การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในวันนี้ (19 ก.พ.) เริ่มด้วยการรับฟังรายงานความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก โดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการฯ ยืนยันว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกรอบเวลา โดยจะเสร็จสมบูรณ์ปลายเดือนมีนาคมนี้ และนำส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณาได้วันที่ 17 เมษายน ตามที่กำหนดไว้ หากมีการขอแก้ไขจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 25 พฤษภาคม หลังจากนั้นจะมีเวลา 60 วัน ในการพิจารณาปรับแก้ไข และส่งร่างที่แก้ไขแล้วกลับไปให้ สปช. พิจารณาภายในวันที่ 23 กรกฎาคม ซึ่ง สปช.จะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบภายในวันที่ 6 สิงหาคม หากเห็นชอบให้นำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายในวันที่ 4 กันยายนนี้
ทั้งนี้ ยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เพิ่มบทบัญญัติสำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีเกิดวิกฤตในบ้านเมือง ในกรณีที่มีปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้ ให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดในประเด็นนั้น เพื่อป้องกันการอ้างถึงมาตรา 7 นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบัญญัติที่ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีการบัญญัติเพิ่มเติมว่าพลเมืองต้องไม่กระทำการให้เกิดความเกลียดชังและใช้ความรุนแรงระหว่างกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบรายงานการรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอต่อ สนช. พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะและรวบรวมความเห็นเพื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
ทั้งนี้ ยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เพิ่มบทบัญญัติสำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีเกิดวิกฤตในบ้านเมือง ในกรณีที่มีปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้ ให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดในประเด็นนั้น เพื่อป้องกันการอ้างถึงมาตรา 7 นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบัญญัติที่ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีการบัญญัติเพิ่มเติมว่าพลเมืองต้องไม่กระทำการให้เกิดความเกลียดชังและใช้ความรุนแรงระหว่างกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบรายงานการรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอต่อ สนช. พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะและรวบรวมความเห็นเพื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย