เมื่อวันที่ 11 เม.ย. พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ชี้แจงกรณีนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตอบโต้คำสั่งยึดทรัพย์กว่า 300 ล้านบาท ของนางภคินี สุวรรณภักดี อดีตผู้บริหาร ธนาคารมหานคร ผู้เป็นมารดา สืบเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์ธนาคารมหานคร 4,100 ล้านบาท เมื่อปี 2547 โดยระบุว่า จะฟ้องกลับการทำงานของเลขาธิการ ปปง. เนื่องจากมองว่าคดีดังกล่าวไม่เข้าข่ายฟอกเงินและคดีขาดอายุความไปแล้ว
ทั้งนี้ เลขาธิการ ปปง. ระบุไม่ขอตอบโต้เพราะตนเป็นข้าราชการประจำต้องทำงานตามหน้าที่และไม่กังวลเรื่องการฟ้องกลับการทำงานของปปง. เนื่องจากปปง.ทำตามขั้นตอนและพยานหลักฐาน ไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องทางการเมือง มติยึดทรัพย์ก็มาจากความเห็นชอบของบอร์ดธุรกรรม กรณีที่อ้างคดีหมดอายุความแล้ว ขอย้ำว่าการยึดทรัพย์ของปปง.ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีอาญาแต่เป็นคดีแพ่ง
อย่างไรก็ตาม หลังมีคำสั่งยึดทรัพย์ถือว่าหมดหน้าที่ของ ปปง.แล้ว ในชั้นนี้เลยขั้นตอนของการพิสูจน์ทรัพย์มาแล้วถือว่ายุติ จากนี้ต้องส่งเรื่องให้อัยการดำเนินการให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
เลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า คดีนี้เป็นคดีสำคัญคงไม่มีใครกล้าทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ทุกอย่างทำตามขั้นตอน และเป็นมติของกรรมการ ส่วนกรณีที่มีการพาดพิงถึงบทบาทการทำงานส่วนตัวนั้น ตนคงไม่ขอตอบโต้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าสังคมคงรู้และเข้าใจ
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะบุตรชายของนางภคินี สุวรรณภักดี อดีตผู้บริหารธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊คเพจ 'อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ปชป.' ภายหลังจากที่พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เปิดเผยถึงกรณีที่ ปปง. มีมติอายัดทรัพย์ นางภคินี และพวกจำนวน 22 รายการ ประกอบด้วย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพฯและ จ. ฉะเชิงเทรา มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 มาตรา 49 วรรค 3 เมื่อวานนี้ (10 เมษายน) โดยนายอรรถวิชช์ ระบุว่า ตนได้แสดงหลักฐานคือ คำให้การของเจ้าหน้าที่ ปปง. เมื่อปี 2548 และผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ยืนยันว่า เงินที่ปล่อยกู้ไปนั้น ไม่ได้ตกถึงมารดาของตน และทางอัยการสั่งไม่ฟ้องมาปีกว่า ดังนั้นเรื่องนี้จึงยุติไปแล้ว
นายอรรถวิชช์ ระบุเพิ่มเติมว่า หลักกฎหมายของ ปปง. นั้น คือการติดตามทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งกรณีนี้เกิดจากการปล่อยกู้แล้วผู้กู้ไม่จ่ายคืนเนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งถึงแม้ว่ามารดาของตนจะชนะคดีแพ่งแล้ว ก็ยังคงต่อสู้เรื่องคดีแรงงานเรื่องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่ใช่นำกฎหมายพิเศษอย่าง ปปง. มาฟ้องมารดาตนเพราะไม่มีเงินสกปรกให้ฟอก ซึ่งตนเห็นว่าในกรณีนี้ พ.ต.อ.สีหนาท คงติดใจที่ตนไปตำหนิเรื่องที่เสนอแก้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .... โดยมีเนื้อหาให้ต่ออายุวาระการทำงานจาก 4 ปี เป็น 6 ปี ซึ่งตนเชื่อว่า กฎหมายนี้อำนาจมากต้องอยู่ในมือคนที่เที่ยงธรรมเท่านั้น ซึ่งประเทศไหนจะยึดทรัพย์กันทั้งๆ ที่ไม่มีเงินสกปรกมาเข้าตัว
ทั้งนี้ เลขาธิการ ปปง. ระบุไม่ขอตอบโต้เพราะตนเป็นข้าราชการประจำต้องทำงานตามหน้าที่และไม่กังวลเรื่องการฟ้องกลับการทำงานของปปง. เนื่องจากปปง.ทำตามขั้นตอนและพยานหลักฐาน ไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องทางการเมือง มติยึดทรัพย์ก็มาจากความเห็นชอบของบอร์ดธุรกรรม กรณีที่อ้างคดีหมดอายุความแล้ว ขอย้ำว่าการยึดทรัพย์ของปปง.ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีอาญาแต่เป็นคดีแพ่ง
อย่างไรก็ตาม หลังมีคำสั่งยึดทรัพย์ถือว่าหมดหน้าที่ของ ปปง.แล้ว ในชั้นนี้เลยขั้นตอนของการพิสูจน์ทรัพย์มาแล้วถือว่ายุติ จากนี้ต้องส่งเรื่องให้อัยการดำเนินการให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
เลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า คดีนี้เป็นคดีสำคัญคงไม่มีใครกล้าทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ทุกอย่างทำตามขั้นตอน และเป็นมติของกรรมการ ส่วนกรณีที่มีการพาดพิงถึงบทบาทการทำงานส่วนตัวนั้น ตนคงไม่ขอตอบโต้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าสังคมคงรู้และเข้าใจ
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะบุตรชายของนางภคินี สุวรรณภักดี อดีตผู้บริหารธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊คเพจ 'อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ปชป.' ภายหลังจากที่พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เปิดเผยถึงกรณีที่ ปปง. มีมติอายัดทรัพย์ นางภคินี และพวกจำนวน 22 รายการ ประกอบด้วย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพฯและ จ. ฉะเชิงเทรา มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 มาตรา 49 วรรค 3 เมื่อวานนี้ (10 เมษายน) โดยนายอรรถวิชช์ ระบุว่า ตนได้แสดงหลักฐานคือ คำให้การของเจ้าหน้าที่ ปปง. เมื่อปี 2548 และผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ยืนยันว่า เงินที่ปล่อยกู้ไปนั้น ไม่ได้ตกถึงมารดาของตน และทางอัยการสั่งไม่ฟ้องมาปีกว่า ดังนั้นเรื่องนี้จึงยุติไปแล้ว
นายอรรถวิชช์ ระบุเพิ่มเติมว่า หลักกฎหมายของ ปปง. นั้น คือการติดตามทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งกรณีนี้เกิดจากการปล่อยกู้แล้วผู้กู้ไม่จ่ายคืนเนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งถึงแม้ว่ามารดาของตนจะชนะคดีแพ่งแล้ว ก็ยังคงต่อสู้เรื่องคดีแรงงานเรื่องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่ใช่นำกฎหมายพิเศษอย่าง ปปง. มาฟ้องมารดาตนเพราะไม่มีเงินสกปรกให้ฟอก ซึ่งตนเห็นว่าในกรณีนี้ พ.ต.อ.สีหนาท คงติดใจที่ตนไปตำหนิเรื่องที่เสนอแก้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .... โดยมีเนื้อหาให้ต่ออายุวาระการทำงานจาก 4 ปี เป็น 6 ปี ซึ่งตนเชื่อว่า กฎหมายนี้อำนาจมากต้องอยู่ในมือคนที่เที่ยงธรรมเท่านั้น ซึ่งประเทศไหนจะยึดทรัพย์กันทั้งๆ ที่ไม่มีเงินสกปรกมาเข้าตัว