบัญญัตินั้นไม่เหมาะกับจารีตประเพณีในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบพวกชาติตะวันตกอย่างที่คิดกัน เหตุเพราะประชาธิปไตยแบบตะวันตกบางประเทศมิได้มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังจารีตประเพณีที่ไทยใช้ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ประชาธิปไตยที่คนไทยต้องการคือประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ซึ่งก็เป็นไปตามจารีตประเพณีการปกครองของชาติที่มีมาแต่เดิม แต่หากรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะลุแก่อำนาจ แสดงพฤติกรรมก้าวล่วงพระราชอำนาจโดยมิได้ฟังเสียงทักท้วงจากพระมหากษัตริย์ แถมยังบังอาจประกาศใช้กฎหมายนั้นๆ ในพระปรมาภิไธย โดยที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงยินยอม เช่นนี้จึงเป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง ผิดทั้งหลักคารวะธรรม นิติรัฐ นิติธรรม รัฐธรรมนูญมาตรานี้เปิดช่องให้นักการเมืองใช้อำนาจข่มเหงพระมหากษัตริย์ เช่นนี้ ประชาชนคนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะยินยอมได้กระนั้นหรือ ที่พวกเราออกมาสู้เพราะมีคนข่มเหงรังแก จ้องจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ขืนปล่อยให้กฎหมายมาตรานี้มีกำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ วันข้างหน้าใครจะรับประกันได้ว่าจะไม่มีนักการเมืองมาออกกฎหมายริดรอนพระราชอำนาจ ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
วันนี้ฉันจึงมาค้านและขอวิงวอนให้ถอดร่าง พรบ.มาตรานี้ออกไป ผู้ที่กรุณามารับหนังสือคือประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ คุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคุณไพบูลย์ นิติตะวัน หลังจากมีการยื่นหนังสือคัดค้านแล้ว คุณบวรศักดิ์ได้กรุณาอธิบายความให้ฉันฟัง ซึ่งมีการอัดเป็นเทปเอาไว้ สั่งให้ทีมงานถอดเทปแล้ว คราวหน้าจะนำมาเขียนให้ได้รับรู้ทั่วกันว่าเขาตอบข้อคัดค้านของประชาชนคนรักสถาบันอย่างไร และฉันโต้ตอบพูดคุยกับคุณบวรศักดิ์และคุณไพบูลย์ นิติตะวันอย่างไร