นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้ (2557) จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (2556) ประมาณร้อยละ 2.3 โดยเฉพาะช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นเดือนละ 14,000 ล้านหน่วย แต่ยังคงเป็นอัตราเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อย
ขณะที่ในปีหน้า (2558) คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวได้ร้อยละ 4 ซึ่งความต้องการใช้สูงสุดจะอยู่ที่ 28,000 เมกะวัตต์ แต่ยืนยันว่า กำลังการผลิตของไทยยังเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน กฟผ.อยู่ระหว่างการเตรียมกำลังการผลิตสำรองไว้ล่วงหน้า เนื่องจากในปีหน้าจะมีการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งแหล่งจากเมียนมาในเดือนเมษายน และแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA-A18 ในเดือนมิถุนายน รวมถึงอยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าในภาคเอกชน หรือ ดีมานด์-เรสปอนด์ และวางแผนกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต เช่นการพัฒนาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ
นอกจากนี้ กฟผ.อยู่ระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ โดยการพัฒนาระบบสายส่งในพื้นที่ภาคใต้ขนาด 500 กิโลโวลต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จหลังปี 2560 ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการเพื่อให้รองรับพลังงานหมุนเวียน ขณะที่ในพื้นที่ภาคตะวันออก หลังจากได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้ดำเนินการระบบสายส่งรองรับการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนแล้วประมาณ 2,700 เมกะวัตต์ ซึ่งหากจะขยายระบบสายส่งเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง 5,000 เมกะวัตต์ เรื่องดังกล่าวจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอีกครั้ง เนื่องจากต้องใช้งบการลงทุนสูงถึง 5,000-6,000 ล้านบาท
ขณะที่ในปีหน้า (2558) คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวได้ร้อยละ 4 ซึ่งความต้องการใช้สูงสุดจะอยู่ที่ 28,000 เมกะวัตต์ แต่ยืนยันว่า กำลังการผลิตของไทยยังเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน กฟผ.อยู่ระหว่างการเตรียมกำลังการผลิตสำรองไว้ล่วงหน้า เนื่องจากในปีหน้าจะมีการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งแหล่งจากเมียนมาในเดือนเมษายน และแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA-A18 ในเดือนมิถุนายน รวมถึงอยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าในภาคเอกชน หรือ ดีมานด์-เรสปอนด์ และวางแผนกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต เช่นการพัฒนาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ
นอกจากนี้ กฟผ.อยู่ระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ โดยการพัฒนาระบบสายส่งในพื้นที่ภาคใต้ขนาด 500 กิโลโวลต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จหลังปี 2560 ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการเพื่อให้รองรับพลังงานหมุนเวียน ขณะที่ในพื้นที่ภาคตะวันออก หลังจากได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้ดำเนินการระบบสายส่งรองรับการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนแล้วประมาณ 2,700 เมกะวัตต์ ซึ่งหากจะขยายระบบสายส่งเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง 5,000 เมกะวัตต์ เรื่องดังกล่าวจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอีกครั้ง เนื่องจากต้องใช้งบการลงทุนสูงถึง 5,000-6,000 ล้านบาท