พล.อ.อ ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากผลการเจรจาและลงนามเอ็มโอยูระหว่างกรมการบินพลเรือนของไทย และ JCAB (Japan Civil Aviation Bureau)ของญี่ปุ่น ส่งผลให้การบินรับส่งผู้โดยสารระหว่างสองประเทศ เป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดเดือนเมษายนจนถึงพฤษภาคม โดยจากการติดตามผลการปฏิบัติการบินระหว่างประเทศทั้งสอง ตั้งแต่ช่วงที่เอ็มโอยูมีผลบังคับใช้พบว่า มีเหตุขัดข้องเพียง 2 กรณี ซึ่งเป็นผลเชิงเทคนิคของสายการบินเอง ซึ่งมีการยกเลิกเที่ยวบินไปญี่ปุ่น 2 เที่ยวบิน คือ เที่ยวบินของเอเชี่ยนแอร์ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2558 เวลา 01.30 น และของนกสกูต เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายน 2558 เวลา 23.15 น
ทั้งนี้ ปัญหาของสายการบินเอเชี่ยนแอร์ เกิดจากการตรวจทบทวนใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ ของกรมการบินพลเรือนพบว่า มีปัญหาในระบบการปฏิบัติการบิน ระบบควบคุมเวลาบินและเวลาพักผ่อนของนักบิน และการบำรุงรักษา ซึ่งกรมการบินพลเรือนได้ให้บริษัทแก้ไขข้อบกพร่อง และบริษัทได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ เวลาประมาณ 17.00 น ซึ่งกรมการบินพลเรือนได้ส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์ให้ทาง JCAB ทันที แต่พ้นเวลาทำการของ JCAB แล้วจึงไม่มีเจ้าหน้าที่พิจารณา ต้องรอวันเปิดทำการถัดไปในวันจันทร์ที่ 13 เมษายน
พล.อ.อ.ประจิน ระบุว่า กรณีของสายการบินนกสกูต เกิดจากการที่นกสกูต ยื่นคำขอให้เครื่องบินของสายการบินสกูต ของสิงคโปร์มาบินรับผู้โดยสารแทน ซึ่งได้รับอนุญาตแล้วแต่ทางสกูต ไม่สามารถหาเครื่องบินและลูกเรือมาบินได้ทัน จึงจำเป็นต้องยกเลิกเที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม ปัญหาการยกเลิกเที่ยวบินทั้งสองไม่ได้เกิดจาก JCAB แต่อย่างใด เป็นปัญหาเชิงเทคนิคเฉพาะกรณี ส่วนเที่ยวบินอื่นยังทำการบินได้ตามปกติ
ทั้งนี้ ปัญหาของสายการบินเอเชี่ยนแอร์ เกิดจากการตรวจทบทวนใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ ของกรมการบินพลเรือนพบว่า มีปัญหาในระบบการปฏิบัติการบิน ระบบควบคุมเวลาบินและเวลาพักผ่อนของนักบิน และการบำรุงรักษา ซึ่งกรมการบินพลเรือนได้ให้บริษัทแก้ไขข้อบกพร่อง และบริษัทได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ เวลาประมาณ 17.00 น ซึ่งกรมการบินพลเรือนได้ส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์ให้ทาง JCAB ทันที แต่พ้นเวลาทำการของ JCAB แล้วจึงไม่มีเจ้าหน้าที่พิจารณา ต้องรอวันเปิดทำการถัดไปในวันจันทร์ที่ 13 เมษายน
พล.อ.อ.ประจิน ระบุว่า กรณีของสายการบินนกสกูต เกิดจากการที่นกสกูต ยื่นคำขอให้เครื่องบินของสายการบินสกูต ของสิงคโปร์มาบินรับผู้โดยสารแทน ซึ่งได้รับอนุญาตแล้วแต่ทางสกูต ไม่สามารถหาเครื่องบินและลูกเรือมาบินได้ทัน จึงจำเป็นต้องยกเลิกเที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม ปัญหาการยกเลิกเที่ยวบินทั้งสองไม่ได้เกิดจาก JCAB แต่อย่างใด เป็นปัญหาเชิงเทคนิคเฉพาะกรณี ส่วนเที่ยวบินอื่นยังทำการบินได้ตามปกติ