จากกรณีข่าวสถานพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน ไม่สามารถหาซื้อวัคซีนรวมป้องกัน 5 โรค คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียฮิบ เพราะผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีปัญหาขัดข้องทางเทคนิค ทำให้ต้องหยุดผลิตโดยฉับพลัน จึงส่งวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ ไม่ได้ตามแผน รวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น ศ. น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญของความมั่นคงทางด้านวัคซีนเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และองค์การเภสัชกรรม ได้มีความพยายามร่วมกันที่จะพัฒนาศักยภาพของการผลิตวัคซีนภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาจากภายนอก เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนวัคซีนที่จำเป็น ดังเช่น การสนับสนุนการสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขององค์การเภสัชกรรม
ส่วนปัญหาการขาดวัคซีนรวมป้องกัน 5 โรค นับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการพัฒนาศักยภาพของการผลิตวัคซีนภายในประเทศ ทั้งนี้ หากประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนได้ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และเป็นวัคซีนที่คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเห็นว่า ควรบรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กไทย กระทรวงสาธารณสุขมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศไทย
ขณะที่นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วัคซีนรวม 5 โรคเป็นวัคซีนที่ใช้กันแพร่หลายในภาคเอกชน แต่ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐเด็กจะได้รับวัคซีนรวมป้องกันโรคพื้นฐาน 4 โรค คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และตับอักเสบบี ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปรับวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใกล้บ้านทุกแห่ง
นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนขั้นพื้นฐานอื่นๆ ที่ให้บริการกับเด็กไทยโดยไม่คิดมูลค่า ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี รวม 10 โรค ซึ่งวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนที่คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพิจารณาแล้วเห็นว่าพอเพียงสำหรับเด็กไทย และกรมควบคุมโรคร่วมกันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดหาวัคซีนดังกล่าวให้เด็กไทยมีใช้อย่างพอเพียง ไม่ขาดแคลน
ส่วนวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียฮิบนั้น ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการรอบด้านแล้ว ยังไม่แนะนำให้บรรจุไว้ในตารางการให้บริการวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อยู่ระหว่างการรอพิจารณาความจำเป็นในการจัดบริการแก่เด็ก โดยยังมีวัคซีนที่อยู่ระหว่างรอจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอีกหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนโรตาป้องกันอุจจาระร่วงในเด็ก และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ส่วนปัญหาการขาดวัคซีนรวมป้องกัน 5 โรค นับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการพัฒนาศักยภาพของการผลิตวัคซีนภายในประเทศ ทั้งนี้ หากประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนได้ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และเป็นวัคซีนที่คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเห็นว่า ควรบรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กไทย กระทรวงสาธารณสุขมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศไทย
ขณะที่นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วัคซีนรวม 5 โรคเป็นวัคซีนที่ใช้กันแพร่หลายในภาคเอกชน แต่ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐเด็กจะได้รับวัคซีนรวมป้องกันโรคพื้นฐาน 4 โรค คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และตับอักเสบบี ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปรับวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใกล้บ้านทุกแห่ง
นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนขั้นพื้นฐานอื่นๆ ที่ให้บริการกับเด็กไทยโดยไม่คิดมูลค่า ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี รวม 10 โรค ซึ่งวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนที่คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพิจารณาแล้วเห็นว่าพอเพียงสำหรับเด็กไทย และกรมควบคุมโรคร่วมกันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดหาวัคซีนดังกล่าวให้เด็กไทยมีใช้อย่างพอเพียง ไม่ขาดแคลน
ส่วนวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียฮิบนั้น ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการรอบด้านแล้ว ยังไม่แนะนำให้บรรจุไว้ในตารางการให้บริการวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อยู่ระหว่างการรอพิจารณาความจำเป็นในการจัดบริการแก่เด็ก โดยยังมีวัคซีนที่อยู่ระหว่างรอจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอีกหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนโรตาป้องกันอุจจาระร่วงในเด็ก และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422