วานนี้ (16ก.พ.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง ไม่รับคำฟ้องที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค น.ส.รสนา โตสิตระกูล กับพวกรวม 1,455 คน ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รมว.พลังงาน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รมว.คลัง เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-5 กรณี ขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 5 ร่วมกันดำเนินการแบ่งแยกระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จำนวน 8 โครงการ ในทะเล 4โครงการ คือ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง-โรงไฟฟ้าบางปะกง(ท่อสายประธานและท่อคู่ขนาน) โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง-โรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ท่อสายประธาน) โครงการบางพลี-สระบุรี (ท่อสายประธาน) โครงการแหล่งน้ำพอง-โรงไฟฟ้าลำน้ำพอง โครงการเอราวัณ-โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง (ท่อสายประธานและท่อคู่ขนาน) โครงการแหล่งบงกช-เอราวัณ (ท่อสายประธาน) โครงการเอราวัณ-โรงไฟฟ้าขนอม และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลแหล่งอาทิตย์-โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง
โดยศาลเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดประสงค์ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่ ฟ. 35/2550 ที่พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ ออกจากอำนาจและสิทธิของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ส่วนคำขอตามฟ้องที่ขอให้เพิกถอนพ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 และ พ.ร.ฎ. กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2544 นั้น ให้ยก จึงมีลักษณะเป็นการร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา แต่โดยที่ในคดีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 4 คน มีคำขอท้ายฟ้องเพียงข้อเดียว คือขอให้ศาลเพิกถอนพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) 2544 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม พ.ศ. 2544 ซึ่งศาลปกครอง มีคำพิพากษายกคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 4 คน
ดังนั้น ผู้ผู้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 4 คน จึงไม่ใช่คู่ความ หรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ที่มีสิทธิจะร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ รวมทั้งก่อนหน้านี้ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ที่ 2 และที่ 226 ได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลปกครองสูงสุดในคดี ฟ. 35/2550 ไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องคืนกระทรวงการคลัง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าวพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา จึงไม่มีสิทธิบังคับคดี และผู้ถูกฟ้องที่ 1 ถึงผู้ถูกฟ้องที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงให้ยกคำร้อง ซึ่งการที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 1455 คน นำคดีมาฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ร่วมกันแบ่งทรัพย์สินที่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องคืนแก่กระทรวงการคลังในคดีนี้ เป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดี หรือประเด็นข้อใด แห่งคดีที่ศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ 35/2550 ได้วินิจฉัยแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 96 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2553
ส่วนที่อ้างว่า คำร้องของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ฉบับลงวันที่ 25 ธ.ค.51 ที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งผลการตรวจสอบยืนยันว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่กระทรวงการคลังไม่ถูกต้องครบถ้วน จึงเป็นการรายงานสรุปการดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กระทรวงการคลังไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดอ้างว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ครม.กำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐ ภายใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นการดำเนินการที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดย ครม.เท่านั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุด จึงเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น
โดยศาลเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดประสงค์ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่ ฟ. 35/2550 ที่พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ ออกจากอำนาจและสิทธิของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ส่วนคำขอตามฟ้องที่ขอให้เพิกถอนพ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 และ พ.ร.ฎ. กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2544 นั้น ให้ยก จึงมีลักษณะเป็นการร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา แต่โดยที่ในคดีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 4 คน มีคำขอท้ายฟ้องเพียงข้อเดียว คือขอให้ศาลเพิกถอนพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) 2544 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม พ.ศ. 2544 ซึ่งศาลปกครอง มีคำพิพากษายกคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 4 คน
ดังนั้น ผู้ผู้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 4 คน จึงไม่ใช่คู่ความ หรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ที่มีสิทธิจะร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ รวมทั้งก่อนหน้านี้ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ที่ 2 และที่ 226 ได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลปกครองสูงสุดในคดี ฟ. 35/2550 ไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องคืนกระทรวงการคลัง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าวพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา จึงไม่มีสิทธิบังคับคดี และผู้ถูกฟ้องที่ 1 ถึงผู้ถูกฟ้องที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงให้ยกคำร้อง ซึ่งการที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 1455 คน นำคดีมาฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ร่วมกันแบ่งทรัพย์สินที่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องคืนแก่กระทรวงการคลังในคดีนี้ เป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดี หรือประเด็นข้อใด แห่งคดีที่ศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ 35/2550 ได้วินิจฉัยแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 96 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2553
ส่วนที่อ้างว่า คำร้องของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ฉบับลงวันที่ 25 ธ.ค.51 ที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งผลการตรวจสอบยืนยันว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่กระทรวงการคลังไม่ถูกต้องครบถ้วน จึงเป็นการรายงานสรุปการดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กระทรวงการคลังไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดอ้างว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ครม.กำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐ ภายใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นการดำเนินการที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดย ครม.เท่านั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุด จึงเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น