นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปการเมือง และสภาปฏิรูปการเมือง หรือ สปช. กล่าวก่อนการประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมืองประชุมที่รัฐสภา เพื่อสรุปประเด็นเนื้อหาการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญอย่างละเอียด ก่อนเข้าร่วมประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติก่อนอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 20-26 เมษายนนี้ว่า ในวันนี้(19 เม.ย.)จะมีการสรุปแนวทางการอภิปรายให้ความเห็นในที่ประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยได้รวบรวมในบางประเด็นไว้แล้ว แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการอภิปรายของ สปช. จึงต้องมีการปรับใหม่ซึ่งจากเดิม วิปสปช. ได้กำหนดให้ กมธ.ทุกคณะ อภิปรายคณะละ 2ชั่วโมง และตัวแทนกรรมาธิการไม่เกิน 5 คน ในการร่วมอภิปรายคนละ 15 นาที โดยเปลี่ยนมาให้ประธานของแต่ละคณะอภิปรายได้คนละ ครึ่งชั่วโมง และให้สมาชิกอภิปรายคนละ 15-18 นาที
นายสมบัติ กล่าวว่า เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะคล้ายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 โดยเป็นระบบรัฐสภา และนำหลักแบ่งแยกอำนาจมาใช้ คือ กำหนดให้ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ถ้าเป็นต้องแยก ส่วนเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม อาจจะทำให้มีรัฐธรรมนูญแบบ 2540 จึงให้มีการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมเพื่อทำให้มีรัฐบาลที่ไม่เข้มแข็งเกินไป และเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งดูจากรัฐบาลเยอรมันนี ซึ่งไม่มีปัญหา เนื่องจากมีระบบมาตรฐานสูง และคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในด้านรัฐบาลผสมมาแล้ว เนื่องจากรัฐบาลก่อน รัฐธรรมนูญ2540 ไม่เคยอยู่ครบวาระ และจากที่ตนได้สำรวจมาพบว่าไม่เคยมีประเทศใดที่พัฒนาประเทศประสบความสำเร็จจากรัฐบาลผสมเลย ซึ่งของไทยที่ผ่านมาก็มีการฮั่วกัน ทำให้บุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
นอกจากนี้ การนำระบบแบ่งแยกอำนาจมาใช้ ซึ่งห้ามนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรี และ ส.ส.ในเวลาเดียวกัน โดยกำหนดไว้ว่าถ้าจะเสนอกฎหมายการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ แสดงว่าให้เห็นว่าบทบาทของ ส.ส.มีน้อยมาก ซึ่งหากมีการแบ่งแยกอำนาจควรให้ส.ส.มีอำนาจพิจารณากฎหมายได้ทุกประเภท และหากฝ่ายบริหารไม่เห็นด้วยก็ให้อำนาจยับยั้ง เป็นต้น ส่วนประเด็นมาตราตรา 182 ที่ระบุว่า ให้รัฐบาลเสนอเข้าสภาฯ ได้นั้น และถ้ารัฐบาลแจ้งว่าเป็นนโยบายสำคัญ ฝ่ายค้านจะต้องยืนอภิปรายไม่ไว้วางใจภายใน 48ชั่วโมง ถ้าไม่ยื่นแสดงว่าที่ประชุมเห็นชอบ เป็นต้น
สำหรับกรณีของฝ่ายที่เห็นแตกต่างที่มีทั้งเสียงของกรรมาธิการและประชาชน จะมีความเชื่อมั่นมากน้อยแค่ไหนว่าทาง กมธ.ยกร่างจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม คงจะคาดหมายตอนนี้ไม่ได้ เพราะเท่าที่มีการประชุมหรือสัมมนาไป และมีการแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น ส.ว.เดิมจะให้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งก็ได้เปลี่ยนเป็นเลือกแบบโดยตรงจังหวัดละ 1 คน บางประเด็นก็มีการปรับเปลี่ยน เชื่อว่าจะทาง กมธ.ฟังแล้วถ้ามีเหตุมีผลก็คงนำไปพิจารณา
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จะมีการประชุมในเรื่องที่เป็นแนวทางในการอภิปราย เนื่องจากทาง สปช.ได้กำหนดให้สมาชิกอภิปรายแบบอิสระได้นั้น จะมีการประชุมแนวทางที่ได้หารือร่วมไว้อีกครั้ง
นายสมบัติ กล่าวว่า เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะคล้ายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 โดยเป็นระบบรัฐสภา และนำหลักแบ่งแยกอำนาจมาใช้ คือ กำหนดให้ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ถ้าเป็นต้องแยก ส่วนเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม อาจจะทำให้มีรัฐธรรมนูญแบบ 2540 จึงให้มีการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมเพื่อทำให้มีรัฐบาลที่ไม่เข้มแข็งเกินไป และเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งดูจากรัฐบาลเยอรมันนี ซึ่งไม่มีปัญหา เนื่องจากมีระบบมาตรฐานสูง และคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในด้านรัฐบาลผสมมาแล้ว เนื่องจากรัฐบาลก่อน รัฐธรรมนูญ2540 ไม่เคยอยู่ครบวาระ และจากที่ตนได้สำรวจมาพบว่าไม่เคยมีประเทศใดที่พัฒนาประเทศประสบความสำเร็จจากรัฐบาลผสมเลย ซึ่งของไทยที่ผ่านมาก็มีการฮั่วกัน ทำให้บุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
นอกจากนี้ การนำระบบแบ่งแยกอำนาจมาใช้ ซึ่งห้ามนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรี และ ส.ส.ในเวลาเดียวกัน โดยกำหนดไว้ว่าถ้าจะเสนอกฎหมายการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ แสดงว่าให้เห็นว่าบทบาทของ ส.ส.มีน้อยมาก ซึ่งหากมีการแบ่งแยกอำนาจควรให้ส.ส.มีอำนาจพิจารณากฎหมายได้ทุกประเภท และหากฝ่ายบริหารไม่เห็นด้วยก็ให้อำนาจยับยั้ง เป็นต้น ส่วนประเด็นมาตราตรา 182 ที่ระบุว่า ให้รัฐบาลเสนอเข้าสภาฯ ได้นั้น และถ้ารัฐบาลแจ้งว่าเป็นนโยบายสำคัญ ฝ่ายค้านจะต้องยืนอภิปรายไม่ไว้วางใจภายใน 48ชั่วโมง ถ้าไม่ยื่นแสดงว่าที่ประชุมเห็นชอบ เป็นต้น
สำหรับกรณีของฝ่ายที่เห็นแตกต่างที่มีทั้งเสียงของกรรมาธิการและประชาชน จะมีความเชื่อมั่นมากน้อยแค่ไหนว่าทาง กมธ.ยกร่างจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม คงจะคาดหมายตอนนี้ไม่ได้ เพราะเท่าที่มีการประชุมหรือสัมมนาไป และมีการแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น ส.ว.เดิมจะให้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งก็ได้เปลี่ยนเป็นเลือกแบบโดยตรงจังหวัดละ 1 คน บางประเด็นก็มีการปรับเปลี่ยน เชื่อว่าจะทาง กมธ.ฟังแล้วถ้ามีเหตุมีผลก็คงนำไปพิจารณา
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จะมีการประชุมในเรื่องที่เป็นแนวทางในการอภิปราย เนื่องจากทาง สปช.ได้กำหนดให้สมาชิกอภิปรายแบบอิสระได้นั้น จะมีการประชุมแนวทางที่ได้หารือร่วมไว้อีกครั้ง