นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระหว่างวันที่ 20 - 26 เมษายนนี้ว่า หลังจากได้รับร่างแรกของรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 17 เมษายนนี้ ทาง กมธ.ปฏิรูปการเมือง จะมีการนัดประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 19 เมษายน เพื่อมาศึกษารายละเอียด และซักซ้อมความพร้อมในการอภิปรายเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของระบบการเมือง องค์กรอิสระ การปรองดอง รวมทั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ โดยเบื้องต้นทาง กมธ.ปฏิรูปการเมือง ได้มอบหมายให้ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธาน กมธ.ปฏิรูปการเมือง ทำหน้าที่อภิปราย และนำเสนอภาพรวมของโครงสร้างการเมืองทั้งหมด
สำหรับข้อเสนอที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 77 คน จังหวัดละ 1 คน แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องให้คณะกรรมการสรรหามาก่อนนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าหาก กมธ.ยกร่างฯ ตั้งใจที่จะเปิดกว้างให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งแล้ว ก็ไม่ควรจะตัดสิทธิหากว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญครบถ้วน ควรมีสิทธิลงสมัคร ส.ว.การกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา เพื่อมาตัดสิทธิผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนนั้น ไม่น่าจะถูกต้องและเหมาะสม
ส่วนประเด็นที่มานายกรัฐมนตรี มติของ กมธ.ปฏิรูปการเมือง ได้เปิดช่องไว้ว่า หากภาวะบ้านเมืองเกิดทางตัน วิกฤตการณ์ หรือนายกรัฐมนตรีไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ ควรเปิดช่องไว้ แต่สิ่งที่ กมธ.ยกร่างฯ นำเสนอมานั้นไม่ได้มีการพูดถึงเหตุการณ์วิกฤตเลย เพียงแต่เปิดช่องไว้เท่านั้น ดังนั้นประเด็นนี้ก็ต้องพิจารณากัน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการอภิปรายตลอดทั้ง 7 วัน จะเป็นไปด้วยความราบรื่น แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างก็เป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
สำหรับข้อเสนอที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 77 คน จังหวัดละ 1 คน แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องให้คณะกรรมการสรรหามาก่อนนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าหาก กมธ.ยกร่างฯ ตั้งใจที่จะเปิดกว้างให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งแล้ว ก็ไม่ควรจะตัดสิทธิหากว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญครบถ้วน ควรมีสิทธิลงสมัคร ส.ว.การกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา เพื่อมาตัดสิทธิผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนนั้น ไม่น่าจะถูกต้องและเหมาะสม
ส่วนประเด็นที่มานายกรัฐมนตรี มติของ กมธ.ปฏิรูปการเมือง ได้เปิดช่องไว้ว่า หากภาวะบ้านเมืองเกิดทางตัน วิกฤตการณ์ หรือนายกรัฐมนตรีไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ ควรเปิดช่องไว้ แต่สิ่งที่ กมธ.ยกร่างฯ นำเสนอมานั้นไม่ได้มีการพูดถึงเหตุการณ์วิกฤตเลย เพียงแต่เปิดช่องไว้เท่านั้น ดังนั้นประเด็นนี้ก็ต้องพิจารณากัน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการอภิปรายตลอดทั้ง 7 วัน จะเป็นไปด้วยความราบรื่น แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างก็เป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก