นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต สส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะบุตรชายของนางภคินีสุวรรณภักดี อดีตผู้บริหารธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าวหลังพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ยืนยันว่า กรณีที่ ปปง.ยึดทรัพย์นางภคินีและพวก จำนวน 22 รายการ ประกอบด้วย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพฯและ จ. ฉะเชิงเทรา มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 มาตรา 49 วรรค 3 นั้น เป็นการทำงานไปตามขั้นตอนกฎหมายและพยานหลักฐานว่า ทรัพย์สินดังกล่าว ส่วนใหญ่มารดาของตนได้โอนเป็นชื่อตนในปี 2546 โดยขณะนั้นมีการลดค่าธรรมเนียมการโอนและทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งชัดเจนว่า ต้องการเล่นงานตน ไม่ใช่มารดา
สำหรับการปล่อยสินเชื่อในขณะนั้น เป็นมติคณะกรรมการบริหารธนาคารมหานคร อนุมัติสินเชื่อ แต่ลูกค้าไม่คืน มารดาตนเป็นเพียงแค่รองกรรมการผู้จัดการ แต่คนที่ปล่อยสินเชื่อคือคณะกรรมการบริหารฯ ไม่ใช่มารดาตนเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อแล้วกลับเข้ากระเป๋าแม่ตน อย่างนั้นถึงจะเรียกว่า ไอ้ขี้โกง แต่กรณีนี้ลูกค้าเกิดหนี้เสียต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่การฟอกเงินอย่างแน่นอน และเรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สิ้นสุดแล้วในปี 2548 เจ้าหน้าที่ ปปง.ยืนยันว่า เส้นทางการเงินไม่มีการโอนจากธนาคารมหานครและลูกค้ามาที่มารดาตน รวมถึงยังมีคำให้การของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ระบุว่า ไม่มีการโอนเงินกลับไปที่ผู้บริหารแต่อย่างใด
นายอรรถวิชช์กล่าวต่อว่า ตนขอตั้งคำถามกับพ.ต.อ.สีหนาทว่า 1.ไม่มีเงินสกปรกเข้ามาใช้กฎหมายฟอกเงินได้หรือไม่ 2.มีการฟ้องชดเชยค่าเสียหายเพื่อคืนผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้กลับจะใช้กฎหมายฟอกเงิน ตกลงจะดำเนินการแบบไหน 3.ถ้าใช้มาตรฐานนี้จะทำอย่างไรกับบริษัทไฟแนนซ์ที่ปิดตัวลงในปี 2540 และธนาคารที่มีหนี้เน่า อย่างธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะดำเนินคดีเหมือนกรณีมารดาตนหรือไม่ 4.คนที่ถูกไล่ออกจากราชการเพราะใช้อำนาจไล่บี้ฝ่ายตรงข้ามรับใช้การเมือง แต่ได้รับอานิสงส์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินฯมีความชอบธรรมหรือไม่ในการใช้กฎหมายกลั่นแกล้งคนอื่น และ 5.กรณีดังกล่าวอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในเดือนมกราคม 2557 แต่กลับมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาอีก คณะกรรมการชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเข้าไปทราบข้อเท็จจริงนี้หรือไม่ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ เนื่องจากป.ป.ง.มีกรอบเวลาพิจารณาเพียง 30 วัน หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ขณะนี้ล่วงเลยเวลามากว่า 1 ปีแล้ว
“ประเด็นนี้พ.ต.อ.สีหนาท ตั้งใจมีเรื่องกับผม ไม่ใช่แม่ผม ไม่เกี่ยวกับการเมืองเพราะผมตรวจสอบท่านจึงเล่นงานผม เนื่องจากเป็นกรรมาธิการเกี่ยวกับกฎหมาย ป.ป.ง.ได้คัดค้านกฎหมายที่ป.ป.ง.เสนอเข้าสภา เนื่องจากเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชน อีกทั้ง ยังทักท้วงการต่ออายุตัวเองจาก 4 ปี เป็น 6 ปี ด้วย เพราะไม่ถูกต้อง แต่เรื่องนี้ก็ผ่านการพิจารณาของสนช.ไปแล้ว ถามว่าคนที่เคยใช้อำนาจแบบผิดกฎหมายในการตรวจสอบเส้นทางการเงินแม้กระทั่งแม่ถ้วน หลีกภัย จนถูกออกจากราชการก่อนจะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน งานนี้ผมต่อสู้กับข้าราชการแบบท่านเหมือนกับที่สู้กับระบอบทักษิณ” นายอรรถวิชช์ กล่าว
นายอรรถวิชช์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลาและหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เป็นทนายความดำเนินคดีกับพ.ต.อ.สีหนาท ภายในเดือนเมษายนนี้ ข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แต่ในส่วนของคณะกรรมการ ป.ป.ง.ขอรอดูว่า รับทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้หรือไม่ จากนั้นค่อยพิจารณาว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายหรือไม่ และหลังจากนี้จะปรับเฟซบุ๊ค’อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ปชป.’ เพื่อให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายฟอกเงิน หากใครมีปัญหา ตนพร้อมที่จะให้คำตอบสำหรับคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้กฎหมายฟอกเงิน
ด้านน.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ ปปง. ได้มีมติออกมาเช่นนี้นั้น อาจจะทำให้สังคมครหาได้ว่าการทำงานของปปง.นั้นมี 2 มาตรฐาน เนื่องจากเทียบอีกคดีหนึ่งนั้นคือคดีที่เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ปปง.ซึ่งมีหน้าที่และมีอำนาจในตรวจสอบเส้นทางการเงินในโครงการนี้กลับไม่มีการแถลงอะไรออกมาผ่านสื่อเลย เมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ขณะนี้ดำเนินการจนจะเสร็จสิ้น และในบางคดีนั้นขณะนี้ก็ไปอยู่ที่ศาลแล้ว
นพ.วรงค์กล่าวต่อว่าสำหรับรายละเอียดของคดีที่เกี่ยวกับนางภคินีนั้น โดยส่วนตัวแล้วคนไม่ทราบรายละเอียดมากนัก แต่เข้าใจว่าเมื่อเทียบกับคดีรับจำนำข้าวแล้วนั้น น่าจะทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากระยะเวลานั้นเกิดมาไม่นาน ความผิดก็ปรากฏชัดเจนมากกว่า ทั้งในส่วนของพยานและหลักฐาน แต่จนถึงบัดนี้ ปปง.กลับไม่เคยแถลงถึงเส้นทางทางการเงินออกมาเลย เมื่อเทียบกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ดูจะมีบทบาทมากกว่า ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจทำไมจึงเป็นแบบนี้
สำหรับการปล่อยสินเชื่อในขณะนั้น เป็นมติคณะกรรมการบริหารธนาคารมหานคร อนุมัติสินเชื่อ แต่ลูกค้าไม่คืน มารดาตนเป็นเพียงแค่รองกรรมการผู้จัดการ แต่คนที่ปล่อยสินเชื่อคือคณะกรรมการบริหารฯ ไม่ใช่มารดาตนเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อแล้วกลับเข้ากระเป๋าแม่ตน อย่างนั้นถึงจะเรียกว่า ไอ้ขี้โกง แต่กรณีนี้ลูกค้าเกิดหนี้เสียต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่การฟอกเงินอย่างแน่นอน และเรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สิ้นสุดแล้วในปี 2548 เจ้าหน้าที่ ปปง.ยืนยันว่า เส้นทางการเงินไม่มีการโอนจากธนาคารมหานครและลูกค้ามาที่มารดาตน รวมถึงยังมีคำให้การของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ระบุว่า ไม่มีการโอนเงินกลับไปที่ผู้บริหารแต่อย่างใด
นายอรรถวิชช์กล่าวต่อว่า ตนขอตั้งคำถามกับพ.ต.อ.สีหนาทว่า 1.ไม่มีเงินสกปรกเข้ามาใช้กฎหมายฟอกเงินได้หรือไม่ 2.มีการฟ้องชดเชยค่าเสียหายเพื่อคืนผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้กลับจะใช้กฎหมายฟอกเงิน ตกลงจะดำเนินการแบบไหน 3.ถ้าใช้มาตรฐานนี้จะทำอย่างไรกับบริษัทไฟแนนซ์ที่ปิดตัวลงในปี 2540 และธนาคารที่มีหนี้เน่า อย่างธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะดำเนินคดีเหมือนกรณีมารดาตนหรือไม่ 4.คนที่ถูกไล่ออกจากราชการเพราะใช้อำนาจไล่บี้ฝ่ายตรงข้ามรับใช้การเมือง แต่ได้รับอานิสงส์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินฯมีความชอบธรรมหรือไม่ในการใช้กฎหมายกลั่นแกล้งคนอื่น และ 5.กรณีดังกล่าวอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในเดือนมกราคม 2557 แต่กลับมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาอีก คณะกรรมการชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเข้าไปทราบข้อเท็จจริงนี้หรือไม่ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ เนื่องจากป.ป.ง.มีกรอบเวลาพิจารณาเพียง 30 วัน หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ขณะนี้ล่วงเลยเวลามากว่า 1 ปีแล้ว
“ประเด็นนี้พ.ต.อ.สีหนาท ตั้งใจมีเรื่องกับผม ไม่ใช่แม่ผม ไม่เกี่ยวกับการเมืองเพราะผมตรวจสอบท่านจึงเล่นงานผม เนื่องจากเป็นกรรมาธิการเกี่ยวกับกฎหมาย ป.ป.ง.ได้คัดค้านกฎหมายที่ป.ป.ง.เสนอเข้าสภา เนื่องจากเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชน อีกทั้ง ยังทักท้วงการต่ออายุตัวเองจาก 4 ปี เป็น 6 ปี ด้วย เพราะไม่ถูกต้อง แต่เรื่องนี้ก็ผ่านการพิจารณาของสนช.ไปแล้ว ถามว่าคนที่เคยใช้อำนาจแบบผิดกฎหมายในการตรวจสอบเส้นทางการเงินแม้กระทั่งแม่ถ้วน หลีกภัย จนถูกออกจากราชการก่อนจะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน งานนี้ผมต่อสู้กับข้าราชการแบบท่านเหมือนกับที่สู้กับระบอบทักษิณ” นายอรรถวิชช์ กล่าว
นายอรรถวิชช์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลาและหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เป็นทนายความดำเนินคดีกับพ.ต.อ.สีหนาท ภายในเดือนเมษายนนี้ ข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แต่ในส่วนของคณะกรรมการ ป.ป.ง.ขอรอดูว่า รับทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้หรือไม่ จากนั้นค่อยพิจารณาว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายหรือไม่ และหลังจากนี้จะปรับเฟซบุ๊ค’อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ปชป.’ เพื่อให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายฟอกเงิน หากใครมีปัญหา ตนพร้อมที่จะให้คำตอบสำหรับคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้กฎหมายฟอกเงิน
ด้านน.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ ปปง. ได้มีมติออกมาเช่นนี้นั้น อาจจะทำให้สังคมครหาได้ว่าการทำงานของปปง.นั้นมี 2 มาตรฐาน เนื่องจากเทียบอีกคดีหนึ่งนั้นคือคดีที่เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ปปง.ซึ่งมีหน้าที่และมีอำนาจในตรวจสอบเส้นทางการเงินในโครงการนี้กลับไม่มีการแถลงอะไรออกมาผ่านสื่อเลย เมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ขณะนี้ดำเนินการจนจะเสร็จสิ้น และในบางคดีนั้นขณะนี้ก็ไปอยู่ที่ศาลแล้ว
นพ.วรงค์กล่าวต่อว่าสำหรับรายละเอียดของคดีที่เกี่ยวกับนางภคินีนั้น โดยส่วนตัวแล้วคนไม่ทราบรายละเอียดมากนัก แต่เข้าใจว่าเมื่อเทียบกับคดีรับจำนำข้าวแล้วนั้น น่าจะทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากระยะเวลานั้นเกิดมาไม่นาน ความผิดก็ปรากฏชัดเจนมากกว่า ทั้งในส่วนของพยานและหลักฐาน แต่จนถึงบัดนี้ ปปง.กลับไม่เคยแถลงถึงเส้นทางทางการเงินออกมาเลย เมื่อเทียบกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ดูจะมีบทบาทมากกว่า ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจทำไมจึงเป็นแบบนี้