*** กลายเป็นเรื่องเศร้าประเทศไทยไปแล้ว กรณี “วิเวียน”สาวแกรมมี่ถูกขยี้คาม้าลาย เจอเหตุตรึมทั้งความไม่เหมาะสมของสัญญาณไฟอัจฉริยะกับพฤติกรรมมักง่ายคนขับรถ ยังเจอขบวนการ “เอาดัง”กวาดวินัยจราจร เตรียมยกเป็นถนนโมเดลแต่พอเกิดเรื่องเงียบกริบ แถมสะพานลอยสร้างไม่ได้เจอกลุ่มผลประโยชน์ต้าน สุดท้ายจบที่ชีวิตคนไทยที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่****
แม้ร่างอันไร้วิญญาณของ น.ส.กาณจน์ภัสร์ ศิริประทุม หรือ วิเวียน ครีเอทีฟรายการ 2 สาวเล่าเรื่องของบริษัทเอ็กแซ็กท์ จำกัด จะถูกนำกลับไปยังมาตุภูมิแล้ว แต่อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นยังคงเป็นประเด็นร้อนในสังคมเมืองหลวงมีการแตกประเด็น สืบค้นถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันเพื่อมิให้เกิดเรื่องเศร้าสลดใจอีกต่อไป
**** เมื่อกลับไปดูข้อมูลต่างๆที่สื่อหลายแขนงนำเสนอทั้งในส่วนของความประมาทของโชเฟอร์ขับรถบรรทุก 4 ล้อยังรวมไปถึงการตรวจพบปัสสาวะสีม่วง และสารภาพภายหลังว่าเสพยาบ้ามาด้วย ยิ่งทำให้เกิดความหวาดวิตก เรียกว่าถึงกับช็อกความรู้สึกของสุจริตชนกันเลยทีเดียว เพราะไม่ใช่เรื่องของความประมาทเท่านั้นแต่ยังมียาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย****
จึงเกิดคำถามถามตามมาอีกมากมายเช่นนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณอย่างมหาศาลนั้นมีปัญหาอะไรหรือไม่ จำนวนผู้เสพมีจำนวนมากขึ้นหรือลดน้อยลง และที่สำคัญระบบตรวจสอบสารยาเสพติดกับกลุ่มเสี่ยงที่จะไปสร้างความเดือดร้อนกับสุจริตชนอื่นๆดังเช่นโชเฟอร์รายนี้ผ่านการรับเข้ามาเป็นลูกจ้าง และผ่านขั้นตอนอื่นๆมาได้อย่างไร
***อย่าลืมว่า เส้นทางที่ขับขี่ผ่านย่านธุรกิจ ย่านใจกลางเมืองหลวง ดูเหมือนว่าระบบการตรวจสอบ หรือป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย****
ขณะเดียวกันยังมีภาพอื่นๆอีกหลายมิติที่จะต้องติดตามกันอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของปัญหาทางเทคนิคของ "ระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ" ว่ามีความเหมาะสมกับพฤติกรรมสังคมไทยมากน้อยขนาดไหน โดยเฉพาะผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆบนท้องถนน จนหลายความเห็นที่โพสต์ผ่านมาในโลกโซเชียลฯต่างมองคล้ายๆกันว่าคนไทยบางส่วนซึ่งอาจจะเป็นส่วนน้อยแต่ก็มีความมักง่าย เห็นแก่ตัวจนเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆรวมทั้งปัญหาการจราจรที่ยังแก้ไม่ตก เช่นข้อมูลยืนยันจาก รศ.ดร.ธวัชชัย เหล่าศิริหงส์ทอง แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำนองว่า
**** “สัญญาณไฟพาคนข้ามถนนอัจฉริยะ” ล้มเหลว ทั้งไม่ช่วยให้ปลอดภัย ไม่ช่วยให้รู้สึกสะดวกสบาย ไม่ช่วยให้ลดเวลา
และร้ายที่สุดคือ 47.7 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนรอบการข้ามถนนมีผู้ขับขี่ไม่ยอมหยุดรถ เท่ากับเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แบบ 50/50 ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ และไม่มีทางเป็นไปได้ยกเว้นที่เดียวคือประเทศไทย****
สำหรับถนนอโศกมนตรี อันเป็นต้นเรื่องเศร้าสะเทือนใจนั้นยังมีประเด็นอื่นๆที่ควรหยิบยกมาวิพากษ์วิจารณ์กันโดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ของ 2 หน่วยงานคือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเมื่อเดือนกรกฏาคม ที่ผ่านมามีการระดมกวดขันวินัยการจราจร ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนและคนข้ามเคารพกฏและสัญญาณจราจรเพื่อความปลอดภัย
เฉพาะถนนอโศกมนตรี คึกคักไปด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจน้อยใหญ่ ยังรวมไปถึงข้าราชการจากกรุงเทพมหานคร มาร่วมรณรงค์ปรากฏเป็นข่าวทั้งทางจอโทรทัศน์ และหน้าหนังสือพิมพ์ เรียกว่าประสบความสำเร็จในด้านประชาสัมพันธ์อย่าล้นหลาม แต่ในความเป็นจริงหลังจากวันนั้นบรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนต่างก็กลับมาใช้พฤติกรรมเดิมๆ อาจจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตั้งโต๊ะปรับคนที่ไม่ข้ามทางม้าลายบ้างรายละ 100-200 บาท แต่รวมความแล้วการรณรงค์ที่ผ่านมาก็คือการโรยหน้าผักชี ไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่องและมองข้ามมัจจุราชใกล้ตัวอย่างไม่น่าให้อภัย
มัจจุราชที่ว่าก็คือระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ ที่ออกแบบไว้สำหรับสังคมอารยะ การนำมาผิดที่ผิดพฤติกรรมของมนุษย์พันธ์ไทยบางคนจึงกลายเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงเพราะคนข้ามเองส่วนมากก็มีความเชื่อมั่นในทางม้าลาย เชื่อมั่นในระบบสัญญาณไฟ และเชื่อมั่นกับทางการที่อุตส่าห์รณรงค์จนถึงขั้นจะยกให้เป็น “อโศกมนตรีโมเดล” แต่ด้วยระบบแบบไทยๆข้าราชการนิยมขายผักชีแบบไทยๆ จนเกิดเรื่องเศร้าสะเทือนใจขึ้น
อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตในครั้งนี้จึงมีหลายฝ่ายที่ควรตกเป็นจำเลยสังคมซึ่งแน่นอนว่าคนขับขี่ยวดยานจะต้องมาเป็นอันดับ 1 แต่ผู้เกี่ยวข้องรายต่อๆไปไม่ว่าจะเป็น สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส. กทม.) ในส่วนของตำรวจที่ตัองเอ่ยนามอาทิพล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ที่ปรึกษา สบ.10 พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รองผบช.น.ดูแลการจราจร พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผบก.จร. ต้องมีส่วนบกพร่องบ้างไม่มากก็น้อย
เหล่านี้คือตัวตั้งตัวตี คือหัวโจทก์ในการรณรงค์วินัยการจราจร แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ อุบัติเหตุร้ายแรงคร่าชีวิต วิเวียน ตายคาทางทางลาย ตายคาระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ ท่านทั้งหลายไม่เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นหรือ อาจจะคิดในมุมกลับว่าหากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ทำตัวเป็นคนเจ้าระเบียบ ไม่บงการประชาชนให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีลมหายของสาวแกรมมี่อาจยังคงยืนยาวต่อไปจนหมดอายุขัย จงอย่าเอ่ยว่าท่านทำด้วยเจตนาดี เพราะเจตนาดีที่ขาดความรอบครอบย่อมไม่ต่างกับหยิบยื่นอันตรายให้กับเขา
**** ประเด็นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับหลายชีวิตบนถนนอโศกมนตรี หากไม่พูดถึง “กลุ่มรักษ์อโศก”ก็คงไม่ครบถ้วนกระบวนความทั้งหมด “กลุ่มรักษ์อโศก”คือใคร ตอบอย่างไม่ต้องเกรงใจใครก็คือกลุ่มผลประโยชน์ในหลายรูปแบบของย่านนั้น ทั้งเจ้าของอาคาร บริวารว่านเครือที่ประกอบกิจการทั้งหลายทั้ง 2 ฝากฝั่งอโศก ก่อนหน้า กทม.เคยมีอภิมหาโปรเจคนับแสนล้าน จะสร้างถนนระยะทาง 3-4 กม.คร่อมถนนอโศกมนตรี จากสุขุมวิท ตัดเพชรบุรี ยันไปถึงพระราม 9 แต่ถูกกลุ่ม “รักษ์อโศก”คัดค้านอย่างหนัก แม้แต่สะพานลอยก็ยังไม่ให้สร้างโดยให้เหตุผลว่าทำให้เสียฮวงจุ้ย และเป็นที่แพร่หมักหมมของแบคทีเรีย****
ทุกเรื่อง ทุกประเด็น และทุกปัญหาแม้มิใช่ญาติ มิใช่เพื่อนของวิเวียน แต่ในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมไม่แน่ว่าสักวันอาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้“อโศกมนตรีโมเดล” โมเดลดราม่าประเทศไทยจริงๆ.
แม้ร่างอันไร้วิญญาณของ น.ส.กาณจน์ภัสร์ ศิริประทุม หรือ วิเวียน ครีเอทีฟรายการ 2 สาวเล่าเรื่องของบริษัทเอ็กแซ็กท์ จำกัด จะถูกนำกลับไปยังมาตุภูมิแล้ว แต่อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นยังคงเป็นประเด็นร้อนในสังคมเมืองหลวงมีการแตกประเด็น สืบค้นถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันเพื่อมิให้เกิดเรื่องเศร้าสลดใจอีกต่อไป
**** เมื่อกลับไปดูข้อมูลต่างๆที่สื่อหลายแขนงนำเสนอทั้งในส่วนของความประมาทของโชเฟอร์ขับรถบรรทุก 4 ล้อยังรวมไปถึงการตรวจพบปัสสาวะสีม่วง และสารภาพภายหลังว่าเสพยาบ้ามาด้วย ยิ่งทำให้เกิดความหวาดวิตก เรียกว่าถึงกับช็อกความรู้สึกของสุจริตชนกันเลยทีเดียว เพราะไม่ใช่เรื่องของความประมาทเท่านั้นแต่ยังมียาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย****
จึงเกิดคำถามถามตามมาอีกมากมายเช่นนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณอย่างมหาศาลนั้นมีปัญหาอะไรหรือไม่ จำนวนผู้เสพมีจำนวนมากขึ้นหรือลดน้อยลง และที่สำคัญระบบตรวจสอบสารยาเสพติดกับกลุ่มเสี่ยงที่จะไปสร้างความเดือดร้อนกับสุจริตชนอื่นๆดังเช่นโชเฟอร์รายนี้ผ่านการรับเข้ามาเป็นลูกจ้าง และผ่านขั้นตอนอื่นๆมาได้อย่างไร
***อย่าลืมว่า เส้นทางที่ขับขี่ผ่านย่านธุรกิจ ย่านใจกลางเมืองหลวง ดูเหมือนว่าระบบการตรวจสอบ หรือป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย****
ขณะเดียวกันยังมีภาพอื่นๆอีกหลายมิติที่จะต้องติดตามกันอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของปัญหาทางเทคนิคของ "ระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ" ว่ามีความเหมาะสมกับพฤติกรรมสังคมไทยมากน้อยขนาดไหน โดยเฉพาะผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆบนท้องถนน จนหลายความเห็นที่โพสต์ผ่านมาในโลกโซเชียลฯต่างมองคล้ายๆกันว่าคนไทยบางส่วนซึ่งอาจจะเป็นส่วนน้อยแต่ก็มีความมักง่าย เห็นแก่ตัวจนเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆรวมทั้งปัญหาการจราจรที่ยังแก้ไม่ตก เช่นข้อมูลยืนยันจาก รศ.ดร.ธวัชชัย เหล่าศิริหงส์ทอง แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำนองว่า
**** “สัญญาณไฟพาคนข้ามถนนอัจฉริยะ” ล้มเหลว ทั้งไม่ช่วยให้ปลอดภัย ไม่ช่วยให้รู้สึกสะดวกสบาย ไม่ช่วยให้ลดเวลา
และร้ายที่สุดคือ 47.7 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนรอบการข้ามถนนมีผู้ขับขี่ไม่ยอมหยุดรถ เท่ากับเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แบบ 50/50 ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ และไม่มีทางเป็นไปได้ยกเว้นที่เดียวคือประเทศไทย****
สำหรับถนนอโศกมนตรี อันเป็นต้นเรื่องเศร้าสะเทือนใจนั้นยังมีประเด็นอื่นๆที่ควรหยิบยกมาวิพากษ์วิจารณ์กันโดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ของ 2 หน่วยงานคือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเมื่อเดือนกรกฏาคม ที่ผ่านมามีการระดมกวดขันวินัยการจราจร ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนและคนข้ามเคารพกฏและสัญญาณจราจรเพื่อความปลอดภัย
เฉพาะถนนอโศกมนตรี คึกคักไปด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจน้อยใหญ่ ยังรวมไปถึงข้าราชการจากกรุงเทพมหานคร มาร่วมรณรงค์ปรากฏเป็นข่าวทั้งทางจอโทรทัศน์ และหน้าหนังสือพิมพ์ เรียกว่าประสบความสำเร็จในด้านประชาสัมพันธ์อย่าล้นหลาม แต่ในความเป็นจริงหลังจากวันนั้นบรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนต่างก็กลับมาใช้พฤติกรรมเดิมๆ อาจจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตั้งโต๊ะปรับคนที่ไม่ข้ามทางม้าลายบ้างรายละ 100-200 บาท แต่รวมความแล้วการรณรงค์ที่ผ่านมาก็คือการโรยหน้าผักชี ไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่องและมองข้ามมัจจุราชใกล้ตัวอย่างไม่น่าให้อภัย
มัจจุราชที่ว่าก็คือระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ ที่ออกแบบไว้สำหรับสังคมอารยะ การนำมาผิดที่ผิดพฤติกรรมของมนุษย์พันธ์ไทยบางคนจึงกลายเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงเพราะคนข้ามเองส่วนมากก็มีความเชื่อมั่นในทางม้าลาย เชื่อมั่นในระบบสัญญาณไฟ และเชื่อมั่นกับทางการที่อุตส่าห์รณรงค์จนถึงขั้นจะยกให้เป็น “อโศกมนตรีโมเดล” แต่ด้วยระบบแบบไทยๆข้าราชการนิยมขายผักชีแบบไทยๆ จนเกิดเรื่องเศร้าสะเทือนใจขึ้น
อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตในครั้งนี้จึงมีหลายฝ่ายที่ควรตกเป็นจำเลยสังคมซึ่งแน่นอนว่าคนขับขี่ยวดยานจะต้องมาเป็นอันดับ 1 แต่ผู้เกี่ยวข้องรายต่อๆไปไม่ว่าจะเป็น สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส. กทม.) ในส่วนของตำรวจที่ตัองเอ่ยนามอาทิพล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ที่ปรึกษา สบ.10 พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รองผบช.น.ดูแลการจราจร พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผบก.จร. ต้องมีส่วนบกพร่องบ้างไม่มากก็น้อย
เหล่านี้คือตัวตั้งตัวตี คือหัวโจทก์ในการรณรงค์วินัยการจราจร แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ อุบัติเหตุร้ายแรงคร่าชีวิต วิเวียน ตายคาทางทางลาย ตายคาระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ ท่านทั้งหลายไม่เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นหรือ อาจจะคิดในมุมกลับว่าหากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ทำตัวเป็นคนเจ้าระเบียบ ไม่บงการประชาชนให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีลมหายของสาวแกรมมี่อาจยังคงยืนยาวต่อไปจนหมดอายุขัย จงอย่าเอ่ยว่าท่านทำด้วยเจตนาดี เพราะเจตนาดีที่ขาดความรอบครอบย่อมไม่ต่างกับหยิบยื่นอันตรายให้กับเขา
**** ประเด็นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับหลายชีวิตบนถนนอโศกมนตรี หากไม่พูดถึง “กลุ่มรักษ์อโศก”ก็คงไม่ครบถ้วนกระบวนความทั้งหมด “กลุ่มรักษ์อโศก”คือใคร ตอบอย่างไม่ต้องเกรงใจใครก็คือกลุ่มผลประโยชน์ในหลายรูปแบบของย่านนั้น ทั้งเจ้าของอาคาร บริวารว่านเครือที่ประกอบกิจการทั้งหลายทั้ง 2 ฝากฝั่งอโศก ก่อนหน้า กทม.เคยมีอภิมหาโปรเจคนับแสนล้าน จะสร้างถนนระยะทาง 3-4 กม.คร่อมถนนอโศกมนตรี จากสุขุมวิท ตัดเพชรบุรี ยันไปถึงพระราม 9 แต่ถูกกลุ่ม “รักษ์อโศก”คัดค้านอย่างหนัก แม้แต่สะพานลอยก็ยังไม่ให้สร้างโดยให้เหตุผลว่าทำให้เสียฮวงจุ้ย และเป็นที่แพร่หมักหมมของแบคทีเรีย****
ทุกเรื่อง ทุกประเด็น และทุกปัญหาแม้มิใช่ญาติ มิใช่เพื่อนของวิเวียน แต่ในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมไม่แน่ว่าสักวันอาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้“อโศกมนตรีโมเดล” โมเดลดราม่าประเทศไทยจริงๆ.