เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการปปง. แถลงผลยึดและอายัดทรัพย์สินของแก๊งลักทรัพย์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยเป็นการยึดทรัพย์สินเพิ่มเติม จากที่ตำรวจยึดไว้ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นรอบแรก ปปง.ยึดรวม 178 รายการ มูลค่าทรัพย์สินกว่า100 ล้านบาท เป็นบัญชีเงินฝากธนาคาร 130 รายการสลากออมสิน 7 รายการ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 30 รายการ ห้องชุด 2 รายการ รถยนต์หรู 6 รายการ และรถจักรยานยนต์ 3 รายการ ทั้งนี้คำสั่งปปง. ให้ยึดทรัพย์ไว้ชั่วคราวรวมทรัพย์สิน 6 คำสั่ง 178 รายการนี้ มีเจ้าของรวม 24 ราย เป็นนิติบุคคล 3 ราย บุคคล 21 ราย
ทั้งนี้ในจำนวนทรัพย์สินที่ยึดอายัด มีรถแลมโบกินีของ นายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือ "บอย-ปกรณ์" พระเอกชื่อดัง รวมอยู่ด้วย ซึ่งปปง. จะมีหนังสือถึงบอยให้เร่งนำรถมาส่งมอบ ปปง.โดยเร็ว หากไม่นำส่ง ปปง.ก็จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ตามไปยึดรถเอง หลังจากนี้ ปปง. จะเรียกเจ้าของทรัพย์มาชี้แจงภายใน 90 วัน หากชี้แจงฟังได้ถึงที่มาที่ไปของทรัพย์สินได้ ปปง. จะเสนอคณะกรรมการธุรกรรมเพิกถอน แต่ถ้าชี้แจงไม่ได้ ก็จะส่งศาลให้ยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดินต่อไป
เลขาธิการปปง.กล่าวอีกว่า ทรัพย์สินที่ยึดครั้งนี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้มีการยักย้าย เชื่อว่ายังมีทรัพย์สินที่มีการซุกซ่อน หรือโอนไปอยู่ในการครอบครองของบุคคลอื่นอีกจำนวนมาก ซึ่งปปง.อยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบขยายผลยึดเพิ่มเติม โดยทรัพย์สินที่ยึดและอายัดครั้งนี้ เป็นการตรวจสอบพบความผิดปกติของการทำธุรกรรม จากรายงานของธนาคารเช่น รถยนต์ของนายปกรณ์ ที่เคยเข้าให้การแสดงความบริสุทธิ์ใจกับตำรวจ ซึ่งการสอบสวนนายปกรณ์จะถือว่ามีความผิดอาญาหรือไม่เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ ปปง.ตรวจสอบเฉพาะเรื่องการได้รับทรัพย์สิน ซึ่งพบความผิดปกติ
เนื่องจากรถคันดังกล่าวนายปกรณ์ซื้อต่อจากนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ที่นำเงินที่ได้รับตรงจาก สจล.มาซื้อรถคันดังกล่าวในราคา 19.5 ล้านบาท ดังนั้นรถดังกล่าว จึงถือเป็นทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดทำให้ปปง.ต้องยึดอายัดไว้ ที่สำคัญคือประเด็นที่มีการนำรถมาขายต่อให้นายปกรณ์เพียง 13.5 ล้านบาทต่ำกว่าราคาที่ซื้อจริงมาก ซึ่งปกติคงไม่มีใครนำรถมาขายในราคานี้ โดยปปง.จะต้องเรียกบริษัท คาร์แท็ก พระราม 9 ที่เป็นโชว์รูมรถดังกล่าว มาชี้แจงด้วยว่ามีการรายงานธุรกรรมเงินสดจากการซื้อขายรถมายังปปง.ตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่รายงานต้องมีโทษปรับ
ส่วนกรณี น.ส.สาวิกา ไชยเดช ดาราสาวที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนบริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัดของนายกิตติศักดิ์จะถือว่ามีความผิดหรือไม่ เลขาธิการปปง. กล่าวว่า กรณีที่มีการลงนามรับรองเป็นหุ้นส่วน ปปง. ถือว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ แต่หากเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยที่ยังไม่มีการได้รับผลประโยชน์ หรือทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดปปง. จะยังไม่ยึดและอายัดทรัพย์แต่หากพบว่า มีส่วนได้รับผลประโยช์ปปง.ก็จำเป็นต้องยึดอายัดทรัพย์ไว้ตรวจสอบด้วย รูปแบบธุรกรรมที่ยึดอายัดทรัพย์ไว้ล็อตแรก เป็นการทำธุรกรรมที่มีรูปแบบไม่สลับซับซ้อนส่วนใหญ่เป็นการรับตรงจาก สจล. แต่ปปง.ยังตรวจสอบบุคคลอีกจำนวนมากที่เชื่อมโยงกับเงินก้อนใหญ่ที่หายไป โดยการยึดอายัดของปปง. เป็นการยึดอายัดทรัพย์คนละก้อนกับตำรวจ
สำหรับชื่อเจ้าของทรัพย์ทั้ง 178 รายการ ประกอบด้วย 1. นายทรงกลด ศรีประสงค์ 2. น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ 3. นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด 4. นายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ 5. นายพูนศักดิ์ บุญสวัสดิ์ 6. นายจิรัฏฐ์ศิริภัครวรกุล 7. นางระดม มัทธุจัด 8. น.ส. จุฑารัตน์ ปัดภัย 9. นายสมศักดิ์ ยอดย้อย 10. นายจิตร แผนดี 11. น.ส.จันทร์จิรา โสประดิษฐ์ 12.นางสมบัติ โสประดิษฐ์ 13. นายอเนก ยั่งเจริญ 14. น.ส.โสมจำรัส แจ่มจำรัส 15. น.ส.วันเพ็ญ นิ่มเรือง 16. นายสุกฤษ เขียนนันใจ 17. นายปฐมพงษ์ ศรีโรจน์ 18. นายสมพงษ์ สหพรอุดมการณ์ 19. นายสุรพล ตรงต่อกิจ 20. นางนกคล้า ตรงต่อกิจ 21. นายสนั่น มัทธุจัด 22. บริษัทมัทธุจัดจำกัด 23. บริษัทแกรนด์ บัคเก็ต ยูนิเวอร์แซล เซอร์วิส จำกัด และ 24. บริษัทแอคติ้งวันเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
ทั้งนี้จากการตรวจสอบธุรกรรม พบรูปแบบความเชื่อมโยงของกลุ่มดังกล่าวโดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการโอนเงินตรงจาก สจล. โดยข้อมูลที่พบเช่น น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ พบการทำธุรกรรมล็อตใหญ่ 12 ครั้งเป็นเงินกว่า 53 ล้านบาท โดยรับโอนตรงจากสจล. และโอนต่อให้นายกิตติศักดิ์ ซึ่งนำไปทำธุรกรรมต่อเป็นเงินกว่า 246 ล้านบาทโดยเป็นการโอนเพื่อซื้อขายที่ดิน ซื้อสลากออมสินและรถยนต์หรู ซึ่ง นายปกรณ์ เป็นผู้ซื้อรถต่อจาก นายกิตติศักดิ์ ในราคาผิดปกติ นอกจากนี้ ยังพบการทำธุรกรรมต้องสงสัยของนายพูนศักดิ์ บุญสวัสดิ์ จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 94 ล้านบาท และพบการโอนต่อจากนายพูนศักดิ์ ไปให้นายกิตติศักดิ์ ขณะเดียวกันยังพบความเชื่อมโยงในการทำธุรกรรมของ นายทรงกลด ศรีประสงค์ ในการทำธุรกรรม 1 ครั้งมูลค่า 2 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและมีการโอนต่อไปมากับนายจิรัฏฐ์ ศิริภัครวรกุล ซึ่งนายจิรัฏฐ์ มีการโอนต่อไปอีกหลายบัญชีรวมมูลค่ากว่า 115 ล้านบาท
ทั้งนี้ในจำนวนทรัพย์สินที่ยึดอายัด มีรถแลมโบกินีของ นายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือ "บอย-ปกรณ์" พระเอกชื่อดัง รวมอยู่ด้วย ซึ่งปปง. จะมีหนังสือถึงบอยให้เร่งนำรถมาส่งมอบ ปปง.โดยเร็ว หากไม่นำส่ง ปปง.ก็จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ตามไปยึดรถเอง หลังจากนี้ ปปง. จะเรียกเจ้าของทรัพย์มาชี้แจงภายใน 90 วัน หากชี้แจงฟังได้ถึงที่มาที่ไปของทรัพย์สินได้ ปปง. จะเสนอคณะกรรมการธุรกรรมเพิกถอน แต่ถ้าชี้แจงไม่ได้ ก็จะส่งศาลให้ยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดินต่อไป
เลขาธิการปปง.กล่าวอีกว่า ทรัพย์สินที่ยึดครั้งนี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้มีการยักย้าย เชื่อว่ายังมีทรัพย์สินที่มีการซุกซ่อน หรือโอนไปอยู่ในการครอบครองของบุคคลอื่นอีกจำนวนมาก ซึ่งปปง.อยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบขยายผลยึดเพิ่มเติม โดยทรัพย์สินที่ยึดและอายัดครั้งนี้ เป็นการตรวจสอบพบความผิดปกติของการทำธุรกรรม จากรายงานของธนาคารเช่น รถยนต์ของนายปกรณ์ ที่เคยเข้าให้การแสดงความบริสุทธิ์ใจกับตำรวจ ซึ่งการสอบสวนนายปกรณ์จะถือว่ามีความผิดอาญาหรือไม่เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ ปปง.ตรวจสอบเฉพาะเรื่องการได้รับทรัพย์สิน ซึ่งพบความผิดปกติ
เนื่องจากรถคันดังกล่าวนายปกรณ์ซื้อต่อจากนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ที่นำเงินที่ได้รับตรงจาก สจล.มาซื้อรถคันดังกล่าวในราคา 19.5 ล้านบาท ดังนั้นรถดังกล่าว จึงถือเป็นทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดทำให้ปปง.ต้องยึดอายัดไว้ ที่สำคัญคือประเด็นที่มีการนำรถมาขายต่อให้นายปกรณ์เพียง 13.5 ล้านบาทต่ำกว่าราคาที่ซื้อจริงมาก ซึ่งปกติคงไม่มีใครนำรถมาขายในราคานี้ โดยปปง.จะต้องเรียกบริษัท คาร์แท็ก พระราม 9 ที่เป็นโชว์รูมรถดังกล่าว มาชี้แจงด้วยว่ามีการรายงานธุรกรรมเงินสดจากการซื้อขายรถมายังปปง.ตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่รายงานต้องมีโทษปรับ
ส่วนกรณี น.ส.สาวิกา ไชยเดช ดาราสาวที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนบริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัดของนายกิตติศักดิ์จะถือว่ามีความผิดหรือไม่ เลขาธิการปปง. กล่าวว่า กรณีที่มีการลงนามรับรองเป็นหุ้นส่วน ปปง. ถือว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ แต่หากเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยที่ยังไม่มีการได้รับผลประโยชน์ หรือทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดปปง. จะยังไม่ยึดและอายัดทรัพย์แต่หากพบว่า มีส่วนได้รับผลประโยช์ปปง.ก็จำเป็นต้องยึดอายัดทรัพย์ไว้ตรวจสอบด้วย รูปแบบธุรกรรมที่ยึดอายัดทรัพย์ไว้ล็อตแรก เป็นการทำธุรกรรมที่มีรูปแบบไม่สลับซับซ้อนส่วนใหญ่เป็นการรับตรงจาก สจล. แต่ปปง.ยังตรวจสอบบุคคลอีกจำนวนมากที่เชื่อมโยงกับเงินก้อนใหญ่ที่หายไป โดยการยึดอายัดของปปง. เป็นการยึดอายัดทรัพย์คนละก้อนกับตำรวจ
สำหรับชื่อเจ้าของทรัพย์ทั้ง 178 รายการ ประกอบด้วย 1. นายทรงกลด ศรีประสงค์ 2. น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ 3. นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด 4. นายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ 5. นายพูนศักดิ์ บุญสวัสดิ์ 6. นายจิรัฏฐ์ศิริภัครวรกุล 7. นางระดม มัทธุจัด 8. น.ส. จุฑารัตน์ ปัดภัย 9. นายสมศักดิ์ ยอดย้อย 10. นายจิตร แผนดี 11. น.ส.จันทร์จิรา โสประดิษฐ์ 12.นางสมบัติ โสประดิษฐ์ 13. นายอเนก ยั่งเจริญ 14. น.ส.โสมจำรัส แจ่มจำรัส 15. น.ส.วันเพ็ญ นิ่มเรือง 16. นายสุกฤษ เขียนนันใจ 17. นายปฐมพงษ์ ศรีโรจน์ 18. นายสมพงษ์ สหพรอุดมการณ์ 19. นายสุรพล ตรงต่อกิจ 20. นางนกคล้า ตรงต่อกิจ 21. นายสนั่น มัทธุจัด 22. บริษัทมัทธุจัดจำกัด 23. บริษัทแกรนด์ บัคเก็ต ยูนิเวอร์แซล เซอร์วิส จำกัด และ 24. บริษัทแอคติ้งวันเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
ทั้งนี้จากการตรวจสอบธุรกรรม พบรูปแบบความเชื่อมโยงของกลุ่มดังกล่าวโดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการโอนเงินตรงจาก สจล. โดยข้อมูลที่พบเช่น น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ พบการทำธุรกรรมล็อตใหญ่ 12 ครั้งเป็นเงินกว่า 53 ล้านบาท โดยรับโอนตรงจากสจล. และโอนต่อให้นายกิตติศักดิ์ ซึ่งนำไปทำธุรกรรมต่อเป็นเงินกว่า 246 ล้านบาทโดยเป็นการโอนเพื่อซื้อขายที่ดิน ซื้อสลากออมสินและรถยนต์หรู ซึ่ง นายปกรณ์ เป็นผู้ซื้อรถต่อจาก นายกิตติศักดิ์ ในราคาผิดปกติ นอกจากนี้ ยังพบการทำธุรกรรมต้องสงสัยของนายพูนศักดิ์ บุญสวัสดิ์ จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 94 ล้านบาท และพบการโอนต่อจากนายพูนศักดิ์ ไปให้นายกิตติศักดิ์ ขณะเดียวกันยังพบความเชื่อมโยงในการทำธุรกรรมของ นายทรงกลด ศรีประสงค์ ในการทำธุรกรรม 1 ครั้งมูลค่า 2 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและมีการโอนต่อไปมากับนายจิรัฏฐ์ ศิริภัครวรกุล ซึ่งนายจิรัฏฐ์ มีการโอนต่อไปอีกหลายบัญชีรวมมูลค่ากว่า 115 ล้านบาท