คปก. เตรียมชงร่างประมวลกฎหมายแรงงาน - ร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน ต่อรัฐบาล สปช. - สนช. เดือน มี.ค. นี้ ชี้ช่วยยกระดับกฎหมายแรงงาน เพิ่มความคล้องตัวการบริหารจัดการ
วันนี้ (3 ก.พ.) นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวภายหลังการประชุมประมวลกฎหมายแรงงานและร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน ว่า หลังจากนี้ จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงการจัดทำร่างประมวลฯ และร่าง พ.ร.บ.ก่อนนำเสนอต่อรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงสาธารณะ ในเดือนมีนาคม เนื่องจากการเสนอร่างทั้ง 2 ฉบับต้องอาศัยความเห็นจากทุกภาคส่วนในการแก้ไข โดยสาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายแรงงาน เป็นการนำกฎหมายด้านแรงงาน ที่มีอยู่หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นต้น มาจัดหมวดหมู่ให้มีความสอดคล้อง ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้การดูแลและคุ้มครองแรงงาน ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันเนื้อหากฎหมายบางฉบับยังมีความขัดแย้งกันเอง ทั้งนี้ เพื่อยกระดับกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากล สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ซึ่งจะช่วยให้แรงงานมีหลักประกัน ความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับค่าจ้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
นางสุนี กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน เป็นการรวบรวมเนื้อหากฎหมายด้านการบริหารจัดการแรงงานของรัฐมารวมไว้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง และลดการนำความขัดแย้งไปสู่กระบวนการศาลแรงงาน ซึ่งร่างกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาดูแล ทั้งนี้ ร่างประมวลกฎหมายแรงงานและร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน มีการยกร่างเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในปี 2549 แต่ต้องยกเลิกไป เนื่องจากมีการยุบสภา คปก. จึงนำปรับปรุงเพื่อเสนอต่อรัฐบาล สนช. สปช. ใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ก.พ.) นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวภายหลังการประชุมประมวลกฎหมายแรงงานและร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน ว่า หลังจากนี้ จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงการจัดทำร่างประมวลฯ และร่าง พ.ร.บ.ก่อนนำเสนอต่อรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงสาธารณะ ในเดือนมีนาคม เนื่องจากการเสนอร่างทั้ง 2 ฉบับต้องอาศัยความเห็นจากทุกภาคส่วนในการแก้ไข โดยสาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายแรงงาน เป็นการนำกฎหมายด้านแรงงาน ที่มีอยู่หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นต้น มาจัดหมวดหมู่ให้มีความสอดคล้อง ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้การดูแลและคุ้มครองแรงงาน ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันเนื้อหากฎหมายบางฉบับยังมีความขัดแย้งกันเอง ทั้งนี้ เพื่อยกระดับกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากล สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ซึ่งจะช่วยให้แรงงานมีหลักประกัน ความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับค่าจ้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
นางสุนี กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน เป็นการรวบรวมเนื้อหากฎหมายด้านการบริหารจัดการแรงงานของรัฐมารวมไว้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง และลดการนำความขัดแย้งไปสู่กระบวนการศาลแรงงาน ซึ่งร่างกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาดูแล ทั้งนี้ ร่างประมวลกฎหมายแรงงานและร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน มีการยกร่างเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในปี 2549 แต่ต้องยกเลิกไป เนื่องจากมีการยุบสภา คปก. จึงนำปรับปรุงเพื่อเสนอต่อรัฐบาล สนช. สปช. ใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่