สปสช. เผยผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเข้าถึงการรักษาแค่ 1 ใน 3 เหตุแสดงอาการช้า เป็นภัยเงียบ เสี่ยงมะเร็งตับ ถึงขั้นเสียชีวิต กระตุ้นประชาชนตรวจคัดกรอง ระบุสิทธิบัตรทองให้สิทธิประโยชน์ครอบคลุม
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช.มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ประชาชนที่เข้าถึงบริการยากจากโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไวรัสตับอักเสบซี ที่พบว่าหากไม่มีการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งตับในอนาคต ปัจจุบันได้บรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์แล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์จะพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ โดยพิจารณาความคุ้มค่าอย่างรอบด้านหากเป็นสิทธิที่งบประมาณต่ำกว่า 50 ล้านบาท ก็จะสามารถพิจารณาได้เร็ว แต่ถ้าใช้งบประมาณมากกว่า 100 ล้านบาท เช่น วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ปัจจุบัน สปสช. สามารถต่อรองราคายาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอน ลดลงมาจากราคาเดิมกว่า 70% และยังได้รับบริจาคยากลุ่มที่ต้องใช้คู่กันซึ่งมีราคาแพง โดยยาดังกล่าวจะใช้สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับ โดยในปี 2556 ครอบคลุมไปยังผู้ป่วยตับอักเสบซี สายพันธุ์ 2 และ 3 และมีการขยายเพิ่มเติมตั้งแต่ ต.ค. 2557 ได้ขยายไปยังผู้ป่วยตับอักเสบซี สายพันธุ์ 1 และ 6 รวมไปถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีการติดเชื้อร่วมจากไวรัสตับอักเสบซี
"แต่ละปีประมาณการว่ามีผู้ป่วยที่ต้องการเข้าถึงการรักษาประมาณ 3,000 ราย แต่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพียง 1 ใน 3 เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มักจะแสดงอาการป่วยเมื่อตับถูกทำลายไปมากแล้ว จึงถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตของคนไทยจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี โดยปกติประชาชนมักทราบว่าป่วยเมื่อเริ่มมีอาการตับอักเสบหรือเมื่อไปบริจาคโลหิต ซึ่งความจริงสามารถตรวจคัดกรองได้ก่อน ปัจจุบันกำลังมีการผลักดันให้มีการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในกระบวนการคัดกรองสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องให้ความรู้ประชาชนควบคู่กันไปอีกทาง” ภญ.เนตรนภิส กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช.มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ประชาชนที่เข้าถึงบริการยากจากโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไวรัสตับอักเสบซี ที่พบว่าหากไม่มีการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งตับในอนาคต ปัจจุบันได้บรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์แล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์จะพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ โดยพิจารณาความคุ้มค่าอย่างรอบด้านหากเป็นสิทธิที่งบประมาณต่ำกว่า 50 ล้านบาท ก็จะสามารถพิจารณาได้เร็ว แต่ถ้าใช้งบประมาณมากกว่า 100 ล้านบาท เช่น วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ปัจจุบัน สปสช. สามารถต่อรองราคายาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอน ลดลงมาจากราคาเดิมกว่า 70% และยังได้รับบริจาคยากลุ่มที่ต้องใช้คู่กันซึ่งมีราคาแพง โดยยาดังกล่าวจะใช้สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับ โดยในปี 2556 ครอบคลุมไปยังผู้ป่วยตับอักเสบซี สายพันธุ์ 2 และ 3 และมีการขยายเพิ่มเติมตั้งแต่ ต.ค. 2557 ได้ขยายไปยังผู้ป่วยตับอักเสบซี สายพันธุ์ 1 และ 6 รวมไปถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีการติดเชื้อร่วมจากไวรัสตับอักเสบซี
"แต่ละปีประมาณการว่ามีผู้ป่วยที่ต้องการเข้าถึงการรักษาประมาณ 3,000 ราย แต่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพียง 1 ใน 3 เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มักจะแสดงอาการป่วยเมื่อตับถูกทำลายไปมากแล้ว จึงถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตของคนไทยจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี โดยปกติประชาชนมักทราบว่าป่วยเมื่อเริ่มมีอาการตับอักเสบหรือเมื่อไปบริจาคโลหิต ซึ่งความจริงสามารถตรวจคัดกรองได้ก่อน ปัจจุบันกำลังมีการผลักดันให้มีการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในกระบวนการคัดกรองสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องให้ความรู้ประชาชนควบคู่กันไปอีกทาง” ภญ.เนตรนภิส กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่