นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวภายหลังการประชุมและให้ข้อเสนอแนะต่อร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน ว่า หลังการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่อีกครั้ง เพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงการจัดทำร่างประมวล และร่างพระราชบัญญัติ ก่อนนำเสนอต่อรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงสาธารณะ ในเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจากการเสนอร่างทั้ง 2 ฉบับ ต้องอาศัยความเห็นพ้องจากทุกภาคส่วนในการแก้ไข
สาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายแรงงาน เป็นการนำกฎหมายด้านแรงงานที่มีอยู่หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาจัดหมวดหมู่ และร้อยเรียงให้สอดคล้องและไม่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้การดูแลและคุ้มครองแรงงานทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันเนื้อหากฎหมายบางฉบับมีความขัดแย้งกัน เช่น คำนิยามที่ไม่ตรงกัน
ทั้งนี้ เพื่อยกระดับกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากล หรือสอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งจะช่วยให้แรงงานมีหลักประกันความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับค่าจ้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ส่วนร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน เป็นการรวบรวมเนื้อหากฎหมายด้านการบริหารจัดการแรงงานของรัฐบาล มารวมไว้ เพื่อให้การบริหารงานของภาครัฐคล่องตัวมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ถือเป็นการลดการนำความขัดแย้งไปสู่กระบวนการศาลแรงงาน ซึ่งร่างกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาดูแล
สาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายแรงงาน เป็นการนำกฎหมายด้านแรงงานที่มีอยู่หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาจัดหมวดหมู่ และร้อยเรียงให้สอดคล้องและไม่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้การดูแลและคุ้มครองแรงงานทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันเนื้อหากฎหมายบางฉบับมีความขัดแย้งกัน เช่น คำนิยามที่ไม่ตรงกัน
ทั้งนี้ เพื่อยกระดับกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากล หรือสอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งจะช่วยให้แรงงานมีหลักประกันความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับค่าจ้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ส่วนร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน เป็นการรวบรวมเนื้อหากฎหมายด้านการบริหารจัดการแรงงานของรัฐบาล มารวมไว้ เพื่อให้การบริหารงานของภาครัฐคล่องตัวมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ถือเป็นการลดการนำความขัดแย้งไปสู่กระบวนการศาลแรงงาน ซึ่งร่างกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาดูแล