พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลความคืบหน้ามาตรการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2558 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดรับคำขออนุญาตประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ จนถึงวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา มีจำนวน 16บริษัท ที่ยืนคำขอกับ ธปท.แล้ว ขณะเดียวกัน ยังมีผู้สนใจติดต่อขอรายละเอียด เพื่อตัดสินใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ อีก 77 ราย
สำหรับ 16 บริษัท ที่ยืนคำขอกับ ธปท.แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จัดส่งเอกสารให้ธปท.ครบถ้วนแล้ว และ ธปท.เห็นว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท เงินสดทันใจ จำกัดบริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล จำกัด และบริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) โดยในกลุ่มแรกนี้ที่ ธปท.พิจารณาแล้วเห็นว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอประกอบธุรกิจของทั้ง 3 บริษัท โดยคาดว่าจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัททราบได้ภายในเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ หากได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการคลังแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถเริ่มประกอบธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ได้ทันทีแต่ต้องแจ้งวันเริ่มประกอบธุรกิจเป็นหนังสือให้ธปท.ทราบล่วงหน้าก่อน ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังได้กำหนดรูปแบบรายงานการให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องนำส่งให้กระทรวงการคลังและ ธปท.เป็นประจำทุกเดือน เพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และติดตามการเข้าถึงสินเชื่อของประชาชนรายย่อยในระยะต่อไป
สำหรับกลุ่มที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการจัดส่งเอกสารให้ธปท.เพิ่มเติมมีจำนวน 11 บริษัท ได้แก่ บริษัทเมืองไทย ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือบริษัทศรีสวัสดิ์เงินติดล้อ บริษัท ศักดิ์สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด,บริษัท สหไพบูลย์ จำกัด บริษัท ทิฐิวิสุทธิ จำกัด (มหาชน) บริษัท อินเทลลิเจนท์ ทีที.พาวเวอร์ จำกัด บริษัท มีนาลีสซิ่ง จำกัด บริษัท อะมานะฮ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด(มหาชน),บริษัท เอเชีย เจมส์ ฟอร์ยู จำกัด และบริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล มหาชน (จำกัด)
ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นบริษัทที่ขอยกเลิกคำขออนุญาต เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ครบและยังไม่พร้อมดำเนินการมีจำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท วัฒนาธนสินทรัพย์ จำกัด และบริษัท กรุงไทย ออโต้ ลีส จำกัด
สำหรับ 16 บริษัท ที่ยืนคำขอกับ ธปท.แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จัดส่งเอกสารให้ธปท.ครบถ้วนแล้ว และ ธปท.เห็นว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท เงินสดทันใจ จำกัดบริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล จำกัด และบริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) โดยในกลุ่มแรกนี้ที่ ธปท.พิจารณาแล้วเห็นว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอประกอบธุรกิจของทั้ง 3 บริษัท โดยคาดว่าจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัททราบได้ภายในเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ หากได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการคลังแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถเริ่มประกอบธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ได้ทันทีแต่ต้องแจ้งวันเริ่มประกอบธุรกิจเป็นหนังสือให้ธปท.ทราบล่วงหน้าก่อน ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังได้กำหนดรูปแบบรายงานการให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องนำส่งให้กระทรวงการคลังและ ธปท.เป็นประจำทุกเดือน เพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และติดตามการเข้าถึงสินเชื่อของประชาชนรายย่อยในระยะต่อไป
สำหรับกลุ่มที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการจัดส่งเอกสารให้ธปท.เพิ่มเติมมีจำนวน 11 บริษัท ได้แก่ บริษัทเมืองไทย ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือบริษัทศรีสวัสดิ์เงินติดล้อ บริษัท ศักดิ์สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด,บริษัท สหไพบูลย์ จำกัด บริษัท ทิฐิวิสุทธิ จำกัด (มหาชน) บริษัท อินเทลลิเจนท์ ทีที.พาวเวอร์ จำกัด บริษัท มีนาลีสซิ่ง จำกัด บริษัท อะมานะฮ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด(มหาชน),บริษัท เอเชีย เจมส์ ฟอร์ยู จำกัด และบริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล มหาชน (จำกัด)
ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นบริษัทที่ขอยกเลิกคำขออนุญาต เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ครบและยังไม่พร้อมดำเนินการมีจำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท วัฒนาธนสินทรัพย์ จำกัด และบริษัท กรุงไทย ออโต้ ลีส จำกัด