นายสมชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เชิญนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมชี้แจงต่อที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษีหลายด้าน ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังศึกษาการลดหย่อนภาษีหลายรายการ เพราะปัจจุบันมีการลดหย่อนกว่า 20 รายการ เช่น เบี้ยประกันชีวิต เงินซื้อกองทุน LTF RMF และการกำหนดค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา เพราะปัจจุบันกำหนดให้บุคคลธรรมดามีรายได้ 150,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี เมื่อคำนวณรวมกับค่าลดหย่อนต่าง ๆ จะมีค่าลดหย่อนประมาณ 24,000 บาท เท่ากับผู้มีรายได้ 20,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี จึงต้องศึกษาค่าลดหย่อนต่าง ๆ ให้เป็นจริงมากที่สุด
นายประสงค์ กล่าวต่อไปว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอในการกำหนดร่างรัฐธรรมนูญด้วยการให้ทุกคนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี แม้จะมีรายได้ไม่ถึงกำหนดต้องเสียภาษี เพื่อให้รัฐบาลมีฐานข้อมูลการจัดเก็บภาษี โดยเป็นแบบ ภงด.แบบง่าย เพื่อให้รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย และเห็นด้วยกับแนวทางการแยกฐานจัดเก็บภาษีในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่กังวลเกี่ยวกับการแยกงบประมาณ 2 ขา ในรัฐธรรมนูญ เพราะนอกจากกำหนด พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายแล้ว ยังต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.รายรับและกำหนดเป้าหมายการจัดเก็บภาษีในร่างงบประมาณแต่ละปี เพื่อระบุแหล่งที่มาของเงิน ทั้งจากเงินกู้ รายได้ภาษี นำไปสู่การชำระหนี้จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล เพราะหากกำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญอาจกระทบต่อการกู้เงินสำหรับโครงการด้านสังคม เช่น สวนสัตว์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพราะจะไม่ได้ผลคืนเป็นเงิน แต่ได้ประโยชน์ในเรื่องความรู้ รวมถึงการสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางต่าง ๆ เพราะต้องดูแลควบคุมค่าโดยสารไม่ให้สูงมาก จึงมีรายได้ผลตอบแทนไม่สูงมาก แต่เป็นประโยชน์การเดินทางของประชาชน ความเจริญตามมาจากเส้นทางรถไฟฟ้า การไม่ต้องอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ เพราะเดินทางไปมาสะดวก จึงทำให้การกู้เงินดังกล่าวขัดแย้งกับผลตอบแทนเชิงตัวเลข
นายประสงค์ กล่าวต่อไปว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอในการกำหนดร่างรัฐธรรมนูญด้วยการให้ทุกคนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี แม้จะมีรายได้ไม่ถึงกำหนดต้องเสียภาษี เพื่อให้รัฐบาลมีฐานข้อมูลการจัดเก็บภาษี โดยเป็นแบบ ภงด.แบบง่าย เพื่อให้รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย และเห็นด้วยกับแนวทางการแยกฐานจัดเก็บภาษีในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่กังวลเกี่ยวกับการแยกงบประมาณ 2 ขา ในรัฐธรรมนูญ เพราะนอกจากกำหนด พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายแล้ว ยังต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.รายรับและกำหนดเป้าหมายการจัดเก็บภาษีในร่างงบประมาณแต่ละปี เพื่อระบุแหล่งที่มาของเงิน ทั้งจากเงินกู้ รายได้ภาษี นำไปสู่การชำระหนี้จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล เพราะหากกำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญอาจกระทบต่อการกู้เงินสำหรับโครงการด้านสังคม เช่น สวนสัตว์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพราะจะไม่ได้ผลคืนเป็นเงิน แต่ได้ประโยชน์ในเรื่องความรู้ รวมถึงการสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางต่าง ๆ เพราะต้องดูแลควบคุมค่าโดยสารไม่ให้สูงมาก จึงมีรายได้ผลตอบแทนไม่สูงมาก แต่เป็นประโยชน์การเดินทางของประชาชน ความเจริญตามมาจากเส้นทางรถไฟฟ้า การไม่ต้องอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ เพราะเดินทางไปมาสะดวก จึงทำให้การกู้เงินดังกล่าวขัดแย้งกับผลตอบแทนเชิงตัวเลข