นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิ ลวนลาม อนาจาร โป๊เปลือย ในเทศกาลสงกรานต์ ยังพบเห็นทุกปี และนับวันประเพณีสงกรานต์จะเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นเทศกาลดื่มฉลอง เน้นความสนุกสนานเกินเลยจนส่งผลกระทบรอบด้าน
ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ร่วมกับเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ได้ลงพื้นที่สำรวจ“มุมมองวัยรุ่นหญิงต่อปัญหาการคุกคามทางเพศช่วงสงกรานต์” อายุระหว่าง15-25ปี จำนวน 800 ตัวอย่าง ในพื้นที่ กทม.พบว่า เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่วัยรุ่นให้ความสำคัญมากที่สุด วัยรุ่นหญิงระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในวันสงกรานต์ คือ การลวนลาม/คุกคามทางเพศ ร้อยละ 33.9 รองลงมาอุบัติเหตุจากการขับรถและโดยสารรถ ร้อยละ 30.56% การทะเลาะวิวาทร้อยละ 18.60 ที่น่าตกใจคือผลสำรวจวัยรุ่นชายในปี 2556 พบว่า กว่าร้อยละ 43 มองปัญหานี้เป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก
นายจะเด็จ จึงอยากตั้งคำถามไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่าเห็นถึงปัญหานี้หรือไม่ เนื่องจากหลายหน่วยงานออกมารณรงค์สร้างความตระหนัก แต่กลับไร้วี่แวว พม.ทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐที่ดูแลแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง และเด็ก จึงอยากเสนอกระทรวง พม. ในสองเรื่องคือ 1.ปัญหาการลวนลามคุกคามทางเพศช่วงสงกรานต์ และข้อ 2. ขอให้มีการมอบหมายให้ พม.จังหวัด อาสาสมัคร พม. สนับสนุนการจัดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ที่ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 27 มีนาคม 2558
ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ร่วมกับเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ได้ลงพื้นที่สำรวจ“มุมมองวัยรุ่นหญิงต่อปัญหาการคุกคามทางเพศช่วงสงกรานต์” อายุระหว่าง15-25ปี จำนวน 800 ตัวอย่าง ในพื้นที่ กทม.พบว่า เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่วัยรุ่นให้ความสำคัญมากที่สุด วัยรุ่นหญิงระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในวันสงกรานต์ คือ การลวนลาม/คุกคามทางเพศ ร้อยละ 33.9 รองลงมาอุบัติเหตุจากการขับรถและโดยสารรถ ร้อยละ 30.56% การทะเลาะวิวาทร้อยละ 18.60 ที่น่าตกใจคือผลสำรวจวัยรุ่นชายในปี 2556 พบว่า กว่าร้อยละ 43 มองปัญหานี้เป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก
นายจะเด็จ จึงอยากตั้งคำถามไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่าเห็นถึงปัญหานี้หรือไม่ เนื่องจากหลายหน่วยงานออกมารณรงค์สร้างความตระหนัก แต่กลับไร้วี่แวว พม.ทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐที่ดูแลแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง และเด็ก จึงอยากเสนอกระทรวง พม. ในสองเรื่องคือ 1.ปัญหาการลวนลามคุกคามทางเพศช่วงสงกรานต์ และข้อ 2. ขอให้มีการมอบหมายให้ พม.จังหวัด อาสาสมัคร พม. สนับสนุนการจัดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ที่ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 27 มีนาคม 2558