ฝรั่งเศส, เยอรมนี, และอิตาลี ต่างเดินตามหลังติดๆ เพื่อนสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) อย่างอังกฤษ โดยประกาศในวันอังคาร (17มี.ค.) ถึงแผนการที่จะเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ที่มีจีนเป็นหัวเรี่ยวแรง แม้เผชิญแรงกดดันจากแดนอินทรีไม่ให้เข้าร่วมวง และหลังจากพอทราบสถานการณ์แล้วว่าคงทัดทานไม่ไหว วอชิงตันก็แก้เกี้ยว ด้วยการแถลงว่าเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละประเทศเอง
ฝรั่งเศส, เยอรมนี, และอิตาลี ระบุความประสงค์เช่นนี้ในคำแถลงร่วมฉบับหนึ่งซึ่งนำออกเผยแพร่ในกรุงปารีส ขณะที่ในกรุงเบอร์ลิน ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันกับรองนายกรัฐมนตรี หม่า ไข่ ของจีน ภายหลังการพบปะหารือกันในวันอังคาร (17) เช่นกัน รัฐมนตรีคลัง โวล์ฟกัง ชอยเบิล ของเยอรมนี กล่าวว่า ประเทศของเขาตลอดจนอิตาลีและฝรั่งเศส “ต้องการที่จะนำเอาประสบการณ์อันยาวนานของพวกเรา … เข้าไปช่วยธนาคารแห่งใหม่นี้ในการสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันหนักแน่นมั่นคง”
“เราต้องการที่จะสร้างคุณูปการให้แก่การพัฒนาในทางบวกของเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งบรรดาบริษัทเยอรมันต่างกำลังเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยอย่างแข็งขันอยู่แล้ว” เขากล่าว
ก่อนหน้านี้เมื่อวันพฤหัสบดี (12) ที่แล้ว อังกฤษกลายเป็นชาติจากอียูและจากโลกตะวันตกรายแรก ซึ่งประกาศจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง AIIB อันเป็นความเคลื่อนไหวที่เห็นกันว่าจะเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับจีน
ความเคลื่อนไหวของชาติยุโรปเหล่านี้ เป็นไปตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ของอังกฤษ ซึ่งระบุด้วยว่า การตัดสินใจของ 4ชาติยุโรปคราวนี้ ถือเป็นความล้มเหลวทางการทูตครั้งใหญ่ของอเมริกา ที่ได้แต่ทวงถามซ้ำเดิมว่า แบงก์เพื่อการพัฒนาน้องใหม่รายนี้ จะมีมาตรฐานสูงพอในด้านธรรมาภิบาล รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือไม่
นอกจากนั้น AIIB ยังถูกมองว่า เป็นส่วนหนึ่งของการแผ่ขยาย “อำนาจละมุน” ของจีนในภูมิภาค และเป็นไปได้ว่า ผู้สูญเสียเป็นใครไปไม่ได้นอกจากอเมริกา
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนรายงานว่า เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก กำลังพิจารณาเข้าร่วม AIIB เช่นกัน
ฝรั่งเศส, เยอรมนี, และอิตาลี ระบุความประสงค์เช่นนี้ในคำแถลงร่วมฉบับหนึ่งซึ่งนำออกเผยแพร่ในกรุงปารีส ขณะที่ในกรุงเบอร์ลิน ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันกับรองนายกรัฐมนตรี หม่า ไข่ ของจีน ภายหลังการพบปะหารือกันในวันอังคาร (17) เช่นกัน รัฐมนตรีคลัง โวล์ฟกัง ชอยเบิล ของเยอรมนี กล่าวว่า ประเทศของเขาตลอดจนอิตาลีและฝรั่งเศส “ต้องการที่จะนำเอาประสบการณ์อันยาวนานของพวกเรา … เข้าไปช่วยธนาคารแห่งใหม่นี้ในการสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันหนักแน่นมั่นคง”
“เราต้องการที่จะสร้างคุณูปการให้แก่การพัฒนาในทางบวกของเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งบรรดาบริษัทเยอรมันต่างกำลังเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยอย่างแข็งขันอยู่แล้ว” เขากล่าว
ก่อนหน้านี้เมื่อวันพฤหัสบดี (12) ที่แล้ว อังกฤษกลายเป็นชาติจากอียูและจากโลกตะวันตกรายแรก ซึ่งประกาศจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง AIIB อันเป็นความเคลื่อนไหวที่เห็นกันว่าจะเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับจีน
ความเคลื่อนไหวของชาติยุโรปเหล่านี้ เป็นไปตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ของอังกฤษ ซึ่งระบุด้วยว่า การตัดสินใจของ 4ชาติยุโรปคราวนี้ ถือเป็นความล้มเหลวทางการทูตครั้งใหญ่ของอเมริกา ที่ได้แต่ทวงถามซ้ำเดิมว่า แบงก์เพื่อการพัฒนาน้องใหม่รายนี้ จะมีมาตรฐานสูงพอในด้านธรรมาภิบาล รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือไม่
นอกจากนั้น AIIB ยังถูกมองว่า เป็นส่วนหนึ่งของการแผ่ขยาย “อำนาจละมุน” ของจีนในภูมิภาค และเป็นไปได้ว่า ผู้สูญเสียเป็นใครไปไม่ได้นอกจากอเมริกา
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนรายงานว่า เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก กำลังพิจารณาเข้าร่วม AIIB เช่นกัน