ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ กรุงเทพมหานคร(กทม.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือถึงการแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรบริเวณถนนอโศกมนตรี ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ถูกรถชนจนเสียชีวิตว่า การประชุมเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เป็นการหารือครั้งแรก แต่ได้มีการหารือมานานมากกว่า 1 ปีแล้ว โดยจากการวิเคราะห์ร่วมกันพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากคนมีความรู้เรื่องการจราจร แต่ขาดมีวินัย โดยเฉพาะการไม่หยุดให้คนข้ามถนนแม้จะมีสัญญาณไฟ และเป็นทางม้าลายก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจากปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร ซึ่งพบว่าถนนแคบเกินไปสำหรับการสร้างสะพานลอย แต่กว้างไปสำหรับการข้ามถนนด้วยทางม้าลาย อีกทั้งถนนนี้เป็นถนนสายหลักที่ต้องเร่งระบายรถในชั่วโมงเร่งด่วน รถที่สัญจรไปมาจึงต้องใช้ความเร็ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับวิถีชีวิตการใช้ถนนของนิสิต และประชาชนทั่วไปที่มีหลายหมื่นคน บริเวณถนนอโศกมนตรี
อธิการบดี มศว กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะร่วมกันว่า ในระยะสั้นต้องเร่งสร้างวินัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน มีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี เพื่อปราบปรามไม่ให้มีผู้กระทำผิดกฎจราจร เพิ่มเส้นชะลอความเร็วก่อนถึงจุดข้ามถนน ปรับปรุงสัญญาณไฟจราจร โดยเพิ่มขนาด จำนวน และความสว่างของดวงไฟให้มากขึ้น ซึ่ง กทม.รับที่จะไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนี้ทั้งหมด ส่วนในระยะยาว ได้เสนอไว้ 3 ทางเลือกคือ การขุดอุโมงค์ลอดเพื่อข้ามถนน การสร้างสะพานลอย และการทำสกายวอล์คจากห้างสรรพสินค้าเทอมินอล 21 โดยทั้ง 3 ทางเลือกนี้ทาง กทม.ยืนยันว่าสามารถทำได้ทั้งหมด ส่วนจะเลือกดำเนินการในทางเลือกใดนั้นคงต้องหารือร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้งว่าทางเลือกใดจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งทาง มศว ยินดีที่จะรับเป็นผู้ประสานงานให้เกิดการประชุมหารือของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอให้ถนนอโศกมนตรี ระยะทาง 1 กิโลเมตรนี้ เป็นถนนตัวอย่าง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาการจราจรในถนนเส้นอื่นๆ ด้วย เช่น ถนนสีลม เป็นต้น
ด้าน น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษก กทม. กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นนโยบายสำคัญของผู้ว่าราชการ กทม. อยู่แล้ว ดังนั้นทาง กทม.ยินดีรับทุกข้อเสนอแนะ ซึ่งเรื่องงบประมาณ และการดำเนินการก่อสร้างในเรื่องต่างๆ นั้น ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรค แต่อุปสรรคมักจะเป็นเรื่องของความยินยอม และความพึงพอใจของคนในพื้นที่ จึงทำให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเกิดความล่าช้า เพราะการที่ กทม.จะก่อสร้างหรือทำอะไรขึ้นมานั้นจะคำนึงถึงความพอใจของทุกคนเป็นที่ตั้ง
อธิการบดี มศว กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะร่วมกันว่า ในระยะสั้นต้องเร่งสร้างวินัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน มีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี เพื่อปราบปรามไม่ให้มีผู้กระทำผิดกฎจราจร เพิ่มเส้นชะลอความเร็วก่อนถึงจุดข้ามถนน ปรับปรุงสัญญาณไฟจราจร โดยเพิ่มขนาด จำนวน และความสว่างของดวงไฟให้มากขึ้น ซึ่ง กทม.รับที่จะไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนี้ทั้งหมด ส่วนในระยะยาว ได้เสนอไว้ 3 ทางเลือกคือ การขุดอุโมงค์ลอดเพื่อข้ามถนน การสร้างสะพานลอย และการทำสกายวอล์คจากห้างสรรพสินค้าเทอมินอล 21 โดยทั้ง 3 ทางเลือกนี้ทาง กทม.ยืนยันว่าสามารถทำได้ทั้งหมด ส่วนจะเลือกดำเนินการในทางเลือกใดนั้นคงต้องหารือร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้งว่าทางเลือกใดจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งทาง มศว ยินดีที่จะรับเป็นผู้ประสานงานให้เกิดการประชุมหารือของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอให้ถนนอโศกมนตรี ระยะทาง 1 กิโลเมตรนี้ เป็นถนนตัวอย่าง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาการจราจรในถนนเส้นอื่นๆ ด้วย เช่น ถนนสีลม เป็นต้น
ด้าน น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษก กทม. กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นนโยบายสำคัญของผู้ว่าราชการ กทม. อยู่แล้ว ดังนั้นทาง กทม.ยินดีรับทุกข้อเสนอแนะ ซึ่งเรื่องงบประมาณ และการดำเนินการก่อสร้างในเรื่องต่างๆ นั้น ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรค แต่อุปสรรคมักจะเป็นเรื่องของความยินยอม และความพึงพอใจของคนในพื้นที่ จึงทำให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเกิดความล่าช้า เพราะการที่ กทม.จะก่อสร้างหรือทำอะไรขึ้นมานั้นจะคำนึงถึงความพอใจของทุกคนเป็นที่ตั้ง