วันนี้ (7 เม.ย.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ส่งแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชน เรื่อง ขอให้ยกเลิกคำสั่งที่ 3/2558 ของ คสช. ยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ฯ มาตรา 44
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 แทนการใช้กฎอัยการศึก ที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้น
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การประกาศใช้คำสั่งที่ 3/2558 ดังกล่าว ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรวมถึงคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติข้างต้น ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่แบ่งแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล ป้องกันการใช้อำนาจปกครองตามอำเภอใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งการกำหนดให้การกระทำตามคำสั่งฉบับนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยความประสงค์หลีกเลี่ยงการตรวจสอบของสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ์ไม่สามารถใช้สิทธิ์ทางศาลเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว
2. การออกคำสั่งฉบับดังกล่าวเปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจของทหารในฐานะ "เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" กระทำการใดๆ ตามคำสั่งฉบับดังกล่าว เช่น ออกคำสั่งเรียก บุคคล จับกุม ค้น ห้ามการเสนอข่าว ฯ รวมถึงการทำหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน โดยการพิจารณาคดีของพลเรือนในข้อกล่าวหาตั้งแต่มาตรา 107 ถึง 112 และมาตรา 113 ถึง 118 ประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลทหาร ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 ฉบับที่ 38/2557 และฉบับที่ 50/2557 ซึ่งขัดต่อหลักประกันสิทธิ์ขั้นพื้นฐานและสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยตุลาการที่เป็นอิสระ ซึ่งได้รับรองไว้ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในหลายๆ ด้าน เช่น สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพของสื่อมวลชน สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และสิทธิ์ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะมีผลทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดมากยิ่งขึ้นและส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน องค์กร และบุคคลดังมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ทนายความ และบุคลากรที่ทำงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและละเลยต่อหลักกฎหมายโดยสิ้นเชิง จึงขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยกเลิกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 และยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ฯ มาตรา 44 ในการบริหารประเทศเพื่อเป็นหลักประกันว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ถูกละเมิดโดยอำเภอใจจากอำนาจที่ไร้การถ่วงดุลและอยู่เหนือการตรวจสอบ
ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
2. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
3. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
4. นายสมชาย หอมลออ นักกฎหมาย
5. นายไพโรจน์ พลเพชร นักกฎหมาย และนักกฎหมายอีก 100 กว่ารายชื่อ
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 แทนการใช้กฎอัยการศึก ที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้น
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การประกาศใช้คำสั่งที่ 3/2558 ดังกล่าว ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรวมถึงคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติข้างต้น ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่แบ่งแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล ป้องกันการใช้อำนาจปกครองตามอำเภอใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งการกำหนดให้การกระทำตามคำสั่งฉบับนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยความประสงค์หลีกเลี่ยงการตรวจสอบของสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ์ไม่สามารถใช้สิทธิ์ทางศาลเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว
2. การออกคำสั่งฉบับดังกล่าวเปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจของทหารในฐานะ "เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" กระทำการใดๆ ตามคำสั่งฉบับดังกล่าว เช่น ออกคำสั่งเรียก บุคคล จับกุม ค้น ห้ามการเสนอข่าว ฯ รวมถึงการทำหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน โดยการพิจารณาคดีของพลเรือนในข้อกล่าวหาตั้งแต่มาตรา 107 ถึง 112 และมาตรา 113 ถึง 118 ประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลทหาร ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 ฉบับที่ 38/2557 และฉบับที่ 50/2557 ซึ่งขัดต่อหลักประกันสิทธิ์ขั้นพื้นฐานและสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยตุลาการที่เป็นอิสระ ซึ่งได้รับรองไว้ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในหลายๆ ด้าน เช่น สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพของสื่อมวลชน สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และสิทธิ์ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะมีผลทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดมากยิ่งขึ้นและส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน องค์กร และบุคคลดังมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ทนายความ และบุคลากรที่ทำงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและละเลยต่อหลักกฎหมายโดยสิ้นเชิง จึงขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยกเลิกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 และยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ฯ มาตรา 44 ในการบริหารประเทศเพื่อเป็นหลักประกันว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ถูกละเมิดโดยอำเภอใจจากอำนาจที่ไร้การถ่วงดุลและอยู่เหนือการตรวจสอบ
ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
2. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
3. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
4. นายสมชาย หอมลออ นักกฎหมาย
5. นายไพโรจน์ พลเพชร นักกฎหมาย และนักกฎหมายอีก 100 กว่ารายชื่อ