การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ เริ่มเวลา 09.30 น. โดยก่อนเข้าสู่วาระ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รายงานความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต่อ สนช.เป็นครั้งแรก ยืนยันว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ โดยคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ปลายเดือนมีนาคมนี้ และนำส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ในวันที่ 17 เมษายน หากมีการขอแก้ไข จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 25 พฤษภาคม
หลังจากนั้น จะมีเวลา 60 วัน ในการพิจารณาปรับแก้ไข และส่งร่างที่แก้ไขแล้วกลับไปยัง สปช.พิจารณาภายในวันที่ 23 กรกฎาคม โดย สปช.จะลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ภายในวันที่ 6 สิงหาคม หากเห็นชอบ ให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายในวันที่ 4 กันยายนนี้ ดังนั้น หาก สนช.มีข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติใด ขอให้ส่งความเห็นมาที่ตนเองโดยตรง
ทั้งนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เพิ่มบทบัญญัติสำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีเกิดวิกฤตในบ้านเมืองในกรณีที่มีปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้ ให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดในประเด็นนั้น เพื่อป้องกันการอ้างถึงการนำมาตรา 7 มาใช้
นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบัญญัติที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีการบัญญัติเพิ่มเติมว่า พลเมืองต้องไม่กระทำการให้เกิดความเกลียดชัง และใช้ความรุนแรงระหว่างกัน
จากนั้น จึงเป็นการพิจารณาวาระรับทราบผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง รวมถึงวาระการพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญ 7 ฉบับ เช่น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้เสนอ และฉบับที่ประธาน ป.ป.ช.เป็นผู้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็น หรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพิเศษ โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุทางการแพทย์ และร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร เป็นต้น
หลังจากนั้น จะมีเวลา 60 วัน ในการพิจารณาปรับแก้ไข และส่งร่างที่แก้ไขแล้วกลับไปยัง สปช.พิจารณาภายในวันที่ 23 กรกฎาคม โดย สปช.จะลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ภายในวันที่ 6 สิงหาคม หากเห็นชอบ ให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายในวันที่ 4 กันยายนนี้ ดังนั้น หาก สนช.มีข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติใด ขอให้ส่งความเห็นมาที่ตนเองโดยตรง
ทั้งนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เพิ่มบทบัญญัติสำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีเกิดวิกฤตในบ้านเมืองในกรณีที่มีปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้ ให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดในประเด็นนั้น เพื่อป้องกันการอ้างถึงการนำมาตรา 7 มาใช้
นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบัญญัติที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีการบัญญัติเพิ่มเติมว่า พลเมืองต้องไม่กระทำการให้เกิดความเกลียดชัง และใช้ความรุนแรงระหว่างกัน
จากนั้น จึงเป็นการพิจารณาวาระรับทราบผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง รวมถึงวาระการพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญ 7 ฉบับ เช่น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้เสนอ และฉบับที่ประธาน ป.ป.ช.เป็นผู้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็น หรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพิเศษ โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุทางการแพทย์ และร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร เป็นต้น