นางทิชา ณ นคร แถลงเปิดใจถึงสาเหตุการยื่นลาออกจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในฐานะที่เป็นอดีตกรรมาธิการฯ เสียงข้างน้อย รู้สึกหมดหวัง หมดศรัทธาที่จะสื่อสารกับกรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ในประเด็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับเพศหญิง ทั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และสภาท้องถิ่น เพื่อมุ่งหวังที่จะเปิดพื้นที่ให้เพศหญิงเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความสมดุล ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านทางสังคมที่ต้องอาศัยมาตรการพิเศษชั่วคราวเข้าไปหนุน ซึ่งกลไกที่มีหลักประกันที่สุด คือการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงเก่งบางกลุ่มอาจไม่เห็นด้วย เพราะตีความว่าเป็นสิทธิพิเศษ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ผู้หญิงในท้องถิ่น หรือผู้หญิงในเมืองใหญ่ที่มีความรู้ แต่ไม่ได้มาจากตระกูลนักการเมือง โอกาสที่จะนำประสบการณ์ที่แตกต่างเข้าไปสร้างสมดุลในพื้นที่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถนนสู่การเมืองถูกออกแบบโดยผู้ชายเพื่อผู้ชายมาอย่างยาวนาน ด้วยโลกทัศน์และมุมมองที่ต่างกัน ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวต้องจบด้วยการถูกแขวนไม่ต่ำวก่า 3 ครั้ง
ทั้งนี้ นางทิชา กล่าวว่า ต้องขอบคุณนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ช่วยขยายความให้กรรมาธิการฯ เสียงข้างมากทราบว่ากลไกสัดส่วนผู้หญิงในพื้นที่การตัดสินใจนโยบายสาธารณะนั้น เป็นหนึ่งในภารกิจขององค์การสหประชาชาติแล้ว และไม่โหวดในประเด็นดังกล่าว แต่กรรมาธิการฯ เสียงข้างมากยืนยันว่าต้องโหวต เพื่อยุติการอภิปราย
นางทิชา กล่าวว่า เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกัน ตนจึงอยู่ต่อไม่ได้ สำหรับการตัดสินใจลาออกจากสมาชิก สปช.และกรรมาธิการยกร่างฯ อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในทัศนะของบุคคลอื่น แต่สำหรับตน เมื่อสถานการณ์บ่งชี้ว่าไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรทำได้ ตนก็ไม่สมควรทำหน้าที่นี้ต่อไป เพราะเท่ากับว่าตนได้หมดความเคารพต่อตัวเองไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงเก่งบางกลุ่มอาจไม่เห็นด้วย เพราะตีความว่าเป็นสิทธิพิเศษ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ผู้หญิงในท้องถิ่น หรือผู้หญิงในเมืองใหญ่ที่มีความรู้ แต่ไม่ได้มาจากตระกูลนักการเมือง โอกาสที่จะนำประสบการณ์ที่แตกต่างเข้าไปสร้างสมดุลในพื้นที่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถนนสู่การเมืองถูกออกแบบโดยผู้ชายเพื่อผู้ชายมาอย่างยาวนาน ด้วยโลกทัศน์และมุมมองที่ต่างกัน ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวต้องจบด้วยการถูกแขวนไม่ต่ำวก่า 3 ครั้ง
ทั้งนี้ นางทิชา กล่าวว่า ต้องขอบคุณนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ช่วยขยายความให้กรรมาธิการฯ เสียงข้างมากทราบว่ากลไกสัดส่วนผู้หญิงในพื้นที่การตัดสินใจนโยบายสาธารณะนั้น เป็นหนึ่งในภารกิจขององค์การสหประชาชาติแล้ว และไม่โหวดในประเด็นดังกล่าว แต่กรรมาธิการฯ เสียงข้างมากยืนยันว่าต้องโหวต เพื่อยุติการอภิปราย
นางทิชา กล่าวว่า เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกัน ตนจึงอยู่ต่อไม่ได้ สำหรับการตัดสินใจลาออกจากสมาชิก สปช.และกรรมาธิการยกร่างฯ อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในทัศนะของบุคคลอื่น แต่สำหรับตน เมื่อสถานการณ์บ่งชี้ว่าไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรทำได้ ตนก็ไม่สมควรทำหน้าที่นี้ต่อไป เพราะเท่ากับว่าตนได้หมดความเคารพต่อตัวเองไปแล้ว