นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือ คปก.ลงนามในบันทึกความเห็น และข้อเสนอแนะเรื่อง “ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดย คปก.มีความเห็นว่า คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษที่อยู่บนพื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ผลของคำพิพากษาคดีแรงงานมีผลกระทบต่อประชาชน และสังคมในวงกว้างทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ปัญหาแรงงานจึงถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและซับซ้อน ปัญหาข้อพิพาทด้านแรงงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถูกฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก แต่การพิจารณาคดีของศาลแรงงานเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้ลูกจ้างและองค์กรแรงงานไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน คปก.จึงเสนอแนะให้ปฏิรูปศาลแรงงาน โดยการแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม และจะต้องกำหนดบทบัญญัติดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างได้อย่างสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ที่มีหลักการสำคัญคือ ประหยัด สะดวก รวดเร็ว เสมอภาคและเที่ยงธรรม
นอกจากนี้ คปก.ยังมีข้อเสนอให้ศาลแรงงานนำกระบวนการพิจารณาคดีแบบไต่สวนหาความจริงมาใช้ โดยวางแนวทางให้ศาลชั้นต้นมีลักษณะเป็นศาลพิจารณา (Trial Court) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ข้อเท็จจริงยุติที่ศาลชั้นต้น
ทั้งนี้ คปก.ได้เสนอแนะให้มีการสร้างระบบการบริหารข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ผู้พิพากษาคดีแรงงานมีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้และทักษะเฉพาะของคดีแรงงานและมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดี ตลอดจนจะต้องส่งเสริมบทบาทและความก้าวหน้าแก่ผู้พิพากษาศาลแรงงานด้วย
อย่างไรก็ตาม คปก.มีความเห็นต่อกรณีที่มีการเสนอตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง อีกทั้งจะเป็นการเพิ่มขั้นตอนของคดีให้มากยิ่งขึ้น และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลแรงงาน
นอกจากนี้ คปก.ยังมีข้อเสนอให้ศาลแรงงานนำกระบวนการพิจารณาคดีแบบไต่สวนหาความจริงมาใช้ โดยวางแนวทางให้ศาลชั้นต้นมีลักษณะเป็นศาลพิจารณา (Trial Court) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ข้อเท็จจริงยุติที่ศาลชั้นต้น
ทั้งนี้ คปก.ได้เสนอแนะให้มีการสร้างระบบการบริหารข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ผู้พิพากษาคดีแรงงานมีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้และทักษะเฉพาะของคดีแรงงานและมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดี ตลอดจนจะต้องส่งเสริมบทบาทและความก้าวหน้าแก่ผู้พิพากษาศาลแรงงานด้วย
อย่างไรก็ตาม คปก.มีความเห็นต่อกรณีที่มีการเสนอตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง อีกทั้งจะเป็นการเพิ่มขั้นตอนของคดีให้มากยิ่งขึ้น และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลแรงงาน