สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้วางกรอบและขั้นตอนในการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุม โดยเบื้องต้นได้กำหนดประชุมนัดแรก หรือครั้งที่ 1 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณากำหนดวันแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งให้พิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหา โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องยื่นคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานก่อนการประชุมนัดแรกไม่น้อยกว่า 5 วัน
ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 ธันวาคม เพื่อฟังคำแถลงเปิดสำนวนจาก ป.ป.ช. และคำแถลงคัดค้านของผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่มีการซักถาม จากนั้นที่ประชุมพิจารณาว่าควรมีการซักถามในประเด็นใดเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม โดยคู่กรณีมีสิทธิ์ยื่นคำขอแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือต่อที่ประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันแถลงเปิดสำนวนเสร็จสิ้น
ขณะที่การประชุมครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคม เพื่อให้คณะกรรมาธิการซักถามได้ซักถามผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น การประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 23 ธันวาคม เพื่อรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจา โดยหากยื่นคำขอแถลงทั้ง 2 ฝ่ายให้ ป.ป.ช.เป็นฝ่ายแถลงก่อน และการประชุมครั้งที่ 5 ในวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อลงมติถอดถอน หรือไม่ ภายใน 3 วัน นับแต่วันแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือวันพ้นกำหนดให้ยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนเป็นหนังสือ
ทั้งนี้ การออกเสียงลงมติให้ลงคะแนนลับในคูหา โดยให้สมาชิกกากบาทในบัตรลงคะแนนว่าถอดถอน หรือไม่ถอดถอน โดยมติในการถอดถอนจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก สนช.เท่าที่มีอยู่ คือ 132 เสียง
ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 ธันวาคม เพื่อฟังคำแถลงเปิดสำนวนจาก ป.ป.ช. และคำแถลงคัดค้านของผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่มีการซักถาม จากนั้นที่ประชุมพิจารณาว่าควรมีการซักถามในประเด็นใดเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม โดยคู่กรณีมีสิทธิ์ยื่นคำขอแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือต่อที่ประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันแถลงเปิดสำนวนเสร็จสิ้น
ขณะที่การประชุมครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคม เพื่อให้คณะกรรมาธิการซักถามได้ซักถามผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น การประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 23 ธันวาคม เพื่อรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจา โดยหากยื่นคำขอแถลงทั้ง 2 ฝ่ายให้ ป.ป.ช.เป็นฝ่ายแถลงก่อน และการประชุมครั้งที่ 5 ในวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อลงมติถอดถอน หรือไม่ ภายใน 3 วัน นับแต่วันแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือวันพ้นกำหนดให้ยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนเป็นหนังสือ
ทั้งนี้ การออกเสียงลงมติให้ลงคะแนนลับในคูหา โดยให้สมาชิกกากบาทในบัตรลงคะแนนว่าถอดถอน หรือไม่ถอดถอน โดยมติในการถอดถอนจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก สนช.เท่าที่มีอยู่ คือ 132 เสียง