รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เดินทางเข้าพบ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรมเพื่อรายงานผลการลงพื้นที่ตรวจสอบสนามแข่งรถ โบนันซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ เลขที่ 235 หมู่ 11 บ้านโบนันซ่า ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งถูกร้องเรียนว่ามีการบุกรุกที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่างหิน
พล.อ.ไพบูลย์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบได้รับรายงานว่า มีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่า บริษัทเอกชนดังกล่าว มีการกระทำความผิดจริง จึงสั่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการต่อ นอกจากนี้ พ.ต.อ.ดุษฎี ได้รายงานให้ทราบด้วยว่า ยังมีการกระทำความผิดในลักษณะนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกหลายพื้นที่ ตนจึงสั่งการให้เดินหน้าตรวจสอบต่อไป แต่ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ภาคอีสานเท่านั้น
“เราไม่จำเป็นต้องเปิดยุทธการใดๆเป็นพิเศษ เพียงแต่ขอให้รองปลัดยุติธรรมระวังตัวในการทำงาน เนื่องจากเป็นการตรวจสอบนายทุนหรือผู้มีอิทธิพล ยืนยันว่าการทำงานตรวจสอบปัญหาการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้เลือกเน้นจะเป็นฝ่ายใดหรือเกี่ยวข้องกับใคร เพราะปัญหาเกิดขึ้นมานานแล้ว อยากให้ดูการทำงานและให้เวลาเป็นตัวตัดสินว่าเราดำเนินการเอาผิดเฉพาะกลุ่มหรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีใครมาเคลียร์ ถ้าผิดว่าไปตามผิด ผมไม่ยอมอยู่แล้ว ไม่ต้องมาเคลียร์กับผม และมั่นใจว่าไม่มีผู้ใหญ่ที่ไหนจะกล้ามาเคลียร์ให้ถ้าทำผิดกฎหมาย เพราะไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย” พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ น.ส.พัทธมน เตชะณรงค์ ลูกสาว นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ เจ้าของโบนันซ่า รีสอร์ตเขาใหญ่ ระบุว่า หากมีการบุกรุกที่ป่าจริง ก็พร้อมคืนที่ให้นั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า กรณีการบุกรุกพื้นที่ป่าของโบนันซาถือว่าทำความผิดสำเร็จแล้ว เพราะมีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นมาหลายปี ดังนั้น แม้จะบอกว่ายอมคืนพื้นที่ให้กับทางราชการ ก็ไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย ส่วนเจ้าหน้าที่เคยตรวจสอบพบว่าเอกชนทำความผิดจริง แต่กลับไม่ยอมดำเนินการตามกฎหมายก็ต้องมีความผิดเช่นกัน แต่จะเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผลที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กับหน่วยงานในสังกัดก่อน
ด้าน นายธนวัฒน์ สนิทศักดิ์ดี เจ้าหน้าที่สืบสวนชำนาญการคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสนามแข่งรถโบนันซ่า ว่า พบประเด็นที่ นายไพวงษ์ มีชื่อเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่( ภบท.5) ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเรียกเข้าให้ปากคำในฐานะที่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินด้วย
ขณะที่ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ์ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบของสำนักป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า บริเวณป่าเขาหนามด้านทิศใต้ของสนามแข่งรถฯ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า เขานกยูง เขาอ่างหิน พบว่าพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ 5 แปลง แต่พื้นที่จำนวนหนึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งถูกบุกรุกจำนวน 103 ไร่ เมื่อรวมกับสวนป่าปากช่องอีกราว 30 ไร่ คิดเป็นค่าเสียหายราว 7,094,259.64 บาท โดยขณะนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหากับทางโบนันซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ ได้แก่ 1.พ.ร.บ.ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 54,55 และ 72 ตรี 2.พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14,31 3.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9(1) ,18ทวิ 4.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 97 และ 5.พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 15
ช่วงเช้าวันเดียวกัน นายสุนทร กันหาจันทร์ หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นม.1 (ปากช่อง) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบรังวัดอย่างละเอียดพบว่าพื้นที่สนามแข่งรถฯ มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า เขานกยูง เขาอ่างหิน จำนวน 103 ไร่ ตนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ.ปากช่อง เพื่อให้ดำเนินคดีต่อ นายนิธิศเชษฐ์ สิทธิเจริญกุล ผู้ดูแลสนามแข่งรถฯ ในข้อหาบุกรุกแผ้วถางก่นสร้างครอบครองป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีโทษจำคุก 20 ปี ปรับ 150,000 บาท/ไร่ พร้อมควบคุมตัวผู้ต้องหา ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวนด้วย เบื้องต้นผู้ต้องหาปฏิเสธว่าไม่ได้มีเจตนาบุกรุกและไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวน ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายต่อไป
นายคเชน ใยสุ่น ปลัด อบต.ขนงพระ กล่าวว่า พื้นที่ก่อสร้างอาคารที่พักไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนสนามแข่งรถและอาคารต่างๆ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เนื่องจากมีทั้งพื้นที่ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ต้องสั่งให้รื้อถอน แต่ยอมรับว่าบริเวณดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบค่อนข้างยากจริงๆ แต่ไม่ได้หนักใจแต่อย่างใดเพราะทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย
พล.อ.ไพบูลย์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบได้รับรายงานว่า มีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่า บริษัทเอกชนดังกล่าว มีการกระทำความผิดจริง จึงสั่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการต่อ นอกจากนี้ พ.ต.อ.ดุษฎี ได้รายงานให้ทราบด้วยว่า ยังมีการกระทำความผิดในลักษณะนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกหลายพื้นที่ ตนจึงสั่งการให้เดินหน้าตรวจสอบต่อไป แต่ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ภาคอีสานเท่านั้น
“เราไม่จำเป็นต้องเปิดยุทธการใดๆเป็นพิเศษ เพียงแต่ขอให้รองปลัดยุติธรรมระวังตัวในการทำงาน เนื่องจากเป็นการตรวจสอบนายทุนหรือผู้มีอิทธิพล ยืนยันว่าการทำงานตรวจสอบปัญหาการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้เลือกเน้นจะเป็นฝ่ายใดหรือเกี่ยวข้องกับใคร เพราะปัญหาเกิดขึ้นมานานแล้ว อยากให้ดูการทำงานและให้เวลาเป็นตัวตัดสินว่าเราดำเนินการเอาผิดเฉพาะกลุ่มหรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีใครมาเคลียร์ ถ้าผิดว่าไปตามผิด ผมไม่ยอมอยู่แล้ว ไม่ต้องมาเคลียร์กับผม และมั่นใจว่าไม่มีผู้ใหญ่ที่ไหนจะกล้ามาเคลียร์ให้ถ้าทำผิดกฎหมาย เพราะไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย” พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ น.ส.พัทธมน เตชะณรงค์ ลูกสาว นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ เจ้าของโบนันซ่า รีสอร์ตเขาใหญ่ ระบุว่า หากมีการบุกรุกที่ป่าจริง ก็พร้อมคืนที่ให้นั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า กรณีการบุกรุกพื้นที่ป่าของโบนันซาถือว่าทำความผิดสำเร็จแล้ว เพราะมีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นมาหลายปี ดังนั้น แม้จะบอกว่ายอมคืนพื้นที่ให้กับทางราชการ ก็ไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย ส่วนเจ้าหน้าที่เคยตรวจสอบพบว่าเอกชนทำความผิดจริง แต่กลับไม่ยอมดำเนินการตามกฎหมายก็ต้องมีความผิดเช่นกัน แต่จะเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผลที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กับหน่วยงานในสังกัดก่อน
ด้าน นายธนวัฒน์ สนิทศักดิ์ดี เจ้าหน้าที่สืบสวนชำนาญการคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสนามแข่งรถโบนันซ่า ว่า พบประเด็นที่ นายไพวงษ์ มีชื่อเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่( ภบท.5) ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเรียกเข้าให้ปากคำในฐานะที่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินด้วย
ขณะที่ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ์ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบของสำนักป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า บริเวณป่าเขาหนามด้านทิศใต้ของสนามแข่งรถฯ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า เขานกยูง เขาอ่างหิน พบว่าพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ 5 แปลง แต่พื้นที่จำนวนหนึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งถูกบุกรุกจำนวน 103 ไร่ เมื่อรวมกับสวนป่าปากช่องอีกราว 30 ไร่ คิดเป็นค่าเสียหายราว 7,094,259.64 บาท โดยขณะนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหากับทางโบนันซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ ได้แก่ 1.พ.ร.บ.ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 54,55 และ 72 ตรี 2.พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14,31 3.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9(1) ,18ทวิ 4.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 97 และ 5.พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 15
ช่วงเช้าวันเดียวกัน นายสุนทร กันหาจันทร์ หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นม.1 (ปากช่อง) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบรังวัดอย่างละเอียดพบว่าพื้นที่สนามแข่งรถฯ มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า เขานกยูง เขาอ่างหิน จำนวน 103 ไร่ ตนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ.ปากช่อง เพื่อให้ดำเนินคดีต่อ นายนิธิศเชษฐ์ สิทธิเจริญกุล ผู้ดูแลสนามแข่งรถฯ ในข้อหาบุกรุกแผ้วถางก่นสร้างครอบครองป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีโทษจำคุก 20 ปี ปรับ 150,000 บาท/ไร่ พร้อมควบคุมตัวผู้ต้องหา ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวนด้วย เบื้องต้นผู้ต้องหาปฏิเสธว่าไม่ได้มีเจตนาบุกรุกและไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวน ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายต่อไป
นายคเชน ใยสุ่น ปลัด อบต.ขนงพระ กล่าวว่า พื้นที่ก่อสร้างอาคารที่พักไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนสนามแข่งรถและอาคารต่างๆ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เนื่องจากมีทั้งพื้นที่ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ต้องสั่งให้รื้อถอน แต่ยอมรับว่าบริเวณดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบค่อนข้างยากจริงๆ แต่ไม่ได้หนักใจแต่อย่างใดเพราะทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย