นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวถึงการดำเนินการสร้างความเข้าใจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมการอบรมเสวนาโครงการ "เครือข่ายปิโตรเลียม" ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 ที่จังหวัดสุโขทัย ว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้จัดกิจกรรมขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในปี 2558 กำหนดจัดกิจกรรมกับเครือข่าย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย มุกดาหาร และจังหวัดชุมพร เพื่อให้ทุกฝ่ายได้คำนึงถึงความมั่นคงด้านพลังงาน เนื่องจากความต้องการในใช้พลังงานของประเทศไทยมีเพิ่มสูงขึ้น จึงต้องมีการสำรวจและจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม การใช้พลังงานทั้งที่จัดหาได้และนำเข้าจากต่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
ทั้งนี้ ต้องมีการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอและยั่งยืน สำหรับก๊าซธรรมชาติ ถ้าไม่ทำอะไรเลย ไม่มีการสำรวจเพิ่ม จะใช้ได้อีก 7 ปี ไม่ได้หมายความว่าจะหมด แต่ต้องมีการสำรวจและพัฒนาเพิ่มหากไม่มีการพัฒนาเพิ่มก็จะใช้ได้อีก 7 ปี และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ทั้ง 3 อำเภอ มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษัทที่ได้ทำการสำรวจต้องผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อน จึงจะสามารถทำการขุดเจาะปิโตรเลียมในพื้นที่ได้
ทั้งนี้ ต้องมีการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอและยั่งยืน สำหรับก๊าซธรรมชาติ ถ้าไม่ทำอะไรเลย ไม่มีการสำรวจเพิ่ม จะใช้ได้อีก 7 ปี ไม่ได้หมายความว่าจะหมด แต่ต้องมีการสำรวจและพัฒนาเพิ่มหากไม่มีการพัฒนาเพิ่มก็จะใช้ได้อีก 7 ปี และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ทั้ง 3 อำเภอ มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษัทที่ได้ทำการสำรวจต้องผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อน จึงจะสามารถทำการขุดเจาะปิโตรเลียมในพื้นที่ได้